เล่าเรื่องย่อ 'ชะตากรรมเอเวอร์แกรนด์' สัญญาณวิกฤติอสังหาฯ จีน

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน เอเวอร์แกรนด์ เคยเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่สุดของจีน แต่เมื่อปี 2564 กลับมีหนี้สินล้นพ้นตัวกว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ ผลพวงทางการจีนตรวจสอบภาคอสังหาฯ อย่างหนักสร้างแรงกดดันให้กับบริษัท

บริษัทพัฒนาอสังหาฯ ใหญ่หลายราย เจอดรามาหลายระลอกหลังจากไม่สามารถทำโครงการให้แล้วเสร็จได้ จุดชนวนให้ผู้ซื้อบ้านประท้วงและไม่จ่ายเงินจำนอง

สำหรับเอเวอร์แกรนด์ ล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดี (17 ส.ค.) ตามเวลาสหรัฐ Tianji Holding และ Scenery Journey ซึ่งเป็นบริษัทโฮลดิงสูงสุดของเอเวอร์แกรนด์ ยื่นเรื่องต่อศาลนิวยอร์กขอพิทักษ์ทรัพย์ตามมาตรา 15 ซึ่งเป็นกลไกจัดการคดีล้มละลายเกี่ยวข้องมากกว่าหนึ่งประเทศ

ที่ผ่านมาเอเวอร์แกรนด์พยายามปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศมาหลายเดือน ปีนี้ยื่นข้อเสนอให้เจ้าหนี้สวอปหนี้ไปเป็นหุ้นกู้ใหม่ของบริษัทและหุ้นในสองบริษัทลูก คือ Evergrande Property Services Group และ Evergrande New Energy Vehicle Group

จุดเริ่มต้นหายนะเอเวอร์แกรนด์

เอเวอร์แกรนด์ ผิดนัดชำระหนี้ หุ้นกู้ ครั้งแรกในปี 2564 โหมกระพือความกังวลว่าจะลุกลามไปทั้งวงการ เอกสารล่าสุดที่ยื่นต่อศาลระบุว่า บริษัทกำลังดำเนินกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ในฮ่องกง

เดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เอเวอร์แกรนด์รายงานขาดทุนสุทธิกว่า 1.13 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2564 และ 2565

สิ้นปี 2565 หนี้สินของกลุ่มอยู่ที่เกือบ 3.4 แสนล้าน เป็นเงินกู้ 8.5 หมื่่นล้านดอลลาร์ ขณะที่บริษัทมีเงินสดในเวลานั้นรวมราว 2 หมื่นล้านดอลลาร์

 

ความเป็นมาอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัยจีน

จีนปฏิรูปที่อยู่อาศัยเมื่อปลายทศวรรษ 1990 ทำให้ภาคส่วนนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้รับแรงกระตุ้นจากปทัสถานทางสังคมที่ว่า ต้องมีบ้านก่อนแต่งงาน

แต่ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมารัฐบาลปักกิ่งมองว่า การที่บริษัทอสังหาฯ รายใหญ่มีหนี้สินมากมายเป็นความเสี่ยงอย่างไม่อาจยอมรับได้ต่อระบบการเงินของประเทศ และสภาพเศรษฐกิจโดยรวม

เพื่อลดหนี้ในภาคส่วนนี้ ทางการจึงค่อยๆ ควบคุมเงื่อนไขการปล่อยกู้ให้บริษัทพัฒนาอสังหาฯ มาตั้งแต่ปี 2563 ตัดท่อน้ำเลี้ยงบริษัทที่หนี้ท่วมไปเรียบร้อยแล้ว ก่อให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ตามมาหลายระลอก ที่โดดเด่นคือเอเวอร์แกรนด์ ทำลายความเชื่อมั่นของคนอยากซื้อบ้าน สั่นสะเทือนไปทั้งวงการอสังหาฯ

ขณะที่คันทรีการ์เดน ยักษ์ใหญ่อสังหาฯ จีนอีกราย ตอนนี้เริ่มส่อเค้าเสี่ยงผิดนัดชำระหนี้ในเดือนหน้า หลังบริษัทบอกว่า “การไถ่ถอนหุ้นกู้มีความไม่แน่นอนอย่างมาก”

ด้วยความผันผวนที่เกิดขึ้น เมื่อเร็วๆ นี้รัฐบาลปักกิ่งพยายามส่งเสริมภาคอสังหาฯ ด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยจำนอง, ลดกระบวนการล่าช้า และให้สินเชื่อแก่บริษัทพัฒนาอสังหาฯ มากขึ้น

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ดีมานด์ออฟฟิศย่านซีบีดีกทม.พุ่ง! รับอานิสงส์ต่างชาติย้ายสำนักงานใหญ่

ปัญญา เจนกิจวัฒนาเลิศ กรรมการบริหารหัวหน้าส่วนพื้นที่สำนักงาน บริษัท ไนท์แฟรงค์ ชาร์เตอร์ (ประเทศไทย...

แรงเหวี่ยง“ลานีญา-ส่งออกสัญญาณดี” หนุนจีดีพีเกษตรปี67โต0.2-1.2%

ตั้งแต่ไทยเข้าสู่ฤดูฝน (20 พ.ค. 2567) ถึง ณ วันที่ 27 ส.ค. 2567 มีพื้นที่การเกษตรได้รับผลกระทบจากอุท...

ถ้าจะลาออก จะ ”บอกเจ้านายยังไงดี” ให้เกิดผลดีกับทุกฝ่าย !?

Part.1.เรื่องธรรมดา กับ เรื่อง ไม่ธรรมดา เมื่อพนักงาน ลาออก !? เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ที่แต่ละที่...

เตรียมโรดทริป 'อันดามัน' เส้นทางใหม่ ถนนเลียบชายฝั่ง เชื่อม 6 จังหวัดยอดฮิต !

โครงการศึกษาความเหมาะสมพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลอันดามัน ช่วงจังหวัดระนอง – สตูล หนึ่งใ...