'ส.อ.ท.' เปิด 3 ปัจจัยเสี่ยง ต่างชาติเลือกลงทุนประเทศเพื่อนบ้าน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ความจำเป็นและเรื่องเร่งด่วนที่อุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัวสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ เพราะโลกเต็มไปด้วยความท้าทายทั้งเทคโนโลยีดิสรัปชัน ภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบ ส.อ.ท. มี 46 กลุ่มอุตสาหกรรม 11 คลัสเตอร์ โดยครึ่งนึงกำลังถูกภัยคุกคามทางดิจิทัล ทำให้ความต้องการสินค้าที่ได้รับความนิยมลดลง

ทั้งนี้ จากเทรดวอร์ที่รุนแรงขึ้น ผู้ผลิตที่เก่งสุดในโลก คือ จีน และเป็นผู้ค้าขายทั่วโลก 2 ผู้นำสหรัฐฯ ต่างประกาศสงครามการค้ากับจีน และประกาศตัวเลขขาดดุลการค้าที่มหาศาล มองจีนเป็นภัยทางการค้า จึงเพิ่มอัตราภาษีนำเข้า ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสำคัฐคือ ดีคาร์บอไนเซชั่น ไทยต้องเลือกข้างว่าจะอยู่กับซัพพลายเชนหรือเทคโนโลยี เพราะเทรดวอร์จะยังอยู่และเป็นตัวแปรสำคัญ

นอกจากนี้ ยังมีการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั่วโลกให้ความสำคัญไม่ใช่เฉพาะสงคราม แต่เป็นภัยคุกคามโดยเฉพาะประชากรโลก ที่เกิดภัยธรรมชาติถี่ขึ้น ประเทศไทยเดิมเป็นประเทศเกษตรกรรมที่อุดมสมบูรณ์เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นแหล่งผลิตอาหารชั้นนำโลก ทั้งส่งออกข้าว น้ำตาล ยางพารา แต่เป็นการส่งออกเป็นวัตถุดิบการเกษตร และยังอยู่ในประเทศยากจน รายได้ต่ำ จึงต้องทรานฟอร์มมาสู่อุตสาหกรรมใหม่ 

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลา 40 ปี ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีจุดแข็ง 4 ข้อ คือ 1. จำนวนแรงงาน 2. แรงงานราคาถูก 3. ที่ดินราคาถูก และ 4. อยู่ในภูมิทัศน์ที่อยู่ในศูนย์กลางเชื่อมตอ่การลงทุน ซึ่งทั้ง ญี่ปุ่น อเมริกา ยูโรป ต่างหันมาลงทุนที่ประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทย ยังอยู่ที่เดิม คือ OEM

"แม้ประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตอยู่อันดับ 10 ของโลก สามารถผลิตยานยนต์ได้ปีละ 2.3 ล้านคัน โดยสัดส่วนการส่งออกครึ่งหนึ่ง แต่เป็นรถสันดาปภายใน ดังนั้น วันนี้ถือเป็นความท้าทายเพราะถูกการเปลี่ยนแปลงมากมาย จากจุดแข็งทั้ง 4 ข้อที่มี เหลือเพียงข้อเดียว คือจุดศูนย์กลางภูมิภาค" นายเกรียงไกร กล่าว 

ทั้งนี้ สิ่งที่มีผลกระทบโครงสร้างอุตสาหกรรมคือไทยยังเป็น OEM ที่ใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งยังมีต้นทุนค่าไฟเมื่อเทีบบคู่แข่งภูมิภาคราคาแพงกว่าเกือบเท่าตัว เพื่อนบ้านที่เป็นฐานการผลิตสินค้าเดียวกันเฉลี่ยกว่า 2 บาท ไทย 4.18 บาท ดังนั้น ต้นทุนการผลิต ค่าแรง วัตถุดิบ โลจิสติกส์ไทยประสบปัญหา เพราะที่ผ่านมาการวางโครงสร้างพื้นฐานไทยเน้นทางบกเป็นเกณฑ์ที่ต้นทุนกว่า 14% ดังนั้น หากจะให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต้องผสมทั้ง ทางบก ราง น้ำ และอากาศ

นอกจากนี้ กฏหมายไทยยังล้าหลังซึ่งมีเกือบ 1 แสนฉบับ ถือว่ามากสุดในโลก การแข่งขันารุนแรงในตลาด กติกาเปลี่ยน โลกเปลี่ยน เทรดวอร์เพิ่ม การตั้งป้อมไม่นำเข้าสินค้าจีน ขึ้นภาษี เหมือนน้ำป่าเชียงราย หากประตูยกไม่สูงความเสียหายเกิดขึ้น สินค้าก็เปลี่ยนเส้นทางมาที่อาเซียนโดยในรอบ 16 ปี สินค้าจาก 5 แสนกว่าล้านดอลลาร์ หายไป 20% มาอยู่ในอาเซียน และเป็นของจีน ถือเป็นภัยคุกคาม

