ตลท.สั่ง CMO แจงค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายของบริษัท มูลค่า 25.55 ล้าน 27 ก.พ.นี้

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอให้ CMO หรือ บริษัท ซีเอ็มโอ จำกัด (มหาชน) ชี้แจงแนวทางการปรับปรุงระบบควบคุมภายใน กรณีผลการตรวจสอบ Special Audit ตามคำสั่งการของสำนักงาน ก.ล.ต. สรุปได้ว่าบริษัทมีการจ่ายเงินค่าที่ปรึกษาที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีการปฏิบัติงานร่วมกันกับบริษัท และมีการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายที่ไม่ใช่ค่าใช้จ่ายของบริษัท มูลค่าความเสียหายรวม 25.55 ล้านบาท

โดยความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารของบริษัท และบริษัทที่ปรึกษา อาจสื่อถึงความไม่รัดกุมในการบริหารจัดการอันเป็นเหตุให้บริษัทเกิดความเสียหายทางการเงินได้รวมถึงอาจสื่อได้ว่าอดีตผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มบริษัท

ทั้งนี้ ให้ชี้แจงข้อมูลผ่านระบบเผยแพร่ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 และขอให้ผู้ลงทุนศึกษารายงานตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ และติดตามคำชี้แจงของบริษัท

ข้อมูลสรุปผลรายงานผลการตรวจสอบเป็นกรณีพิเศษ (Special Audit)

1. การจัดจ้าง และจ่ายเงินให้กับบริษัทที่ปรึกษาโดยที่ไม่ได้รับบริการจริง มูลค่าความเสียหาย 19.8 ล้านบาท

ผลการตรวจสอบ

  • การคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษาอาจมิได้มีความชัดเจนรัดกุมเพียงพอคณะกรรมการบริหารว่าจ้าง และคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา 4 ราย โดยไม่มีการพิจารณาเปรียบเทียบที่ปรึกษาที่บริษัทจัดจ้างกับคู่ค้ารายอื่น
  • บริษัทไม่มีหลักฐานอื่นเพิ่มเติมจากรายงานของบริษัทที่ปรึกษา 3 ราย (จากจำนวน 4 รายดังกล่าวข้างต้น) ที่สามารถใช้อ้างอิงหรือพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนว่ามีการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างบริษัท และบริษัทที่ปรึกษา
  • พบความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหารของบริษัท (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและอดีตผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร) กับบริษัทที่ปรึกษาอาจสื่อถึงความไม่รัดกุมในการบริหารจัดการ อันเป็นเหตุให้บริษัทเกิดความเสียหายทางการเงินได้

2. ค่าใช้จ่ายที่ไม่เหมาะสมของกลุ่มบริษัท มูลค่าความเสียหาย 5.75 ล้านบาท

ผลการตรวจสอบ

  • กลุ่มบริษัทไม่ได้รับบริการจากคู่ค้า แต่ได้มีการจ่ายค่าใช้จ่ายออกไปจากกลุ่มบริษัทผ่านการจัดจ้างแบบไม่มีสัญญา และการเบิกเงินทดรองจ่ายของพนักงาน
  • บริษัทและบุคคลผู้รับจ้างมีความเกี่ยวข้องกับอดีตผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหารซึ่งอาจสื่อได้ว่าเป็นผู้มีส่วนได้รับผลประโยชน์ทางการเงินจากค่าใช้จ่ายไม่เหมาะสมเหล่านี้

 

โดยกลุ่มบริษัทยังมีจุดอ่อนในระบบการควบคุมภายในที่ควรพิจารณาปรับปรุง ประกอบด้วย

1) ขาดกระบวนการที่ชัดเจน และรัดกุมเพียงพอในการคัดเลือกผู้ค้า ผู้ให้บริการและบริษัทที่ปรึกษา
2) ขาดกระบวนการในการติดตามผลการปฏิบัติงานของคู่ค้า ผู้ให้บริการและบริษัทที่ปรึกษา
3) ขาดกระบวนการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของกลุ่มบริษัท และการตัดสินใจร่วมโดยคณะกรรมการบริหารของบริษัท

โดยประเด็นที่ขอให้บริษัทชี้แจง แนวทางปรับปรุงระบบความคุมภายใน กำหนดเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จความเห็นของคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการตรวจสอบต่อแนวทางการปรับปรุงระบบควบคุมภายในดังกล่าว 


 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...