‘ครม.’ ไฟเขียว ‘แพคเกจ EV 3.5’ 3.4 หมื่นล้าน หนุนรถไฟฟ้าต่อเนื่อง

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบในหลักการมาตรการสนับสนุนยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 (EV 3.5) ระยะเวลา 4 ปี (2567-70) วงเงิน 3.4 หมื่นล้านบาท ตามที่คณะกรรมการยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ดอีวี) เสนอ

โดยเป็นมาตรการที่จะสนับสนุนการใช้รถ EV ในประเทศไทยต่อเนื่องจากมาตรการ EV 3.0 ทีจะหมดอายุในวันที่ 31 ธ.ค. 2566 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าให้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และเปิดโอกาส ให้เกิดการลงทุนผลิต EV ในประเทศไทยเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้มาตรการ EV -3.5 จะเริ่มเริ่มบังคับใช้ 1 ม.ค. 2567 ไปจนถึง 31 ธ.ค.2570

ทั้งนี้มาตรการในการอุดหนุนค่ายรถยนต์เพื่อให้สามารถทำโปรโมชั่นลดราคารถ EVตามมาตรการ EV 3.5 ที่บอร์ดEV เห็นชอบก่อนหน้านี้ได้แก่

1. ให้เงินอุดหนุนรถยนต์ไฟฟ้า รถกระบะไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า โดยจะมี การปรับลดวงเงินลงจากเดิม 7 หมื่นบาท-1.5 แสนบาท/คัน มาอยู่ที่ 5 พันบาท-1 แสนบาท/คัน ขึ้นกับประเภทรถ และขนาดแบตเตอรี่ โดย-กรณีรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 5 หมื่นบาท-1 แสนบาท/คัน สำหรับขนาดแบตเตอรี่ต่ำกว่า 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 2-5 หมื่น บาท/คัน

กรณีรถกระบะไฟฟ้าราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่มีขนาดแบตเตอรี่ตั้งแต่ 50 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 5 หมื่นบาท-1 แสนบาท/คัน

กรณีรถจักรยานยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 1.5 แสนบาท ที่มีขนาด แบตเตอรี่ตั้งแต่ 3 kWh จะได้รับเงินอุดหนุนระหว่าง 5 พันบาท-1 หมื่นบาท/คัน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการกำหนดอัตราเงินอุดหนุนที่เหมาะสม และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาต่อไป EV ดัชนีกลุ่ม (จุด) N/A ดัชนีตลาด (จุด) 1,379.96

2. การลดอากรนำเข้าไม่เกิน 40% สำหรับการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูป (CBU) ที่ราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท ในช่วง 2 ปี 2567-68 และลดอัตราภาษี สรรพสามิตจาก 8% เหลือ 2% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าราคาไม่เกิน 7 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม สำหรับเงื่อนไขอัตราส่วนของรถยนต์ที่ต้องผลิตในประเทศเพื่อ ชดเชยการนำเข้า จะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดในอัตราส่วนการนำเข้า : การผลิต ชดเชยที่ 1 : 1 และ 1 : 1.5 ภายในปี 2567 และ 2568 ตามลำดับ เป็นอัตราส่วน 1 : 2 และ 1 : 3 ภายในปี 2569 และ 2570 ตามลำดับ

พร้อมกำหนดให้แบตเตอรี่ ของรถยนต์ไฟฟ้าสำเร็จรูปที่นำเข้า และผลิตในประเทศไทยจะต้องได้รับมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานตาม มาตรฐานสากลจากศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC)

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบให้กรมสรรพสามิตขยายเวลาการจดทะเบียนยานยนต์ไฟฟ้าที่ได้รับสิทธิตามมาตรการ EV 3.0 จากเดิมที่ต้องจดทะเบียนภายใน วันที่ 31 ธ.ค. 2566 ออกไปเป็นภายในวันที่ 31 ม.ค. 2567 แต่ยังต้องจำหน่ายภายใน วันที่ 31 ธ.ค. 2566 เพื่อให้ผู้บริโภคที่จะตัดสินใจซื้อยานยนต์ไฟฟ้าภายในงาน Thailand International Motor Expo ซึ่งจัดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2566 นี้

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...