TU ไตรมาส3/66 กำไร 1.2 พันล้าน วูบ52.3% - หั่นเป้ารายได้ปีนี้ลดลง10-12%  

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ  TU เปิดเผยว่า ไตรมาส3 ปี 2566 บริษัทมีกำไรสุทธิ  1.2 พันล้านบาท ลดลง 52.3% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 2.53 พันล้านบาท  เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายการที่ไม่ได้เกิดจากการดำเนินการตามปกติของธุรกิจ ได้แก่ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 268  ล้านบาท (เทียบกับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 792 ล้านบาท ในไตรมาส 3/2565)

รวมถึงผลกระทบจาก Dilution effect ของบริษัท ITC เท่ากับ 324 ล้านบาท ซึ่งถูกชดเชยบางส่วนด้วยเครดิตภาษีเงินได้ที่เพิ่มขึ้น และส่วนแบ่งขาดทุนจากบริษัทร่วมลดลง อย่างไรก็ตามกำไรสุทธิปรับตัวเพิ่มขึ้น จากไตรมาสก่อน ซึ่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่2 ติดต่อกัน จากกำไรขั้นต้น และกำไรจากการดำเนินงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งโดยมีอัตรากำไรสุทธิอยุ่ที่ 3.6% 

สำหรับรายได้ไตรมาส3 ปี 2566 อยู่ที่  3.39 หมื่นล้านบาท  ลดลง 16.8%  จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้ 4 หมื่นล้านบาท  โดยสาเหตุหลักมาจากปริมรณการขายลดลงในทุกกลุ่มธุรกิจหลักของบริษัทฯ รายได้จากค่าขนส่งที่ลดลงและราคาขายเฉลี่ยที่ลดลง

สำหรับเป้าหมายผลดำเนินงานปี 2566  บริษัทตั้งเป้ายอดขายลดลง 10-12%   จากเดิมที่คาดว่าจะลดลง 5-6% จากปี 2565  อัตรากำไรขั้นต้นประมาณ 16.5-17.5%  สัดส่วน SG&A ต่อยอดขาย ประมาณ 11-12%   รวมถึงปรับลดงบลงทุนปีนี้เหลือประมาณ5-5.5 พันล้านบาท จากเดิมตั้งไว้ 5.5-6  พันล้านบาท 

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ กำลังซื้อของผู้บริโภคทั่วโลกอ่อนแอลง ซึ่งเป็นผลของการชะลอตัวของเศรษฐกิจและราคาพลังงานที่สูงขึ้นอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากราคาพลังงาน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป  ราคาพลังงาน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของยุโรปมีแนวโน้มอ่อนตัวลงในเดือนก.ย.

โดยคาดว่ามีผลกระทบเชิงบวกต่อยุโรป เนื่องจากกำลังซื้อกลับมาบางส่วน นอกจากนี้แนวโน้มความต้องการซื้ออาหารทะเลแปรรูปเพิ่มขึ้น ในภาวะเศรษฐกิจถดถอย เนื่องจากอาหารแปรรูปถือเป็นสินค้าที่ราคาไม่แพง  อย่างไรก็ตามอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในสหรัฐเพิ่มขึ้น ส่งผลกระทบเชิงลบต่อบริษัท จากความต้องการซื้อที่ลดลง โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหาร 

ทั้งนี้บริษัทมีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มผลกำไรของกลุ่มบริษัท  คือ มาตรการป้องกันกำไร เพื่อเพิ่มอัตราการทำกำไร  มาตรการป้องกันความเสี่ยงอยู่เสมอ เพื่อลดความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน  และดำเนินการติดตามสิ่งแวดล้อมระดับมหาภาคอย่างสม่ำเสมอ ความท้าทายด้านห่วงโซ่อุปทาน และความไม่แน่นอนของการใช้จ่ายของผู้บริโภคทั่วโลกในตลาดหลักของบริษัท 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...