“สส.ณรงเดช” อัด รัฐบาลหละหลวม ปล่อยองุ่นไชน์มัสแคทปนเปื้อนเข้าไทย ทำผู้บริโภครับกรรม

“ณรงเดช อุฬารกุล” ชี้องุ่นไชน์มัสแคทปนเปื้อน ซ้ำรอยหมูเถื่อน เพราะรัฐไทยหละหลวม ตรวจสินค้าเกษตรนำเข้าไม่เข้มงวด-ไม่โปร่งใส ทำผู้บริโภค-เกษตรกรไทยรับกรรม แนะตรวจเข้มทุกช่องทาง ดำเนินคดีกับผู้ลักลอบนำเข้าอย่างเด็ดขาด

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 นายณรงเดช อุฬารกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการการเกษตรและสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร ให้ความเห็นถึงกรณีที่องค์กรภาคประชาสังคมสุ่มตัวอย่างตรวจพบสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในองุ่นไชน์มัสแคท (Shine Muscat) ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยระบุว่า ประเด็นนี้สะท้อนถึงปัญหาการบังคับใช้กฎหมายในประเทศไทย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกรณี “หมูเถื่อน” คือการนำเข้าสินค้าเกษตรโดยไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดและโปร่งใส ไม่แน่ใจว่าผ่านช่องทางใด และมีการตรวจสอบสารตกค้างหรือไม่ อีกทั้งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่องค์กรภาคประชาสังคมตรวจพบในองุ่น คือ คลอร์ไพริฟอส ซึ่งประเทศไทยไม่อนุญาตให้ใช้แล้ว แสดงให้เห็นถึงความบกพร่องในการตรวจสอบคุณภาพสินค้าก่อนนำเข้า เป็นภัยต่อผู้บริโภค และละเลยความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety)

นายณรงเดช กล่าวต่อไปว่า การบังคับใช้กฎหมายที่หละหลวมเช่นนี้นำมาซึ่งปัญหาการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม เพราะเกษตรกรไทยต้องผลิตสินค้าตามมาตรฐานที่เข้มงวด แต่กลับต้องแข่งขันกับสินค้าเกษตรนำเข้าที่มีต้นทุนต่ำกว่าเนื่องจากขาดการควบคุม จากปัญหานี้ คณะกรรมาธิการการเกษตรฯ จึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ดังนี้

1. เพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบสินค้าเกษตรนำเข้า โดยควรเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าเกษตรนำเข้าที่ด่านศุลกากรให้ครอบคลุมทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ ควรเพิ่มบุคลากร เครื่องมือตรวจสอบ และการสุ่มตรวจอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการตรวจสอบสารตกค้างอย่างละเอียด ไม่ใช่แค่การตรวจเอกสารเพียงอย่างเดียว

...

2. ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ประกอบการที่ลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรที่ไม่ผ่านมาตรฐานอย่างเด็ดขาด เพื่อเป็นการป้องปรามและสร้างความเข้มงวดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

3. ควรมีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมศุลกากร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อให้การตรวจสอบและควบคุมการนำเข้าสินค้าเกษตรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4. พัฒนาระบบการตรวจสอบและติดตามสินค้าเกษตรนำเข้าให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยอาจใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการตรวจสอบและติดตามสินค้า เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

5. สร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับการเลือกซื้อสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปลอดภัย เพื่อสนับสนุนเกษตรกรไทยและลดการสนับสนุนสินค้าที่มีมาตรฐานต่ำและไม่ปลอดภัย

6. เพิ่มมาตรการควบคุมการนำเข้าและการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างเข้มงวดมากขึ้น เพื่อคุ้มครองทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

UNHCR ชื่นชม ครม. ไทยอนุมัติแนวทางแก้ปัญหายุติภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ

สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งมีพันธกิจเพื่อแก้ไขและลดภาวะไร้รัฐไร้สัญชาติ แสด...

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐจะเปลี่ยนโลก?

สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า ขณะนี้โลกกำลังรอคอยว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในการนำโลก ขณะที่ชาวอเมริกันจะหย...

หน่วยรบยูเครนหวัง 'แฮร์ริส' ชนะเลือกตั้ง

คามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ได้หาเสียงว่า ความช่วยเหลือทางทหารต่อยูเครนจะยังคงมีต่...

เปิด 3 นวัตกรรม นักวิจัยสตรีทุนลอรีอัล รักษามะเร็ง พลังงาน และเกษตรยั่งยืน

ตามข้อมูลของ UNESCO งานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) เป็นงานเพื่ออนา...