ส่องที่ดินการรถไฟฯ ในกรุงเทพ โอกาสพัฒนา 'เอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์'

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นหนึ่งในหน่วยงานถือกรรมสิทธิ์ที่ดินทั่วประเทศไทยจำนวนมาก โดยในปี 2565 ได้จัดตั้งบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด หรือ บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด เพื่อเข้ามาบริหารที่ดินเหล่านี้ให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้แก่องค์กร

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากในปีดังกล่าว พบว่า ร.ฟ.ท.มีที่ดินศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ทั่วประเทศราว 3.8 หมื่นไร่ รวมมูลค่ากว่า 3 แสนล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.ได้ทยอยถ่ายโอนกรรมสิทธิ์ในสัญญาเช่าที่ดินต่างๆ ไปยัง “เอสอาร์ที แอสเสท” เพื่อนำไปบริหารจัดการต่อ รวมไปถึงการศึกษาพัฒนาที่ดินแปลงใหญ่ที่มีศักยภาพในการเปิดประมูลจัดหาเอกชนร่วมลงทุน (PPP)

โดยเฉพาะในระยะแรกจากแผนแนวทางการดำเนินงานของ บริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด ได้ระบุถึงที่ดินในกลุ่มที่มีศักยภาพสามารถดำเนินการเร่งจัดหาประโยชน์ได้ ได้แก่

กลุ่ม 1 ที่ดินแปลงใหญ่ที่เคยดำเนินการผ่าน PPP จำนวน 669 ไร่ มูลค่าจากราคาประเมิน 34,415.28 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วย

  • โครงการพัฒนาพื้นที่นิคมการรถไฟฯ กม. 11 เชิงพาณิชย์
  • โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีแม่น้ำ
  • โครงการพัฒนาพื้นที่บางซื่อแปลง A

ลุ่ม 2 ที่ดินเปล่าแปลงใหญ่ จำนวน 888 ไร่ มูลค่าจากราคาประเมิน 92,798.40 ล้านบาท ประกอบไปด้วย

  • โครงการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน (เดิม 497 ไร่)
  • โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เชิงพาณิชย์ โซน C
  • โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เชิงพาณิชย์ โซน D
  • โครงการพัฒนาพื้นที่สถานีกลางบางซื่อ เชิงพาณิชย์ โซน B
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ตึกแดง

“วีริศ อัมระปาล” ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า การรถไฟฯ เป็นหน่วยงานที่เรียกว่า “แลนด์ลอร์ด” เป็นเจ้าของที่ดินที่มีศักยภาพหลายแห่ง สามารถนำมาพัฒนาทำประโยชน์ สร้างรายได้ให้องค์กรจำนวนมาก โดยตนเข้ามารับตำแหน่งผู้ว่าการฯ มีเป้าหมายที่จะเร่งเปิด PPP จัดหาเอกชนเข้ามาพัฒนาที่ดินเหล่านี้ รวมไปถึง ร.ฟ.ท.ต้องมองโอกาสในการพัฒนาที่ดินริมทางรถไฟให้สามารถสร้างรายได้ด้วย

ขณะที่นโยบายรัฐบาลในการพัฒนาโครงการเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ ในส่วนของการรถไฟฯ ซึ่งมีที่ดินจำนวนมาก และหลายพื้นที่มีศักยภาพอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ ตนมองว่าหากรัฐบาลมีนโยบายจะนำที่ดินของการรถไฟฯ ไปพัฒนาโครงการเอนเตอร์เทนเมนต์ คอมเพล็กซ์ ก็คงต้องมาศึกษาในรายละเอียด

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...