หอการค้าฯ เผย เทศกาลเจ ปี66 เงินสะพัด 4.4 หมื่นล้านบาท

นายธนวรรธน์ พลวิชัย  อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยว่า ศูนย์พยากรณ์ฯ สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนในช่วงเทศกาลกินเจ คาดว่าปีนี้คึกคัก เพราะบรรยากาศของการกลับมากินเจ  และเศรษฐกิจฟื้นก็มีผลต่อการใช้จ่ายที่จะเพิ่มขึ้นปี 2566 นี้ อยู่ที่ 4,587 บาท สูงสุดในรอบ 16 ปี  นับตั้งแต่มีการสำรวจในปี 2551 ทำให้คาดการณ์ว่าเงินจะสะพัดในช่วงกินเจ 44,558 ล้านบาท ขยายตัว 5.5% แต่ก็ยังไม่เท่าก่อนที่จะเกิดโควิด “การกลับมาคึกคักในช่วงกินเจปีนี้ เพราะคนมองเศรษฐกิจดีขึ้น การท่องเที่ยวฟื้นตัว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ จึงมีผลต่อการจับจ่ายซื้อสินค้าในช่วงเทศกาล ซึ่งคาดว่าสูงขึ้น 30% ”

นางอุมากมล สุนทรสุรัติ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ได้สำรวจพฤติกรรมการใช้จ่ายช่วงเทศกาลกินเจและความคิดเห็นต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน สำรวจระหว่างวันที่ 27 ก.ย. – 3 ต.ค. 2566 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,280 ตัวอย่างทั่วประเทศ  พบว่า

คนจะเริ่มกินเจตั้งแต่วันที่ 14-15 ต.ค. 2566

  • 39.4% กินเจ  เพราะตั้งใจทำบุญ  เพื่อสุขภาพ  ลดการกินเนื้อสัตว์ 
  • 60.6% ไม่กินเจ  เพราะอาหารแพง ไม่ตั้งใจจะกิน เศรษฐกิจไม่ดี

พฤติกรรมการกินเจที่ผ่านมา แนวโน้มในอนาคต และช่องทางที่จะเลือกซื้อ

  • 82.2% ที่เคยกินก็ยังกินต่อเนื่อง
  • 17.8% ไม่เคย ปีนี้อาจจะไม่กินแต่ บางกลุ่มก็บอกว่าจะลองกินในปีนี้ 
  • 61.4% จะกินตลอดเทศกาล
  • 38.6% ที่จะกินเป็นบางมื้อ 
  • 88.8% ไปซื้อด้วยตัวเอง
  • 11.2% ไม่ได้ไปซื้อด้วยตัวเอง โดยซื้อผ่านเดลิเวอรี่ ออนไลน์ 

วัตถุดิบและคาดว่าราคาอาหารเจปี 2566 นี้  คนส่วนใหญ่คิดว่า

  • 57.1% แพงขึ้น
  • 0.7%  ราคาลดลง 
  • 42.2% ที่คิดว่าเท่าเดิม 

- การไปทำบุญเฉลี่ยต่อคนปีนี้ 1,504 บาทต่อคน

- มูลค่าการเดินทางไปทำบุญเฉลี่ย 3,589 บาทต่อคน 

- มูลค่าการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลอยู่ที่ 4,587 บาท

ทำให้คาดการณ์ว่าเงินจะสะพัดในช่วงกินเจ 44,558 ล้านบาท ขยายตัว 5.5%

ทัศนะของผู้ประกอบการในช่วงกินเจ สำรวจวันที่ 27 ก.ย. – 3 ต.ค.  2566 จำนวนตัวอย่าง 650 ตัวอย่างทั่วประเทศ พบว่า 

49% มีร้าน ร้านอาหารถุงที่ขายอาหารเจ ส่วนอาหารเจก็จะกระจายไปในส่วนของร้านขายผัก ร้านสะดวกซื้อ ซุปเปอร์มาเก็ต เครื่องสำหรับไหว้เจ้า 

รูปแบบที่ชำระเงินในช่วงกินเจ 

  • 72% ใช้เงินสด
  • 25.8% ใช้วิธีการโอน
  • 1% ใช้บัตรเครดิต

รูปแบบที่ซื้อของลูกค้า

  • 80.8% ใช้บริการเดลิเวอรี่
  • 19.2% ไปซื้อเอง 

ผู้ประกอบการส่วนใหญ่คิดว่าการใช้จ่ายช่วงกินเจ จะเพิ่มขึ้น

  • 30.7% เพราะเศรษฐกิจดีขึ้น ราคาสินค้าแพงขึ้น มาตรการกระตุ้นของภาครัฐ
  • 25% คิดว่าใช้จ่ายลดลง เพราะลดค่าใช้จ่าย เศรษฐกิจแย่ มีหนี้สินเพิ่ม 

ส่วนจำนวนชิ้นที่ซื้อ

  • 49% ไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบปีที่ผ่านมา
  • 30.3% เพิ่มขึ้น
  • 20.75 ลดลง

ราคาสินค้าช่วงกินเจ

  • 72% คิดว่าแพงขึ้น
  • 1.7% คิดว่าถูกลง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...