ASIFMA เผย 'ไทย' รองบ๊วยในเอเชีย ผลจัดอันดับประเทศทำธุรกิจง่าย

สมาคมอุตสาหกรรมหลักทรัพย์และตลาดการเงินแห่งเอเชีย (ASIFMA) เปิดเผยรายงานผลสำรวจความเห็นการทำธุรกิจใน 13 เขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ปี 2566 พบว่า ในหมวดมุมมองต่อเรื่อง "ความยาก-ง่ายในการเข้าไปประกอบธุรกิจ" (Ease of doing business) "ประเทศไทย" อยู่ในอันดับที่ 12 หรือในกลุ่มท้ายตารางโดยเป็นรองเพียงแค่เวียดนามเท่านั้น และผลการจัดอันดับของไทยยัง "ลดลงต่อเนื่องทุกปี" จากอันดับ 9 ในปี 2565 และอันดับ 5 ในปี 2564 ซึ่งเป็นการสำรวจปีแรกของ ASIFMA

ผลสำรวจระบุว่า ประเทศไทยร่วงลง 3 อันดับจากปีก่อนหน้า และยังเป็นประเทศเดียวในกลุ่มที่มีผลการจัดอันดับด้านนี้ลดลงทุกปี ส่วน "เวียดนาม" อยู่ในอันดับสุดท้ายของตารางมา 3 ปีติดต่อกันไม่เปลี่ยนแปลง ในขณะที่แชมป์สามอันดับแรกได้แก่ "สิงคโปร์ ฮ่องกง และออสเตรเลีย" 

ฮ่องกงนั้นขยับขึ้นมาทวงที่ 2 ได้อีกครั้ง ส่วน "ญี่ปุ่น" หลุดจากท็อป 3 ไปเป็นที่ 5 ในขณะที่ "เกาหลีใต้" ร่วงลง 3 อันดับเป็นที่ 8 หลังจากออกมาตรการห้ามการขายชอร์ตเซลล์เมื่อเดือนพ.ย. 2566 ซึ่งส่งผลกระทบหุ้นทั้งหมดในประเทศ และยังเป็นผลเชิงลบต่อมุมมองเรื่องกฎระเบียบ

จากการประเมินใน 3 ด้านหลักๆ คือ การขยายตลาดด้วยผลิตภัณฑ์เดิม (market development), บรรยากาศในการทำธุรกิจ (operating environment)  และกฎระเบียบ (regulatory) พบว่า ประเทศไทยได้คะแนนรวม 5.38 โดยมีคะแนนน้อยที่สุดในเรื่องบรรยากาศการทำธุรกิจ 

สำหรับการสำรวจมุมมองตลาดเรื่องจุดเด่นที่ดึงดูดนักลงทุนใน 3 ด้านดังกล่าวนั้น พบว่าในหมวด Market development ไทยมีจุดเด่นในด้าน "โครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงิน" โดยเปลี่ยนจากปี 2565 ที่เป็นเรื่องความมั่งคั่งและฐานลูกค้าที่เติบโต 

ส่วนจุดเด่นในด้านบรรยากาศการทำธุรกิจคือ "ความเข้าใจคู่แข่งและมีต้นทุนการทำธุรกิจที่ถูก" ซึ่งต่างจากของสิงคโปร์ที่มีจุดเด่นเรื่องสกิลภาษา หรือของจีนที่เด่นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล

ส่วนในหมวดสุดท้ายเรื่องกฎระเบียบนั้น ไทยมีจุดเด่นเรื่อง "ข้อจำกัดของผลิตภัณฑ์ที่น้อยและการบริการ" ขณะที่ประเทศอื่นๆ เช่น สิงคโปร์มีจุดเด่นเรื่องเกี่ยวกับกฎระเบียบต่อต้านการให้สินบนและการคอร์รัปชั่น

ทั้งนี้ ผลสำรวจดังกล่าวเป็นการสำรวจบริษัทที่เป็นสมาชิกของ ASIFMA ใน 13 เขตเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก ระหว่างเดือน ก.ย.-ธ.ค. 2566 ซึ่ง ASIFMA ระบุว่าเป็นปีที่มีผู้เข้าร่วมมากขึ้น แต่กลับมีมุมมองเชิงบวกต่อทิศทางในอนาคตลดลง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเพียง 40% เท่านั้นที่ตั้งใจจะขยายธุรกิจในตลาดเอเชียแปซิฟิก ซึ่งลดลงถึง 24% เมื่อเทียบกับผลสำรวจในปีก่อนหน้า โดยขอบเขตธุรกิจที่จะขยายยังคงเป็นกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ การจัดการสินทรัพย์ และตราสารหนี้ 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 'ทุเรียนลาว' ยุคใหม่ มาพร้อมรถไฟเร็วสูง-ทุนใหญ่จากจีน

"กระแสตื่นทุเรียน" เพื่อส่งออกตลาดจีนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ในละแวกอาเซียน แต่กรณีของ "ทุเรียนลาว" กำล...

อิสราเอลยืนยันปลิดชีพว่าที่ผู้นำใหม่ฮิซบอลเลาะห์ได้แล้ว l World in Breif

อิสราเอลยืนยันปลิดชีพว่าที่ผู้นำใหม่ฮิซบอลเลาะห์ได้แล้ว อิสราเอลยืนยันในวันอังคาร (22 ต.ค.) ตามเวลาท...

‘รัสเซีย’ไม่แน่ใจว่า‘ทรัมป์’จะเป็นมิตร

ในเดือนพฤศจิกายน 2016 นักการเมืองชาตินิยมสุดโต่งชาวรัสเซีย วลาดิเมียร์ ชีรินอฟสกี้ ตื่นเต้นกับชัยชนะ...

โพลสูสีแต่ทรัมป์‘นำโด่ง’แพลตฟอร์มเดิมพันออนไลน์

แหล่งข่าววงในผู้ติดตามการเคลื่อนไหวของโพลีมาร์เก็ต แพลตฟอร์มเดิมพันแบบไร้ศูนย์กลาง เผยกับสำนักข่าวรอ...