เตือนเด็กเล็กระวังเชื้อ RSV เสี่ยงอาการรุนแรงอันตรายถึงเสียชีวิต

ในช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้  มีโอกาสพบโรคติดต่อได้หลายโรค หนึ่งในนั้นคือโรคติดเชื้อทางเดินหายใจจากเชื้อไวรัส (Respiratory Syncytial Virus : RSV) โดยข้อมูลการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส RSV ในผู้ป่วยกลุ่มอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ (ILI) และกลุ่มอาการปอดบวมจากโรงพยาบาลเครือข่ายของกรมควบคุมโรค ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข 

ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.- 31 ส.ค. 2566 มีการส่งตรวจตัวอย่างจำนวน 5,411 ตัวอย่าง พบเป็นตัวอย่างติดเชื้อ RSV จำนวน 732 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 13.53

โดยพบมากที่สุดในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ร้อยละ 52.23 รองลงมาเป็นกลุ่มอายุ3-5 ปี ร้อยละ 34.92 และกลุ่มอายุ 6-15 ปี ร้อยละ 8.38 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบผู้ป่วยกลุ่มอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 1.96

โรคนี้ติดต่อจากการไอจาม โดยการสัมผัสน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เชื้อไวรัสอาร์เอสวีเข้าผ่านทางจมูก ปาก และเยื่อบุตาทำให้เกิดโรค หรือการสัมผัสสิ่งของ เช่น ของเล่น ภาชนะที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย ผู้ที่ได้รับเชื้อมักมีระยะฟักตัว ของโรค เฉลี่ยอยู่ที่ 4-6 วัน หลังได้รับเชื้อ ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่กระจายเชื้อได้นาน 3-8 วัน สำหรับการติดเชื้อในกลุ่มเด็กเล็ก เชื้อมีโอกาสลุกลามไปยังระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น หลอดลม เนื้อปอด ทำให้เกิดอาการหลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ และปอดอักเสบตามมา มักพบเด็กรับเชื้อจากการสัมผัสผู้ป่วยขณะที่ไปโรงเรียน ศูนย์รับเลี้ยงเด็ก และยังสามารถแพร่เชื้อต่อให้กับคนในบ้านได้

ระยะแรกผู้ป่วยจะมีอาการเพียงเล็กน้อยคล้ายกับโรคไข้หวัด เช่น ไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ หากมีอาการรุนแรงจะมีอาการหายใจเร็ว หอบเหนื่อย เสียงหายใจดังวี้ด รับประทานอาหารได้น้อย ซึมลง และอาจเสียชีวิตได้ ในโรงพยาบาลใหญ่จะมี Monoclonal antibody ใช้รักษา การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาตามอาการ โรคนี้สามารถพบได้ในผู้ป่วยทุกกลุ่มอายุ แต่กลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดอาการรุนแรง คือ เด็กเล็ก เด็กที่ภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง เด็กที่คลอดก่อนกำหนด ผู้สูงอายุ 65 ปีขึ้นไป รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคปอด โรคหัวใจ หรือผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

แนะนำผู้ปกครองและครูในสถานศึกษาหมั่นสังเกตอาการติดเชื้อทางเดินหายใจ โดยเฉพาะเด็กเล็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี อย่างใกล้ชิดทุกวัน โดยโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยการล้างมืออย่างถูกวิธีด้วยสบู่และน้ำสะอาดบ่อยๆ โดยเฉพาะก่อนมื้ออาหารและหลังเข้าห้องน้ำ ดูแลสุขอนามัย หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น หากจำเป็นควรสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ทำความสะอาดบ้านรวมทั้งของเล่นเด็กเป็นประจำ รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำมากๆ และพักผ่อนให้เพียงพอ หากพบเด็กมีอาการป่วย ควรแยกออกจากเด็กปกติเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อ และพาไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาต่อไป สอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร.1422

ภาพจาก : freepik

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...