‘ศักยภาพ’ เศรษฐกิจไทยอยู่ตรงไหน โตต่ำ หรือ ต่ำลง ??

ขณะนี้เชื่อว่า ประชาชนที่เฝ้าติดตามการทำงานของรัฐบาล และหน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนพัฒนาประเทศต่างๆ มีคำถามว่า ข้อมูลภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ประกาศออกมาว่า ขยายตัวต่ำเพียง 1.5% หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเทียบกับไตรมาส 2 ที่ขยายตัว 1.8% ถือว่าเป็นการชะลอตัวลงต่อเนื่อง ทำให้การขยายตัวเศรษฐกิจ หรือจีดีพี 9 เดือนโตตัวเพียง 1.9% เท่านั้น จริงๆ แล้วเป็นข้อมูลที่ถูกต้องหรือไม่อย่างไร มีการตั้งคำถามว่าจริงๆ แล้ว “เศรษฐกิจไทย” เผชิญ “วิกฤติ” แล้วหรือไม่? และถามต่อเนื่องว่าแล้วรัฐบาล มีแนวทางในการแก้ไขปัญหา หรือรับมือเรื่องนี้กันอย่างไร แล้วคนส่วนใหญ่ของประเทศเห็นตรงกันว่า เศรษฐกิจไม่ดีหรือไม่

เพราะเมื่อฟังฝากนักเศรษฐศาสตร์ที่อธิบายว่า หากจะเรียกภาวะนี้ว่า “วิกฤติ” เศรษฐกิจได้ ภาพรวมเศรษฐกิจไทย ต้องขยายตัวติดลบต่อเนื่องหลายไตรมาส อย่างเห็นได้ชัดเหมือนในอดีตที่ผ่านมาคือ วิกฤติจากโควิด-19 ที่ส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวติดลบไปถึง 6.1% 

ขณะที่ภาพรวมไตรมาส 3 ที่ออกมายังไม่ติดลบ แต่ก็แสดงความเป็นห่วงว่าหากโตต่ำลงเรื่อยๆ ไปอย่างนี้ต่อเนื่อง จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาวได้เช่นกัน

ขณะเดียวกันมีการตั้งประเด็นคำถามไว้ 2 ด้านด้วยกันว่า ณ เวลานี้เศรษฐกิจไทยกำลัง “โตต่ำกว่าศักยภาพ” หรือ “ศักยภาพเศรษฐกิจไทยโตต่ำลง” กันแน่ จากที่ควรจะเติบโตได้ราว 3% ปลายๆ หรือ 4%  ความจริงอาจเติบโตได้ไม่ถึง 2.4% ซึ่ง สศช. คาดการณ์ว่า ทั้งปี 2566 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ราว 2.5% แต่ความเห็นนักเศรษฐศาสตร์โน้มเอียงไปในทาง “เศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าศักยภาพ” และยังมีความหวังว่าจะสามารถกลับมายืนได้ 3% ได้ 

“สมประวิณ มันประเสริฐ” รองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานกลยุทธ์องค์กร และรองผู้จัดการใหญ่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวไว้ว่า การที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอลง สะท้อนว่ากำลังโตต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเติบโตได้ หากเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวต่ำกว่า 2.5% จากเดิมมองไว้ 3.1% อาจ “ส่งผ่าน” ไปสู่เศรษฐกิจปี 2567 ให้โตต่ำกว่าคาดการณ์ได้

เรามองว่า หาก “เศรษฐกิจไทยโตต่ำ” ไปอย่างนี้ต่อเนื่อง ในระยะยาวเศรษฐกิจไทยจะยิ่งน่ากังวลว่า รัฐบาลจะหาทางรับมือปัญหานี้ และทำให้ “เศรษฐกิจไทย” โตตามศักยภาพได้มากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะภาคการเกษตร ที่เผชิญกับภัยแล้ง รายได้หาย ที่จะเป็นความเสี่ยงสำหรับเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า ดังนั้นจำเป็นที่ต้องใช้มาตรการเข้าไปดูแลเฉพาะจุด โดยเน้นไปที่การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ยกระดับการเติบโตให้ได้ถึงจะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ในระยะยาว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ถอดรหัสเกาหลีเหนือไม่ต้องการเจรจาเกาหลีใต้ l World in Brief

ถอดรหัสเกาหลีเหนือไม่ต้องการเจรจาเกาหลีใต้ รายงานจากกองทัพเกาหลีใต้และเคซีเอ็นเอ สื่อทางการเกาหลีเหน...

ญี่ปุ่นจับตา ‘ไทย - มาเลย์’ ร่วมกลุ่ม BRICS หวั่นเปลี่ยนข้างซบ ‘จีน - รัสเซีย’

สำนักข่าวเซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์ (SCMP) รายงานอ้างความเห็นนักวิเคราะห์ด้านการเมืองระหว่างประเทศว่า “ญ...

นักท่องเที่ยวบุก ‘ญี่ปุ่น’ ใช้จ่ายสะพัด 9 เดือนแรก 4 หมื่นล้าน แซงยอดทั้งปี 66

สำนักข่าวนิกเกอิเอเชีย รายงานตัวเลขล่าสุดจากสำนักงานการท่องเที่ยวญี่ปุ่นเผยว่า ภายในเวลาเพียง 9 เดือ...

สรุป ‘จีน’ แถลงกระตุ้น ‘อสังหาฯ’ เร่งปล่อยสินเชื่อ ‘บัญชีขาว’ สร้างบ้านใหม่ล้านยูนิต

สำนักข่าวเซาท์ไชน่ามอนิ่งโพสต์รายงานว่า รัฐบาลจีนเตรียมออกมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ นำโดย “ห...