‘ซีพี’ รับรางวัล ‘บริษัทยั่งยืนดีเด่น’ เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างความผูกพันกับสังคมทุกภาคส่วน

สภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World Business Council on Sustainable Development หรือ “WBCSD”) องค์กรระดับโลกที่ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมีผู้บริหารของเครือธุรกิจชั้นนำทั่วโลกเข้าเป็นสมาชิกมากกว่า 250 องค์กร เผยแพร่รายงาน “Reporting Matters” ประจำปี 2023 วิเคราะห์ และประเมินผลการจัดทำรายงานความยั่งยืนของบริษัทเอกชนจากทั่วโลกที่เป็นสมาชิก “WBCSD” โดยในปีนี้ได้เปิดเผยรายชื่อ 11 บริษัทชั้นนำที่จัดรายงานความยั่งยืนดีเด่น ปรากฏว่า “เครือเจริญโภคภัณฑ์” หรือ “ซีพี” จากประเทศไทย ติด 1 ใน 11 บริษัทที่ได้รับคะแนนสูงสุดเนื่องจากมีความโดดเด่นในการจัดทำประเด็นสำคัญ และมียุทธศาสตร์ด้านความยั่งยืนที่ชัดเจนครอบคลุมทุกมิติ รวมถึงมีการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย โดย “ซีพี” ได้รับการประเมินในระดับ “Top Performer” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 แล้ว

ทั้งนี้ ในส่วนของ 11 บริษัทที่ได้รับการประเมินว่าเป็นผู้จัดทำรายงานความยั่งยืนดีเด่นระดับโลกประจำปี 2566 ประกอบด้วย

1. บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด จากประเทศไทย
2. DSM - บริษัทข้ามชาติดำเนินธุรกิจด้านสุขภาพและโภชนาการ จากเนเธอร์แลนด์
3. EDP - Energias de Portugal บริษัทสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า จากประเทศโปรตุเกส
4. Enel S.p.A. ผู้ผลิตและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ จากอิตาลี
5. Eni S.p.A. บริษัทธุรกิจน้ำมัน และแก๊ส จากอิตาลี
6. ERM ที่ปรึกษาด้านธุรกิจ และบริการด้านความยั่งยืน จากสหราชอาณาจักร
7. Mondi Group บริษัทกระดาษ และบรรจุภัณฑ์ จากออสเตรีย
8. Novartis บริษัทยาชั้นนำ จากสวิตเซอร์แลนด์
9. Philip Morris International SA บริษัทผลิตบุหรี่ และยาสูบ จากอเมริกา
10. Solvay S.A. ผู้ผลิตและจำหน่ายเวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ และพลาสติก จากเบลเยียม
11. Stora Enso Oyj ผู้ผลิตเยื่อกระดาษ จากฟินแลนด์

ด้าน “ศุภชัย เจียรวนนท์” ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า รายงานความยั่งยืนถือเป็นเสาหลักสำคัญของการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง อันเป็นผลจากการสร้างความตระหนักรู้วางเป้าหมายกำหนดตัวชี้วัด การสื่อสารขององค์กร และการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นเนื้อเดียวกับการดำเนินธุรกิจ นับเป็นการส่งเสริมความโปร่งใสของการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ การเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะจะนำไปสู่การเปรียบเทียบผลการดำเนินการปีต่อปี ทั้งของตัวเอง และกับผู้อื่นทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดการตรวจสอบติดตามผล ลดความเสี่ยงของ “Green Washing” หรือการสร้างภาพลักษณ์ด้านความยั่งยืนเพื่อกลบเกลื่อนการประกอบธุรกิจที่ส่งผลในเชิงลบ ขาดความรับผิดชอบ และสุดท้ายกลไกของความโปร่งใสจะก่อให้เกิดการแข่งขันการทำความดี หรือ “Race to the Top”

 

 

 

พิสูจน์อักษร....สุรีย์  ศิลาวงษ์

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...