S&P คาด 'ตลาดเชื้อเพลิง SAF' โตสูงสุด 2.1 ล้านบาร์เรล/วัน กลางทศวรรษ 2050

“จี ยาง ลุม” รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยเชื้อเพลิงชีวภาพและการวิเคราะห์จาก S&P Global Commodity Insights เปิดเผยในงาน Regenerative Fuels: Sustainable Mobility เมื่อวันพฤหัสบดี (23 พ.ย.) ว่า แนวโน้มความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพของโลกยังเติบโตไม่ค่อยมาก เพราะมีความท้าทายมากมายทั้งด้านแหล่งวัตถุดิบ และการแข่งขันใช้รถยนต์ไฟฟ้าในภาคขนส่ง โดยความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพจะโตสูงสุดช่วงกลางทศวรรษ 2030 จากนั้นจะเริ่มลดลง

อย่างไรก็ดี ความต้องการเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (เอสเอเอฟ) คาดว่าจะเติบโตสูงสุดในช่วงกลางทศวรรษ 2050 สู่ระดับประมาณ 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน

การใช้เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน สหภาพยุโรป (อียู) ต้องการบรรลุเติมเชื้อเพลิงยั่งยืนในเครื่องบินในสัดส่วน 70% ภายในปี 2593 และมีข้อกำหนดเฉพาะคือ ห้ามใช้น้ำมันถั่วเหลืองไปผลิตเชื้อเพลิงยั่งยืน จึงอาจต้องใช้น้ำมันหมูหรือน้ำมันปาล์มแทน เป็นต้น ขณะที่สหรัฐตั้งเป้าบรรลุใช้เชื้อเพลิงยั่งยืนในเครื่องบิน 35% ภายในปี 2573 ซึ่งเอสแอนด์พีคาดว่า เชื้อเพลิงที่ใช้ส่วนใหญ่อาจเป็นน้ำมันถั่วเหลือง และสหรัฐอาจสามารถดึงดูดให้คนหันมาใช้เชื้อเพลิงยั่งยืนมากขึ้น เพราะมีการลดหย่อนภาษีเชื้อเพลิงยั่งยืนและเชื้อเพลิงชีวภาพ

ในทางกลับกันการใช้เชื้อเพลิงยั่งยืนด้านการบินในเอเชียค่อนข้างเงียบเหงา มีเพียงญี่ปุ่นที่ประกาศเคลื่อนไหวมากที่สุด โดยตั้งเป้าใช้เชื้อเพลิงการบินยั่งยืน 10% ภายในปี 2573 อย่างไรก็ดี ยังมีสมาคมสายการบินเอเชียแปซิฟิก (The Association of Asia Pacific Airlines) ที่มีทั้งสายการบินไทย และสายการบินสิงคโปร์ ได้ประกาศแผนใช้เชื้อเพลิงยั่งยืนในเครื่องบิน 5% ภายในปี 2573

ทั้งนี ในอียูเริ่มมีการวิจัยและพัฒนา รวมถึงปรับใช้เชื้อเพลิงการบินยั่งยืนมากขึ้นแล้ว ขณะที่บางรัฐของสหรัฐที่มีการลดหย่อนภาษีเชื้อเพลิงยั่งยืน เริ่มใช้เอสเอเฟและปรับใช้เอสเอเอฟแบบผสมผสานมากขึ้นเช่นกัน ส่วนในเอเชีย มีประเทศจีนที่ใช้น้ำมันสังเคราะห์จากพืชในหลายพื้นที่มากกว่าประเทศอื่น ๆ

ในตอนท้าย จีเผยสิ่งที่น่ากังวล 2 อย่างคือ เอสแอนด์พีคาดว่าความต้องการเอสเอเอฟอาจมากกว่าอุปทานตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไป และราคาวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิงอาจแพงขึ้นในอนาคต หากตลาดต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพมากขึ้น แต่อาจมีเชื้อเพลิงยั่งยืนบางชนิดมาทดแทนได้

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...