“นโนบายสำคัญที่ ส.อ.ท. จะยกเครื่องให้เพิ่มขีดความสามารถ ปัจจุบันแบ่งอุตสาหกรรมเป็น 2 ส่วน คืออุตสาหกรรมดั่งเดิม และอุตสาหกรรมแห่งอนาคต จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ยั่งยืน ต้องบาลานซ์กำไรให้พอสมควรพร้อมกับดูแลสิ่งแวดล้อม ขระนี้เป็นที่น่าดีใจที่ผู้ผลิต PCB ขอการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI กว่า 30 แห่ง และคาดว่าจะมี 100 โรงงานมาไทย เงินลงทุนรายละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท” นายเกรียงไกร กล่าว

ทั้งนี้ จากความขัดแย้งระหว่างภูมิรัฐศาสตร์มีทั้งผลบวกและลบต่อไทยในเวลาเดียวกัน เริ่มแรกเมื่อเกิดสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน ทำให้ไทยที่กำลังปรับตัวสู่โลกาภิวัตน์ (Globalization) กลายเป็นต้องเข้าใจเรื่องโลกแบ่งขั้ว (Decoupling) แทน การตั้งกำแพงกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ทำให้สินค้าวัตถุดิบส่วนใหญ่ที่ไทยส่งออกไปจีนเพื่อผลิตและส่งออกไปสหรัฐได้รับผลกระทบ ในทางกลับกันสินค้าแบรนด์ไทย อาทิ เครื่องปรับอากาศที่ส่งออกไปสหรัฐกลับขยายตัวเพิ่มขึ้น      

นายเกรียงไกร กล่าวต่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ ได้เปลี่ยนระบบการค้าโลกใหม่หมด โดยสหรัฐและยุโรปเริ่มมีการตั้งกำแพงภาษีสินค้าจีน ซึ่งทำให้จีนที่เป็นฐานการผลิตของโลก ส่งออกสินค้าไปยังประเทศเหล่านี้ไม่ได้ เกิดเป็นภาวะผลิตสินค้าส่วนเกิน (Over Supply) และสินค้าเหล่านั้นจึงล้นเข้ามาในอาเซียน กลายเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของจีนแทนสหรัฐ

“สินค้าที่ล้นทะลักเข้ามาทำให้เอสเอ็มอีไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก ในปี 2566 มี 22 กลุ่มอุตสาหกรรมที่พบว่ามีการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และในปีนี้หากยังไม่มีมาตรการรับมือที่ดีพอ จะทำให้สินค้าราคาถูกที่ไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐานอาจได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้นเป็น 30 กลุ่มอุตสาหกรรม และจะกลายเป็นปัญหาใหญ่” 

อย่างไรก็ตาม ไทยอาจยังไม่จำเป็นต้องกำหนดมาตรการกำแพงภาษี แต่จะต้องมีมาตรการที่จริงจังในการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน ตรวจจับการลักลอบนำเข้า รวมทั้งการสำแดงเท็จ เพื่อชะลอการหลั่งไหลของสินค้าที่ทะลักเข้ามาได้บ้าง ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนต้องช่วยกัน

นายเกรียงไกร กล่าวว่า หลายครั้งที่มีการเน้นย้ำว่าอุตสาหกรรมไทยในปัจจุบันเริ่มล้าสมัย โดยสมาชิก ส.อ.ท.ครึ่งหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอียังต้องการกลไกช่วยเหลือในการปรับตัว เพื่อไม่เกิดการ Hard Landing โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มในการผลิต จากการเป็นเพียงแค่การรับช่วงผลิต การพัฒนาทักษะแรงงานใหม่ รวมทั้งกระบวนการผลิตที่ไม่ใช่ทุ่งแต่กำไรสูงสุด แต่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมาภิบาลด้วย (ESG

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

อสังหาฯแห่อัดโปรปั๊มยอดโค้งสุดท้ายหวังเพิ่มภาพคล่องหลังQ3/67ยอดขายหด

นางสาวพชร ประพันธ์วัฒนะ กรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คอนโดมิเนียม บริษัท แอสเซทไ...

“เลือกตั้งสหรัฐฯ เข้าโค้งสุดท้าย ผลกระทบต่อภูมิรัฐศาสตร์โลกและไทย”

อีกประมาณ 20 กว่าวันจะถึงวันเลือกตั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกาขณะนี้คะแนนนิยมของผู้ชิงตำแหน่งประธานาธิบดีขอ...

‘กลุ่มอสังหา’ มรสุมรุมรอบด้าน โบรกชี้ ‘ปฎิเสธสินเชื่อ-หนี้เสียพุ่ง-ดอกเบี้ยสูง-แบงก์เข้ม’

แม้หุ้น “กลุ่มอสังหาริมทรัพย์” ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ถือเป็นหุ้นกลุ่มที่มีความ “โดดเด...

กรมประมง อัดงบ 4.9 ล้าน หนุนทำปลาร้า จากปลาหมอคางดำ

นายบัญชา สุขแก้ว อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการระ...