ถอดบทเรียนมาตรการพักชำระหนี้เกษตรกรไทย ทางเลือกที่ควรพิจารณาในการช่วยเหลือ SME ไทย (จบ)
วันที่ส่ง: 02/11/2024 - ผู้เขียน: กรุงเทพธุรกิจ
จากรายงานวิจัยที่ศึกษามาตรการบรรเทาภาระหนี้ของครัวเรือนในต่างประเทศพบว่า นอกจากจะไม่ช่วยการบริโภค การออม การลงทุน และผลิตภาพแล้ว ยังอาจนำมาซึ่งแรงจูงใจที่บิดเบี้ยว(moral hazard) วินัยทางการเงินที่แย่ลง
เช่น การศึกษามาตรการยกหนี้ให้เกษตรกรขนาดใหญ่ในอินเดีย ในปี 2008 และการศึกษามาตรการยกเว้นการยึดอสังหาริมทรัพย์เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาหนี้ของเกษตรกรในสหรัฐอเมริกายุค 1930s สำหรับการศึกษาในผู้กู้กลุ่มอื่น
Dinerstein et al.(2023) ได้ศึกษาการพักชำระหนี้เพื่อการศึกษาในสหรัฐอเมริกาจากวิกฤตโควิด 19 ระหว่างปี 2020-2023
พบว่าถึงแม้มาตรการจะช่วยลดการผิดชำระหนี้ได้เล็กน้อย และช่วยเพิ่มการบริโภคในระยะสั้นได้ แต่ลูกหนี้กลับมีการกู้สินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ และใช้บัตรเครดิตเพิ่ม จากความสามารถในการชำระหนี้ที่เหลือจากการพักหนี้เพื่อการศึกษา ทำให้หนี้รวมของลูกหนี้กลับเพิ่มขึ้น
ข้อสรุปจากงานวิจัยของ Ratanavararak & Chantarat (2022) ชี้ว่าการพักหนี้ในอดีตที่มักทำในวงกว้าง ต่อเนื่องยาวนาน และไม่มีเงื่อนไขในการสร้างวินัย ไม่สามารถแก้ปัญหาให้ลูกหนี้เกษตรกรในกลุ่มต่าง ๆ ได้ และอาจไม่ได้เป็นการใช้งบประมาณรัฐอย่างคุ้มค่า กลุ่มเกษตรที่มีศักยภาพในการกู้และชำระหนี้อยู่แล้วเมื่อเข้าร่วมมาตรการพักหนี้กลับมีหนี้เพิ่มขึ้น
และมีแนวโน้มในการผิดชำระหนี้เพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มอื่น ๆ กลุ่มเกษตรกรที่มีศักยภาพแต่ประสบปัญหาในการชำระหนี้และมีความเสี่ยงสูง การพักหนี้อาจมีผลดีบ้าง เช่น ช่วยบรรเทาปัญหาสภาพคล่องให้เกษตรกรในระยะสั้น ทำให้สามารถลงทุนทำการเกษตรเพื่อสร้างรายได้ต่อไป แต่ยังไม่ทำให้การชำระหนี้ปรับดีขึ้น
อีกทั้งยังมีแนวโน้มกลับเข้าไปพักหนี้ต่ออย่างมีนัยสำคัญ สร้างแรงจูงใจที่บิดเบี้ยว (moral hazard) ทำให้เกษตรกรพึ่งพิงการพักหนี้และไม่มีแรงจูงใจที่จะปรับตัวและสริมสร้างศักยภาพ กลุ่มเกษตรที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือกลุ่มเกษตรกรที่ชำระหนี้ไม่ได้อยู่แล้ว เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ จะมียอดหนี้สะสมและมีแนวโน้มในการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น การพักหนี้ไม่ช่วยให้เกิดการออมและการลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ การพักหนี้เป็นการผลักปัญหาไปในอนาคต และไม่ช่วยให้กลับมาชำระหนี้ได้
นโยบายสำคัญต่อการออกแบบมาตรการพักหนี้ และบทบาทภาครัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรที่สรุปจากงานวิจัยนี้ ที่สรุปจากงานวิจัย 4 ประเด็น คือ..
1. มาตรการพักหนี้ ควรเป็นมาตรการระยะสั้น และตรงจุด รวมทั้งทำในวงจำกัด สำหรับลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพ แต่ประสบปัญหาในการชำระหนี้ชั่วคราวเท่านั้น ซึ่งอาจทำในลักษณะ opt in แทนที่จะทำให้กับทุกคนในวงกว้าง เพื่อป้องกันการเสียวินัยทางการเงินของลูกหนี้กลุ่มที่ยังสามารถจ่ายหนี้ได้ตามปกติ
2. มาตรการพักหนี้ควรถูกออกแบบพร้อมกลไกสร้างแรงจูงใจให้ลูกหนี้ทุกกลุ่ม ยังรักษาวินัยในการชำระหนี้อย่างต่อเนื่อง มีแนวทางเสริมให้เกษตรกรที่เข้ามาตรการพักหนี้มีการปรับตัว เพื่อเพิ่มศักยภาพในการหารายได้ ลดความเสี่ยง ช่วยเพิ่มความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาว
3 มาตรการพักหนี้ ควรใช้เฉพาะในสถานการณ์ที่เกินความสามารถของเกษตรกรจริง ๆ เช่นกรณีการระบาดของไวรัสโควิด 19 ภัยธรรมชาติที่รุนแรงเท่านั้น
4 มาตรการพักหนี้ ไม่ควรเป็นเครื่องมือหลักของรัฐในการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรอย่างยั่งยืน ควรมองระยาว
และมุ่งช่วยให้เกษตรกรทุกกลุ่มสามารถชำระหนี้ได้ตามศักยภาพ และสามารถลดหนี้ได้ในระยะยาว รวมถึงเข้าสินเชื่อใหม่ที่มีคุณภาพและสามารถชำระหนี้คืนได้ รัฐควรมีบทบาทสำคัญในการสร้างเสริมศักยภาพ และภูมิคุ้มกันให้ครัวเรือนเกษตรกร
ตลอดถึงการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เช่นการพัฒนาข้อมูลลูกหนี้ที่ครอบคลุม เพื่อช่วยสถาบันการเงินสามารถช่วยแก้ปัญหาหนี้
ควรมีการศึกษามาตรการพักหนี้เกษตรกร นำมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขหนี้ให้กับผู้ประกอบการ SME และ สินเชื่อรายย่อย ที่สถานการณ์หนี้เสียยังค่อนข้างน่าเป็นห่วง
โดยจากรายงานผลประกอบการในไตรมาส 3/2567 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2567 ธนาคารพาณิชย์ในระบบทั้ง 11 แห่ง พบว่าภาพรวม NPL ยังมีทิศทางขยับเพิ่มขึ้น คาดว่ายอด NPL คงค้างจะขยับไปใกล้ ๆ 5.2 แสนล้านบาท แนวทางการพักหนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สมาคมธนาคารไทย
ธนาคารสมาชิก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงการคลัง ที่อยู่ในระหว่างหารือการออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม และรัฐบาลจะต้องมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มรายได้ ทำให้ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มขึ้น…
คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ
‘แฮร์ริส’ ระดมพลช่วยดึงเสียงกลุ่มผู้ชาย
สหภาพแรงงานส่วนใหญ่สนับสนุนผู้สมัครจากพรรคเดโมแครตมาอย่างยาวนาน และแฮร์ริสและประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต่...
คอนโดอารมณ์เพนต์เฮ้าส์บูม!เดอะ สแตรนด์ ทองหล่อรวมห้องขายยูนิตละ34ล้าน
นางสาวธัญทิพ เจียรวนนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อีเดน เอสเตท คอร์ปอเรชั่น จํากัด เผยว่า ตลาดอ...
10 เซียนชื่อดัง สอย 9 หุ้น IPO ปี 67 ติดพอร์ต ราคาไปไกลแค่ไหน?
หุ้น IPO หรือ Initial Public Offering หุ้นที่มีการซื้อขายเป็นครั้งแรกให้กับประชาชนโดยทั่วไปเพื่อที่จ...
กระทรวงเกษตรฯ ดึงนวัตกรรมทำแปลงใหญ่ ไผ่ สร้างรายได้ 2 ล้านบาทต่อปี
นางสาวนริศรา เอี่ยมคุ้ย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเ...
ยอดวิว