เปิดวิธีสมัครออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เพื่อร่วม EASY E-Receipt

รัฐบาลโดยกรมสรรพากรได้ประกาศใช้มาตรการ Easy E-Receipt” กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท

โดยจะต้องมีใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) จากระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ของกรมสรรพากร เว้นแต่ ค่าหนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร และค่าบริการหนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต รวมถึง ค่าสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว จะจ่ายให้แก่ผู้มิใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ โดยจะต้องมีใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) จากระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากรเท่านั้น

วันนี้ เรามาดูรายละเอียดวิธีที่ผู้ประกอบการรายใหม่จะสมัครเพื่อออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ร่วมโครงการ EASY E-Receipt ซึ่งจะมีช่องทางในการสมัคร 2 แบบ คือ E-TAX INVOICE&RECEIPT และ E-TAX INVOICE By Time Stamp โดยผู้ประกอบการสามารถประเมินตนเองว่าจะสมัครใช้บริการในระบบใด

กรณีสมัครในรูปแบบ E-TAX INVOICE&RECEIPT มีเงื่อนไขดังนี้

รายได้ : ไม่จำกัดรายได้ในการสมัคร  

ประเภทเอกสาร : ใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีอย่างย่อ ใบเพิ่มหนี้ และใบรับ

การลงทะเบียน : พิสูจน์ตัวตนด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ผ่านโปรแกรม Ultimate Sign & Viewer โดยไม่ต้องนำส่งเอกสารและอนุมัติทันที , พิสูจน์ตัวตนด้วยการนำส่งเอกสาร โดยบันทึกผ่านระบบและรอรับการอนุมัติจากกรมสรรพากร

การจัดทำ : จัดทำเอกสารในรูปแบบใดก็ได้ เช่น PDF,PDF/A-3 หรือ XML

การรับรอง : โดยใช้รับรองอิเล็กทรอนิกส์และลงลายมือชื่อดิจิทัล(Digital Signature)

การส่งมอบให้กับคู่ค้า : ตามวิธีที่ตกลงกัน เป็นไปตามพ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

การนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร : นำส่งผ่าน 3 ช่องทาง คือ 1.Web Upload 2.Host to Host 3.Service Provider

กรณีสมัครในรูปแบบ E-TAX INVOICE By Time Stamp มีเงื่อนไขดังนี้

รายได้ : รายได้ไม่ควรเกิน 30 ล้านบาท

ประเภทเอกสาร : ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้ และใบลดหนี้

การลงทะเบียน : พิสูจน์ตัวตนด้วยการนำส่งเอกสาร โดยสมัครผ่านระบบและรอรับการอนุมัติจากสำนักงานสรรพากรพื้นที่

การจัดทำ : จัดทำเอกสารในรูป PDF/A-3 โดยมีข้อมูล XML ตามรูปแบบที่กำหนด

การรับรอง : โดยการประทับรับรองเวลา (Time Stamp) จาก ETDA

การส่งมอบให้ลูกค้า : ส่งผ่าน e-mail

การนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร : ระบบส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรโดยอัตโนมัติ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...