อว. นำถกแนวทางยุติข้อพิพาทอุเทนถวาย-จุฬาฯ ยัน ไม่กระทบนักศึกษาปัจจุบัน

อว. เชิญผู้แทนอุเทนถวาย-จุฬาลงกรณ์ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ประชุมหาแนวทางยุติข้อพิพาท เล็งรักษาอัตลักษณ์บนพื้นที่เดิม เดินหน้าหาพื้นที่ใหม่ที่เหมาะสม ย้ำ นักศึกษาปัจจุบันจะไม่ได้รับผลกระทบ

วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุมคณะทำงานขับเคลื่อนการยุติข้อพิพาทของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย โดยมี ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวง อว. ผู้แทนจากสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงบประมาณ ผู้แทนกรมธนารักษ์ ผู้แทนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้แทนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก) วิทยาเขตอุเทนถวาย นำโดย อธิการบดี นายกสมาคมศิษย์เก่า และนายกสโมสรนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย เข้าร่วม ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคาร สวทช. 

ทั้งนี้ มีกลุ่มนักศึกษา มทร.ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย กว่า 100 คน เดินทางมา อว. เพื่อรอฟังสรุปผลการประชุมหาทางออกสำหรับข้อพิพาทที่เกิดขึ้น มีการถือป้ายแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ยึดมั่นในจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการย้ายออกจากพื้นที่เดิม โดยบรรยากาศการชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย และอยู่ภายใต้ขอบเขตการใช้สิทธิ เสรีภาพ บนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชน

นายเพิ่มสุข แถลงว่า การประชุมจัดขึ้นเพื่อหาทางออกร่วมกันระหว่าง มทร.ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย อว. เล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาด้านวิชาชีพการช่าง ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานโดยเฉพาะทักษะด้านการช่างสมัยใหม่ โดยคณะทำงานมีข้อเสนอแนะให้วางแผนแนวทางในการพัฒนา มทร.ตะวันออก โดยทั้ง 2 สถาบัน ประสานความร่วมมือกันในมิติต่างๆ เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้เป็นสถาบันหลักทางการช่างและการก่อสร้างของประเทศ พัฒนาพื้นที่ปัจจุบันให้รักษาอัตลักษณ์ของอุเทนถวายไว้สำหรับเป็นที่สักการบูชา เป็นที่พึ่งทางใจของศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน รวมทั้งให้ มทร.ตะวันออก พิจารณาจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมด้านต่างๆ สำหรับจัดทำโครงการ มทร.ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวายใหม่ ที่มีศักยภาพเชิงพื้นที่ และวางระบบการจัดการศึกษาตอบสนองความต้องการกำลังคนของประเทศ

...

ทางด้านตัวแทนนักศึกษาที่มีข้อกังวลในเรื่องผลกระทบด้านค่าใช้จ่ายของนักศึกษาหากมีการย้ายพื้นที่ทันที นายเพิ่มสุข ชี้แจงว่า ประเด็นนี้ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มอบนโยบายให้ดูแลจนกว่านักศึกษาปัจจุบันจะจบการศึกษา ตามข้อเสนอแนะของผู้บริหาร ตัวแทนศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน โดยคณะทำงานจะนำข้อมูลนักศึกษาปัจจุบันที่มีอยู่ไปวางแผนเพื่อประกอบการพิจารณาไม่ให้ส่งผลกระทบด้านการเรียน และหาพื้นที่ใหม่ที่เหมาะสม มีการคมนาคมที่สะดวกต่อไป

นอกจากนี้ การหารือยังได้มีการนำเสนอทางออกอีกหลายแนวทาง ซึ่งคณะทำงานจะนำไปหารือกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่เหมาะสมอันจะนำไปสู่การทำบันทึกตกลงความร่วมมือ (MOU) และทำงานร่วมกันในรูปแบบแซนด์บ็อกซ์โดยให้ มทร.ตะวันออก และจุฬาฯ ร่วมมือกันมานำเสนอคณะทำงานในการประชุมครั้งต่อไป.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...