รัฐบาล มุ่งขับเคลื่อน "นโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก" เพิ่มการเจรจา FTA ใหม่

โฆษกรัฐบาล เผย รัฐบาลมุ่งขับเคลื่อน "นโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก" เน้นรักษาตลาดเดิม เพิ่มการเจรจา FTA ใหม่กับประเทศเป้าหมาย ขยายการค้า ดึงดูดการลงทุน และสร้างรายได้ โดยรัฐบาลตั้งเป้าได้ข้อสรุป FTA เกาหลีใต้ UAE EFTA ในปี 67

วันที่ 14 ม.ค. นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า รัฐบาลเห็นประโยชน์และความสำคัญของความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) ในฐานะเครื่องมือเสริมสร้างขีดความสามารถส่งออกสินค้าไทยสู่ตลาดโลก โดยได้ผลักดันการเจรจาขยายโอกาสทางเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนผ่านการรักษา FTA กับประเทศคู่ค้าเดิม และจัดทำ FTA กับประเทศคู่ค้าใหม่อย่างต่อเนื่อง รวมถึงกำชับใช้ประโยชน์สูงสุดจาก FTA เอื้อให้การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ อำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการ สอดรับกับ 'นโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก' เพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจไทย และสร้างรายได้เข้าประเทศ

ข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งระบุว่า ปัจจุบันไทยได้เจรจาจัดทำ FTA สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยทั้งสิ้น 14 ฉบับ กับคู่ค้า 18 ประเทศ/ดินแดน ประกอบด้วยจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย เปรู ชิลี ฮ่องกง และประเทศสมาชิกอาเซียน 9 ประเทศ และอยู่ระหว่างการเจรจาอีก 11 ฉบับ โดยจะเป็นการยกระดับ FTA ที่มีอยู่แล้ว 5 ฉบับ เพื่อปรับปรุงความตกลงกับประเทศคู่ค้าเดิม และเป็นการพัฒนา FTA ใหม่ทั้งสิ้น 6 ฉบับ เพื่อขยายการค้าและการลงทุนกับประเทศคู่ค้าสำคัญเป้าหมายใหม่ในหลายๆ ภูมิภาค

โดยล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ได้เจรจาจัดทำ FTA กับประเทศศรีลังกาเป็นผลสำเร็จ โดยมีแผนลงนามความตกลง FTA ฉบับดังกล่าวในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งจะเป็น FTA แรกภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาล นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนับเป็น FTA ฉบับที่ 15 ของไทย ทั้งนี้ ในช่วงปี 2567 ไทยมีเป้าหมายในการเจรจา FTA เพิ่มเติมอีก 3 ฉบับ ได้แก่ (1) การเจรจา FTA ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ เพื่อต่อยอดการเปิดเสรีเพิ่มเติมจาก FTA อาเซียน-เกาหลีใต้ที่มีอยู่แล้ว (2) การเจรจา FTA ระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าของไทยสู่ตลาดตะวันออกกลางมากยิ่งขึ้น และ (3) การเจรจา FTA ระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA) เพิ่มเติม เพื่อสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม และในช่วงปี 2568 ไทยมีเป้าหมายในการเจรจา FTA เพิ่มเติมกับสหภาพยุโรป (EU) เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันการส่งออกสินค้าของไทยไปยังสหภาพยุโรป

...

โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า FTA ทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่ถูกจำกัดการนำเข้า รับสิทธิพิเศษ และได้รับการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจทำ FTA จะต้องศึกษาข้อมูลให้ครอบคลุมทุกมิติอย่างละเอียด ซึ่งรวมถึงการศึกษาประโยชน์ ข้อท้าทาย และผลกระทบที่เกิดขึ้นจาก FTA พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนก่อนดำเนินการเจรจา เพื่อผลประโยชน์ของพี่น้องชาวไทย

"นายกรัฐมนตรีสนับสนุนการเจรจาใช้ FTA เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญ ขับเคลื่อน 'นโยบายการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก' ให้เกิดประโยชน์จริงแก่ประชาชน โดยโฆษกรัฐบาลย้ำแนวทางการทำงานของนายกรัฐมนตรีว่า ต้องการขยายโอกาสทางการค้า และดึงดูดการลงทุน ทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้อย่างเข้มแข็งในเวทีโลก และยกระดับความเป็นอยู่คนไทย ทำการทูตที่กินได้ จับต้องได้ ได้ประโยชน์จริง" นายชัย กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...