สรุปน้ำท่วม-ดินถล่ม คร่าชีวิต 29 ราย เตือน 8 โรคระบาด-ภัยที่ต้องระวัง!

แพทย์หญิงจุไร วงศ์สวัสดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ ผู้ช่วยอธิบดีกรมควบคุมโรค และนายแพทย์วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ โฆษกกรมควบคุมโรค ร่วมดำเนินการแถลงข่าวในหัวข้อ “รู้ทันสถานการณ์ จับตาโรคอุบัติใหม่ และภัยสุขภาพจากน้ำท่วม” พร้อมแนะนำวิธีรับมือโรคและภัยสุขภาพในช่วงนี้  โดยภัยสุขภาพจากน้ำท่วม และดินถล่ม

ข้อมูลระหว่างวันที่ 16 สิงหาคม - 8 กันยายน 2567 พบผู้เสียชีวิตรวม 29 ราย จากการจมน้ำ 15 ราย และดินถล่ม 13 ราย ไฟฟ้าช็อต 1 ราย ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อายุ 45-59 ปี (เฉลี่ย45.9 ปี)

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
“รู้ทันสถานการณ์ จับตาโรคอุบัติใหม่ และภัยสุขภาพจากน้ำท่วม

สำหรับวิธีการป้องกันการจมน้ำ ควรอพยพไปยังพื้นที่สูง ไม่ควรขับรถผ่านบริเวณที่มีน้ำท่วม ระดับน้ำเพียง 6 นิ้ว สามารถทำให้รถเสียหลักล้มได้ สำหรับดินถล่มแนะ

  • อพยพทันทีไปตามเส้นทางที่ปลอดภัยให้พ้นจากการไหลของดิน อย่างน้อย 2-5 กิโลเมตร
  • หลีกเลี่ยงเส้นทางน้ำเชี่ยว ควรอยู่ห่างลำน้ำ ป้องกันดิน หิน ต้นไม้ ที่อาจไหลตามน้ำมา
  • เมื่อพลัดตกน้ำ ให้หาจุดยึดเกาะและปีนให้พ้นน้ำ ทั้งนี้ในช่วงฤดูฝนนี้ ควรติดตามข้อมูลข่าวสารสภาพอากาศตลอดเวลา

โรคภัยที่ควรระวังในช่วงนี้

  • โควิด 19

แนวโน้มผู้ป่วยลดลง สายพันธุ์ที่พบระบาดมากหลักในปัจจุบัน คือ JN.1 ข้อมูลวันที่ 7 มกราคม - 7 กันยายน 2567 มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 38,236 ราย เสียชีวิต 201 ราย โดยระหว่างวันที่ 1-7 กันยายน 2567 พบผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล 314 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้เสียชีวิตเป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว

  • ไข้หวัดใหญ่

แนวโน้มผู้ป่วยลดลง สายพันธุ์ที่พบมากที่สุดคือสายพันธุ์ A/H1N1(2009) ข้อมูลวันที่ 1 มกราคม - 31 สิงหาคม 2567 พบผู้ป่วยสะสม 468,631 ราย ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็กเล็กและวัยเรียน พบผู้เสียชีวิต 36 ราย เป็นกลุ่มอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยผลการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง ปี 2567 จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 4,170,210 คน มีผู้เข้ารับบริการ 3,802,584 คน คิดเป็นร้อยละ 91 ขอเน้นย้ำให้ประชาชน ผู้ปกครอง และผู้สูงอายุ ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ยังคงเฝ้าระวัง และตระหนักในการใช้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ และดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลอย่างเคร่งครัด เมื่อมีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก ต้องสวมหน้ากากอนามัย และล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่น โดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัว และไปรับการรักษาจากแพทย์ หยุดพักรักษาตัวจนกว่าจะหายเป็นปกติ

  • ไข้เลือดออก

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 4 กันยายน 2567 พบผู้ป่วย 72,157 ราย พบมากสุดในกลุ่มวัยเรียน มีผู้เสียชีวิต 71 ราย เป็นกลุ่มผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว จึงขอเน้นย้ำมาตรการ สำรวจทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ควบคุมยุงพาหะ วินิจฉัยและการรักษาที่รวดเร็ว และสื่อสาร เน้นงดจ่ายยากลุ่ม NSAIDs ให้แก่ผู้ป่วยที่สงสัยเป็นโรคไข้เลือดออก (อาจก่อให้เกิดอันตรายเลือดออกในทางเดินอาหาร) และขอแนะนำให้ประชาชนทายากันยุงเพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ถูกยุงกัด รวมถึงผู้ป่วยไข้เลือดออกให้ทายากันยุงด้วยเช่นกัน เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไข้เลือดออกสู่บุคคลในครอบครัวและชุมชน

