นบขพ. เคาะ2 มาตรการดูแลข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปี 66/67

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า  ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) ที่มีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้พิจารณามาตรการเพื่อใช้รักษาเสถียรภาพราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2 มาตรการ เพื่อรองรับผลผลิตปี 2566/67 ที่จะออกสู่ตลาดมากในเดือนพ.ยนี้

โดย 2 มาตรการได้แก่ 1. โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 2566/67 เพื่อดูดซับอุปทานในช่วงออกสู่ตลาดมาก และเพิ่มสภาพคล่องให้ผู้รวบรวม โดยชดเชยดอกเบี้ยให้ 4% ซึ่งเพิ่มขึ้นจากโครงการในปีที่ผ่านมาที่ 3% เนื่องจากในภาวะปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ได้ปรับตัวสูงขึ้น โดยทั้ง 2 มาตรการ จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติต่อไป

2. สินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2566/67 เป็นการเพิ่มสภาพคล่องแก่สถาบันเกษตรกร โดยสถาบันฯ รับภาระดอกเบี้ย 1% ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยภาครัฐจะเป็นผู้ชดเชยเพิ่มเติมให้  

นอกจากนี้ ด้วยสถานการณ์การค้าโลกในปัจจุบันที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เช่น การปล่อยคาร์บอนอันจะทำให้เกิดสภาวะก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์โดยเฉพาะในอาหารไก่ ซึ่งไทยส่งออกเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ สร้างรายได้ให้ประเทศมูลค่าหลายล้านบาทในแต่ละปี

ดังนั้นเพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก จึงแต่งตั้งคณะอนุกรรมการส่งเสริมการค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้สอดคล้องกับการค้าโลก โดยมีอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นประธานร่วมกัน ที่จะมาทำหน้าที่กำกับดูแล ส่งเสริมการผลิตที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีมาตรฐานและสอดคล้องกับการค้าโลก

นอกจากนี้ยังตั้งวอร์รูม (War Room) โดยให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งภาคราชการ เอกชน และเกษตรกร ร่วมกันทำงานในเชิงรุก ในการติดตามสถานการณ์ กำกับดูแล ทั้งด้านการผลิต การตลาด การนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน ให้มีความสมดุลเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในประเทศ

นายวัฒนศักย์ กล่าวว่า แม้ราคาในช่วงนี้มีแนวโน้มอ่อนตัวเล็กน้อยแต่ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีที่ กก.ละ 10.15 บาท และสูงกว่าราคาเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลังที่ผ่านมา ประธาน นบขพ. จึงได้สั่งการให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องบริหารจัดการให้เกิดความสมดุล เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสีย ทั้งเกษตรกร ผู้รวบรวม โรงงานอาหารสัตว์ ผู้เลี้ยงสัตว์ ตลอดทั้งห่วงโซ่ให้ได้รับประโยชน์ร่วมกัน

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...