สภา กทม.เห็นชอบ รับมอบ "รถไฟฟ้าสีเขียว" ส่วนต่อขยาย 2 ยึดประโยชน์ประชาชน

สภา กทม.เห็นชอบ รับมอบ "รถไฟฟ้าสายสีเขียว" ส่วนต่อขยาย 2 "หมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ" ด้านผู้ว่าฯ กทม.ยืนยันแก้ไขปัญหารถไฟฟ้า ยึดประโยชน์ กทม.และประชาชนเป็นหลัก

วันที่ 17 ม.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุมสามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 3) ประจำปีพุทธศักราช 2567 ซึ่งมี นายวิรัตน์ มีนชัยนันท์ ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุม นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เสนอญัตติ ขอความเห็นชอบในโครงการการรับมอบงานทรัพย์สินระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2

“โครงการนี้เริ่มก่อนที่ฝ่ายบริหาร และสภากรุงเทพมหานครชุดนี้จะเข้ามา และมีปัญหาหลายส่วน การแก้ไขจำเป็นต้องยึดประโยชน์ของกรุงเทพมหานครและประชาชนเป็นหลัก สำหรับร่างข้อบัญญัติขอจ่ายเงินสะสมจ่ายขาดสะสมเพื่อแก้ไขปัญหาจะพยายามนำเข้าสู่ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครพิจารณาให้เร็วที่สุด” ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าว

จากนั้นผู้ว่าฯ ได้รายงานTimeline ของโครงการ พร้อมอธิบายส่วนต่างๆ ในโครงการรถไฟฟ้าส่วนต่อขยาย 2 สรุปภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ แนวทางในการรับมอบงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) (ELECTRICAL AND MECHANICAL WORKS : E&M) เหตุผลความจำเป็นในการรับมอบ ปริมาณผู้โดยสารและรายได้ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 1.5 ล้านเที่ยวต่อวัน และข้อพิจารณาที่นำเสนอต่อสภากรุงเทพมหานคร

...

ทั้งนี้ กรุงเทพมหานคร ได้มีหนังสือแจ้งต่อกระทรวงมหาดไทยขอให้พิจารณานำเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และกระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาว่าการขอสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งหากกรุงเทพมหานครรับผิดชอบในส่วนใดก็ให้ดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนนั้นไปได้ตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยไม่ต้องรอการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล ส่วนกรณีนอกเหนือจากจำนวนเงินดังกล่าว หากกรุงเทพมหานครมีความประสงค์จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลเป็นจำนวนเท่าใดก็ให้เสนอมาอีกครั้ง

กรุงเทพมหานคร เห็นว่า ทรัพย์สินงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ถือว่ามีความสำคัญ หน่วยงานภาครัฐควรเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เนื่องจากทรัพย์สินดังกล่าวถือเป็นหัวใจสำคัญ และมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนและให้บริการเดินรถได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ขึ้นว่าเอกชนรายใดจะเป็นผู้ให้บริการเดินรถ และหากกรุงเทพมหานครได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แล้วจะทำให้เอกชนอ้างสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ และปัจจุบันทรัพย์สินนั้นได้ติดตั้งแล้วเสร็จและครบกำหนดชำระแล้ว และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ได้เจรจาต่อรองกับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) โดยกำหนดเงื่อนไขหากชำระภายในวันที่ 4 เม.ย.67 จะมีกรอบวงเงินรวมจำนวน 23,488,692,165.65 บาท ประกอบกับแนวทางการร่วมลงทุนที่กรุงเทพมหานครดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 ลงวันที่ 11 เม.ย. 62 ยังไม่มีความชัดเจนและยังไม่ได้ข้อยุติจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งอาจทำให้เกิดการฟ้องร้องต่อศาลปกครองได้

รวมถึงคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาปัญหาของโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว สภากรุงเทพมหานคร ได้ศึกษาแล้วเห็นว่า งานติดตั้งระบบการเดินรถ (E&M) เป็นทรัพย์สินที่สามารถแยกออกมาดำเนินการได้ ซึ่งปัจจุบันได้ถึงกำหนดชำระเงินแล้ว หากไม่มีการแก้ไขปัญหาในส่วนนี้จะเกิดภาระดอกเบี้ยและค่าปรับจำนวนมาก กรุงเทพมหานครจึงมีแนวทางในการชำระค่างานติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) ดังนี้

1. กรุงเทพมหานครเสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในโครงการรับมอบงานทรัพย์สินระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 โดยมีกรอบวงเงินรวมจำนวน 23,488,692,165.65 บาท

2. หากได้รับความเห็นชอบจากสภากรุงเทพมหานครแล้ว กรุงเทพมหานครจะรายงานต่อกระทรวงมหาดไทยและคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้กรุงเทพมหานครชำระค่างานซื้อขายพร้อมติดตั้งระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) เนื่องจากปัจจุบันการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 3/2562 ลงวันที่ 11 เม.ย. 62 ยังไม่ได้ข้อยุติ

3. หากคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว กรุงเทพมหานครจะจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมโดยจ่ายขาดจากเงินสะสมของกรุงเทพมหานคร เสนอต่อสภากรุงเทพมหานครเพื่อพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้เมื่อที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครพิจารณาให้ความเห็นชอบในโครงการรับมอบงานทรัพย์สินระบบการเดินรถ (ไฟฟ้าและเครื่องกล) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2 นี้แล้ว กรุงเทพมหานครจะดำเนินการตามแนวทางที่เสนอสภากรุงเทพมหานครพิจารณาต่อไป

จากนั้น สมาชิกสภากรุงเทพมหานครได้ร่วมอภิปราย พร้อมเสนอแนะแนวทางเพื่อให้กรุงเทพมหานครได้นำไปใช้เพื่อลดความเสียหาย และสามารถประหยัดงบประมาณ ประกอบด้วย นายนภาพล จีระกุล สก.เขตบางกอกน้อย นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ส.ก.เขตจอมทอง นายพีรพล กนกวลัย สก.เขตพญาไท นางกนกนุช กลิ่นสังข์ ส.ก.เขตดอนเมือง นางเมธาวี ธารดำรงค์ สก.เขตปทุมวัน นายฉัตรชัย หมอดี สก.เขตบางนา นายวิรัช คงคาเขตร สก.เขตบางกอกใหญ่ นายนวรัตน์ อยู่บำรุง สก.เขตหนองแขม

ที่ประชุมสภากรุงเทพมหานครมีมติเห็นชอบโครงการฯ ตามที่ ผู้ว่าฯกทม.เสนอ และจะได้ส่งให้ฝ่ายบริหารพิจารณาดำเนินการต่อไป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...