แรงบันดาลใจ พลังสำคัญที่ต้องสร้าง เพื่อความสำเร็จ (3)

ญี่ปุ่นได้กำหนดให้มีวันหยุดประจำปี “วันพละศึกษา” ทุกวันจันทร์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม กีฬาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนญี่ปุ่น โดยเฉพาะเยาวชนถูกปลูกฝังให้กีฬาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน

มรดกจากการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกถูกส่งต่อมายังเยาวชนผ่านหนังสือการ์ตูนประเภทกีฬาวอลเลย์บอล บาสเกตบอล เบสบอล และฟุตบอล แพร่กระจายออกไปซึมซับในใจเยาวชน ที่เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ในปัจจุบัน 

การสร้างแรงบันดาลใจให้คนญี่ปุ่นกล้าคิดกล้าฝันที่จะเป็นประเทศที่ยิ่งใหญ่ในโลกกีฬาตั้งแต่เริ่มเข้าสู่ยุค เฮเซ จนมีการพัฒนาด้านศักยภาพให้วงการกีฬาของญี่ปุ่นก้าวเข้าสู่เวทีการแข่งขันระดับโลกมากขึ้นเรื่อย ๆ มีการพัฒนากีฬาบางชนิดจนถึงระดับแชมป์โลก

ปี 1996 สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) ประกาศให้ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เป็นเจ้าภาพรวมฟุตบอลโลก 2002 เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ฟุตบอลโลกจะมาแข่งขันในทวีปเอเชีย โดยชนะเม็กซิโกในการโหวตเสียงญี่ปุ่นและเกาหลีใต้เชื่อมั่นในศักยภาพที่จะสามารถจัดการแข่งขันได้ ตั้งความหวังที่จะเป็นเจ้าภาพเดี่ยวทั้งคู่ แต่รองประธานฟีฟ่าชาวสวีดิช เลนนาร์ท โยฮันส์สัน ประกาศว่า ฟุตบอลโลกจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศอย่างมหาศาล การเป็นเจ้าภาพร่วมฟุตบอลโลกครั้งแรกในประวัติศาสตร์จึงเกิดขึ้นอย่างเป็นทางการ

ทีมฟุตบอลหญิงของญี่ปุ่นได้เข้าแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรกในปี 1991 ในการแข่งขันที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรก ที่ประเทศจีนเป็นเจ้าภาพ มีทีมฟุตบอลหญิงเข้าแข่งขันทั้งหมด 12 ทีม มีตัวแทนจากเอเชีย 3 ทีม ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน ญี่ปุ่นส่งทีมเข้าแข่งขันเหมือนการทดลองเข้าไปหยั่งฝีมือตัวเองว่าห่างจากทีมระดับโลกขนาดไหน

สรุปคือ ญี่ปุ่นเป็นทีมที่อ่อนที่สุดใน 12 ทีม ตกรอบแบ่งกลุ่มด้วยการมี 0 แต้ม ยิงประตูใครไม่ได้เลยแม้แต่ลูกเดียว และเสียประตูไปถึง 12 ลูก เป็นรองแม้แต่ทีมไต้หวัน ที่เก็บได้ถึง 2 คะแนน ในปี 2011 ทีมฟุตบอลหญิงของญี่ปุ่น เดินทางไปแข่งขันฟุตบอลโลกที่ประเทศเยอรมัน สามารถคว้าแชมป์โลกด้วยการดวลจุดโทษชนะสหรัฐอเมริกาทีมอันดับ 1 ของโลกได้สำเร็จ 

ทีมฟุตบอลหญิงของญี่ปุ่นไปแข่งฟุตบอลโลกครั้งแรกแพ้รวด ยิงประตูใครไม่ได้ เสียประตูมากที่สุด ญี่ปุ่นได้ประกาศว่าหากพวกเขาคิดจะทำอะไรอย่างจริงจัง และมีเวลาสำหรับการพัฒนาแล้วเขาจะเป็นแชมป์โลกให้ได้

หลังจากนั้นเพียงแค่ 20 ปี ญี่ปุ่นคว้าแชมป์โลกด้วยการฝึกซ้อมอย่างจริงจัง เน้นความฟิตของร่างกาย แลละการรู้เขารู้เรา สิ่งใดควรทำ เล่นฟุตบอลแบบทีมเพลย์ มีทีเด็ดที่ใช้ในการแข่งขัน จนคว้าแชมป์โลกได้ด้วยความตื่นตะลึงของทั่วโลก ผู้เล่นญี่ปุ่นติดทีมยอดเยี่ยมของการแข่งขันถึง 4 คน มากที่สุดในบรรดาทุกชาติที่เข้าแข่งขัน

ญี่ปุ่นจัดทำแผนงานเพื่อพัฒนาวงการฟุตบอลอย่างเต็มรูปแบบ “The JFA Declaration” หรือ “ปฏิญญา JFA” ในปี 2005 วางแผนเพื่อลงมือทำของจริง และเป้าหมายระยะยาวที่ต้องบรรลุก่อนปี 2050 คือจำนวนแฟนบอลและบุคลากรที่เกี่ยวกับฟุตบอลต้องมีจำนวน 10 ล้านคน ต้องเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลก และได้แชมป์โลก “ปฏิญญา JFA 2050” ไม่ใช่นโยบายขายฝันแต่เป็นการกำหนดทิศทางที่พวกเขากำลังเดินตามแผน เพื่อจะไปถึงเป้าหมายให้ได้

ญี่ปุ่นเคยสร้างความมหัศจรรย์ในฐานะเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 1964 ด้วยการสร้างสนามกีฬา 30 แห่งเสร็จก่อนพิธีเปิด มีเวลาให้ทดสอบระบบและซ้อมฟังก์ชันเพื่อความสมบูรณ์ จ้างสตาฟฟ์โค้ชจากต่างประเทศมาเทรนนักกีฬาเพิ่มขีดความสามารถทำให้สามารถคว้าเหรียญทองได้เป็นอันดับ 3 เป็นรองแค่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตเท่านั้น

มีแรงบันดาลใจแล้วต้องลงมือทำ ต่อยอดด้วยความเอาจริงเอาจัง ความสำเร็จไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันครับ….

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...