สภาพัฒน์เตือนการคลังประเทศเสี่ยงสูง จี้ปฏิรูปภาษี - เพิ่มรายได้ - ลดรายจ่าย

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยว่าสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำความเห็นประกอบการจัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง พ.ศ.2567-2571 ของประเทศ ตามที่คณะกรรมการการเงินการคลังของรัฐได้เสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบเมื่อวันที่  27 ธ.ค.ที่ผ่านมา 

โดยมีสาระสำคัญว่า ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีขอให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง 2567-2571 นั้น สศช.พิจารณาแล้ว เห็นควรให้ความเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ

อย่างไรก็ตามสำนักงานฯ มีความเห็นเพิ่มเติมว่า ในระยะปานกลางและระยะยาว แรงกดดันทางการคลังยังอยู่ในเกณฑ์สูงตามแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของภาระดอกเบี้ยและผลกระทบจากการปรับตัวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ในขณะที่ความเสี่ยงจากความผันผวนของระบบเศรษฐกิจการเงินโลกยังอยู่ในเกณฑ์สูง ทำให้มีความจำเป็นที่จะต้องมีพื้นที่ทางการคลังที่เพียงพอเพื่อการสร้างศักยภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมทั้งเพื่อรองรับการเพิ่มขึ้นของรายจ่าย ด้านสวัสดิการสังคม และสถานการณ์ความผันผวนรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น

ดังนั้นการดำเนินนโยบายการคลังในระยะต่อไปจึงควรแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเพิ่มการจัดเก็บรายได้และการลดรายจ่ายโดยมีแนวทางที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมโดยเฉพาะการปฏิรูปโครงสร้างภาษีและการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ การทบทวนและยกเลิกมาตรการทางภาษีที่ไม่เกิดความคุ้มค่าและบิดเบือนกลไกตลาด การลดความซ้ำซ้อน และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่มีวัตถุประสงค์เป็นการเฉพาะเท่าที่จำเป็น 

ควบคู่ไปกับการลดทอนรายจ่ายที่ไม่จำเป็น การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่าย และการปรับโครงสร้างรายจ่ายให้มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านการคลัง โดยเฉพาะการเพิ่มงบชำระคืนต้นเงินกู้ให้มีความสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการกู้เงินและภาระดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการคลังและอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศ จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการต่อไปตามข้อเสนอของ สศช.

สำหรับกรอบการคลังระยะปานกลางของประเทศที่ ครม.เห็นชอบ นั้นงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลในปี 2571 จะเพิ่มขึ้นเป็น 4.07 ล้านล้านบาท ขณะที่รายได้ของภาครัฐคาดว่าจะอยู่ที่ 3.39 ล้านล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ ณ ปี 2571 6.8 แสนล้านบาท หนี้สาธารณะคงค้างที่ 14.7 ล้านล้านบาท คิดเป็นหนี้สาธารณะ 63.61% ต่อจีดีพีในปี 2561 


 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...