ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ส่องแผนรุก Soft power เวทีโลก?

การประชุม 'คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ' นัดแรก รัฐบาลหารือระหว่างส่วนราชการ ภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิขับเคลื่อน Soft power ของไทย

เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ แพทองธาร ชินวัตร รองประธานฯ เดินหน้าแผนผลักดัน 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ หรือ One Family One Soft Power (OFOS) และ Thailand Creative Content Agency (THACCA) วางเป้าหมายพัฒนาทักษะคนไทย 20 ล้านคน เป็นแรงงานทักษะขั้นสูงและแรงงานสร้างสรรค์ หวังสร้างรายได้ 4 ล้านล้านบาทต่อปี สร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง

กล่าวโดยสรุปคือ การเคลื่อนนโยบาย OFOS และ THACCA แบ่งการดำเนินการ 3 ขั้น

1. พัฒนาคน จากเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ จำนวน 20 ล้านคน ลงทะเบียนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เพื่อบ่มเพาะผ่านศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์ ทั้งด้านอาหาร มวยไทย วาดภาพศิลปะ การแสดง ร้องเพลง ออกแบบ แฟชั่น e-sport และอื่น ๆ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

2. พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ 11 สาขา ได้แก่ อาหาร กีฬา เฟสติวัล ท่องเที่ยว ดนตรี หนังสือ ภาพยนตร์ เกม ศิลปะ การออกแบบและแฟชั่น โดยตั้งองค์กร THACCA  ดำเนินการปรับแก้กฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับแบบ One Stop Service เพื่ออำนวยความสะดวก สนับสนุนเงินทุนวิจัยและพัฒนา การสร้างแรงจูงใจด้านภาษี จัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ TCDC ทุกจังหวัด เพิ่มพื้นที่ Co-Working Space ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ พบปะริเริ่มไอเดียสร้างสรรค์ และต่อยอดกลายเป็นซอฟต์พาวเวอร์ ตั้งแต่ระดับภูมิภาคจนถึงระดับประเทศ  


   
3. นำอุตสาหกรรมชอฟต์พาวเวอร์รุกสู่เวทีโลก จะเดินหน้าผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ของไทยสู่ระดับสากลด้วยการทูตเชิงวัฒนธรรม กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์จะร่วมมือกับภาคเอกชน นำซอฟต์พาวเวอร์ของไทยเผยแพร่สู่ตลาดโลก จัดกิจกรรมระดับโลก และการนำซอฟต์พาวเวอร์ศักยภาพสูงเข้าร่วมกิจกรรมระดับโลกในต่างประเทศ

สำหรับแผน 3 ขั้นดังกล่าวนั้น กำหนดเป้าหมายระยะสั้นและกลาง คือ ภายใน 100 วัน หรือ ม.ค. 2567 กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จะเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนแสดงความสนใจเข้ารับการบ่มเพาะ

พร้อมปรับปรุงศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์ในสถาบันการศึกษาต่าง ๆ พร้อมกับการปรับเปลี่ยนกฎหมายบางส่วนในระดับกฎกระทรวงหรือพระราชกฤษฎีกา 



ภายใน 6 เดือน หรือภายใน เม.ย. 2567 จะเริ่มต้นกระบวนการบ่มเพาะศักยภาพคนผ่านศูนย์บ่มเพาะทักษะสร้างสรรค์ พร้อมเสนอร่างพระราชบัญญัติ THACCA เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร 

ขณะเดียวกัน จัดงานเทศกาลของประเทศให้เป็นเทศกาลระดับโลก เช่นงานสงกรานต์ World Water Festival ส่งเสริมการจัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติและเทศกาลดนตรีนานาชาติ สนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ของไทยในสาขาต่าง ๆ ไปร่วมงานในระดับโลก จัดงานซอฟต์พาวเวอร์ฟอรัมนานาชาติ เพื่อระดมความคิดสร้างสรรค์ของคนในวงการซอฟต์พาวเวอร์ทั้งระดับประเทศและระดับโลก 



จากนั้นภายใน 1 ปี หรือ ต.ค. 2567 กระบวนการบ่มเพาะศักยภาพคน จะสามารถสร้างแรงงานทักษะสูงและแรงงานสร้างสรรค์ คาดอย่างน้อย 1 ล้านคน และคาดว่าร่างพระราชบัญญัติ THACCA จะได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร เข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภา
กล่าวคือ แผนงานของรัฐบาลตามที่บอร์ดซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติกำลังก้าวแรก ทิศทางดูมีความหวัง แต่อุปสรรคมีให้แก้แน่นอน โดยเฉพาะการแก้กฎหมาย ทลายกำแพงความคิดสร้างสรรค์ และทุ่มงบประมาณและแหล่งเงินทุน เพื่อสร้าง “นักซอฟต์พาวเวอร์” รุ่นใหม่ ซึ่งไม่ง่ายแต่ทำจริงเห็นผลแน่
 

- เรื่องที่เกี่ยวข้อง :
 บทความที่เกี่ยวข้องกับ soft power ทั้งหมด
บทความของนิติราษฎร์ บุญโย ทั้งหมด

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘อีลอน มัสก์’ หนุน ‘ทรัมป์’ พนักงานบริจาคให้‘แฮร์ริส’

ข้อมูลจากโอเพนซีเคร็ตส์ องค์กรไม่หวังผลกำไรไม่แบ่งฝักฝ่าย ผู้ติดตามข้อมูลการบริจาคเงินหาเสียงและการล...

สหภาพแรงงาน Teamsters ไม่หนุน'ทรัมป์-แฮร์ริส'

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า สหภาพแรงงานทีมสเตอร์สมีสมาชิกกว่า 1.3 ล้านคน เป็นตัวแทนของกลุ่มคนขับรถบร...

ครึ่งแรกปี67จีนครองแชมป์ซื้อคอนโดเมียนมาซิวเบอร์สองแซงรัสเซีย2ปีซ้อน

วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์ และรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เป...

อสังหาฯ แบกสต็อกอ่วม 1.57 ล้านล้าน เอ็นพีแอลพุ่ง ‘ทุกตลาดติดลบหนัก’

นายกสมาคมอาหารชุด หวังเร่งแก้นอมินีต่างชาติในตลาดบ้านมูลค่า 1 ล้านล้านบาท จัดเก็บภาษี หวังแบงก์ชาติล...