แผนรับมือ ‘โลกป่วน’

ผลกระทบจากสงครามอิสราเอล-ฮามาสในเชิงของเศรษฐกิจไทย ภาคธุรกิจเริ่มมีการหวั่นผวา หากมีการประเมินกันว่า สถานการณ์สงครามอาจจะลุกลาม บานปลาย และขยายวงดึงประเทศอื่นๆ เข้าไปอยู่ในวงขัดแย้ง ล

หากเป็นเช่นนั้น ไทยคงต้องมีแผนรับมือเพื่อไม่ให้พิษของสงคราม กระทบชิ่งมาที่ไทยเต็มๆ นี่ไม่นับพี่น้องแรงงานไทยที่ต้องเอาชีวิตไปทิ้งที่อิสราเอลนับหลายสิบคน ในระยะยาวมาตรการคุ้มครองแรงงานไทย รวมถึงแนวทางการพัฒนาแรงงานไทยควรต้องถูกยกระดับอย่างจริงจัง 

แม้หลายฝ่ายวิเคราะห์กันว่า สงครามอิสราเอล-ฮามาส ผลกระทบอาจจะในระยะสั้นๆ และผลกระทบทางตรงมีไม่มากประเมินว่า จะอยู่ในวงจำกัดหากสถานการณ์ไม่ยืดเยื้อ แต่ถ้าสถานการณ์ขยายวงกว้างไปประเทศอื่น เช่น อิหร่าน หรือกลุ่มประเทศในตะวันตกจะกระทบมาก โดยเฉพาะต่อเศรษฐกิจโลก รวมถึงเศรษฐกิจไทย ที่อาจได้รับผลกระทบทางตรง จากสถานการณ์ที่รุนแรงขึ้น ผ่านการส่งออกท่องเที่ยว การค้า การลงทุนที่อาจลดลงในระยะข้างหน้า

นอกจากนี้ ยังมีผลกระทบทางอ้อม ราคาน้ำมันโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เงินเฟ้อระยะข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องหากการดำเนินนโยบายการเงินของประเทศเศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐ ใช้นโยบายการเงินตึงตัวมากขึ้น ยิ่งส่งผลทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าคาดได้ เช่นเดียวกับเศรษฐกิจไทย ที่จะได้รับผลกระทบทั้งจากทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะผลกระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีสิทธิสูงขึ้น

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. ประเมินไว้น่าสนใจ ระบุว่า ราคาน้ำมันโลกปัจจุบัน ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในระดับมากกว่า 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จากการตรึงกำลังผลิตและอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวโดยหากความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์ยืดเยื้อและขยายวงกว้างสู่ระดับภูมิภาคจะกระทบอุปทานการผลิตน้ำมันให้หดตัวลง ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันดิบโลกสูงขึ้น

รวมถึงส่วนที่เกี่ยวข้องกับอิหร่าน และการขนส่งลำเลียงน้ำมันผ่านช่องแคบฮอร์มุซ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างอ่าวเปอร์เซียกับอ่าวโอมานซึ่งทางเหนือของช่องแคบติดกับพื้นที่ตอนใต้ของอิหร่าน ขณะที่ทางใต้ของช่องแคบติดกับชายฝั่งตะวันออกของยูเออีและโอมานมีปริมาณน้ำมัน 17.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ที่ขนส่งผ่านเส้นทางนี้ อาจเป็นไปได้ที่จะกระทบราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกให้สูงขึ้นระยะสั้น

โลกคงจะปั่นป่วนไปอีกระยะ ไทยต้องเตรียมแผนรับมือไว้ในทุกมิติ ทั้งกรณีปกติและกรณีที่เลวร้ายสุด ทีมเศรษฐกิจ ความมั่นคง ต้องเกาะติดสถานการณ์สงครามนี้อย่างใกล้ชิด ประเมินผลกระทบในทุกด้าน รักษาจุดยืนไว้ให้เหมาะสม หาโอกาสในวิกฤติให้ได้ เพราะดูแนวโน้มของปัญหาภูมิรัฐศาสตร์๋โลก คงไม่ได้หยุดเพียงแค่ สงครามรัสเซีย ยูเครน และอิสราเอล-ฮามาส หากการแข่งขันทางภูมิรัฐศาสตร์ คงจะดุเดือดขึ้น ไทยจึงต้องกำหนดยุทธศาสตร์เรื่องเหล่านี้ให้ดี  

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...