  • ฝีดาษวานร

สถานการณ์ทั่วโลก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2567 ผู้ป่วยสะสม 102,997 ราย เสียชีวิต 223 ราย เป็นกลุ่มอายุ 30-39 ปี (41%) ส่วนใหญ่เป็นเชื้อฝีดาษวานร Clade II ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย สำหรับสถานการณ์ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2565 – 6 กันยายน 2567 พบผู้ป่วยสะสม 835 ราย เป็นกลุ่มอายุ 30-39 ปี (42%) และเสียชีวิต 13 ราย (1.6%) พบติดเชื้อเอชไอวีทั้ง 13 ราย  ส่วนการติดตามการรักษาผู้ป่วยฝีดาษวานร Clade Ib ที่พบเป็นผู้ป่วยนำเข้ารายแรกของประเทศไทย ขณะนี้รักษาหายสามารถกลับบ้านได้แล้ว และจากการติดตามอาการกลุ่มเสี่ยงใกล้ชิดผู้ป่วยรายนี้จำนวน 43 ราย ขณะนี้ครบ 21 วัน ไม่พบผู้ป่วยเพิ่มเติม

ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการเฝ้าระวังโรคฝีดาษวานรทั้ง 2 สายพันธุ์ และจับตาสถานการณ์การระบาดในประเทศแถบแอฟริกาอย่างต่อเนื่อง

  • ไข้ฉี่หนู

เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน สัตว์รังโรคที่สำคัญ ได้แก่ หนู หมู วัว ควาย แพะ แกะ สุนัข ติดต่อได้โดยการสัมผัสกับปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ สัมผัสกับน้ำหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อ และการกินอาหารที่ปนเปื้อนปัสสาวะสัตว์ ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 3 กันยายน 2567 พบผู้ป่วย 2,452 ราย กลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ 55-64 ปี (20.5%) อาการเริ่มแรกจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ อาเจียน ต่อมาอาจมีตัวเหลือง ตาเหลือง ไอเป็นเลือด และเสียชีวิต ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเสี่ยง คือ การเดินลุยน้ำย่ำโคลน โดยไม่สวมรองเท้าบูท หรือลงแช่แหล่งน้ำ ที่มีเชื้อปนเปื้อน และพบผู้เสียชีวิต 26 ราย สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไปพบแพทย์ช้า และซื้อยามารับประทานเอง

ช่างภาพพีพีทีวี
น้ำท่วม

  • โรคเมลิออยด์ (ไข้ดิน)

พบเชื้อได้ในแหล่งน้ำและดินตามธรรมชาติ สถานการณ์ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 3 กันยายน 2567 พบผู้ป่วย 2,399 ราย เสียชีวิต 68 ราย  ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัว ซึ่งจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มสูงขึ้นในปีนี้ พบผู้ป่วยมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เชื้อสามารถเข้าได้ทางผิวหนังโดยการสัมผัสดินและน้ำเป็นเวลานาน การกิน หรือดื่มน้ำไม่สะอาด และการหายใจเอาละอองฝุ่นดินเข้าไป จะมีอาการไข้ ไอเรื้อรัง ฝีที่ผิวหนัง ปวดท้อง ปวดข้อ และกระดูก โดยทั่วไปอาการมักปรากฏขึ้นใน 2-4 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ หากติดเชื้อในกระแสเลือด แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที มีโอกาสเสียชีวิตใน 1-3 วัน

  • ไข้หูดับ

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Streptococcus suis เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน คนมักติดเชื้อจากการกินเนื้อหมูดิบ สุกๆดิบๆ หรือติดเชื้อผ่านทางบาดแผล พบผู้ป่วยมากในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม และช่วงเดือนเทศกาลที่มีการรวมตัวกันทุกปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่อายุ 65 ปีขึ้นไป และตั้งแต่ต้นปีพบผู้เสียชีวิตรวม 44 ราย ส่วนใหญ่มี โรคประจาตัวคือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอื่นๆ ที่ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน วิธีป้องกันคือ ไม่กินเนื้อหมู เลือดดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เลือกซื้อเนื้อหมูจากแหล่งขายที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้ หลังสัมผัสเนื้อหมูให้ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้ง หากมีแผลที่มือ ห้ามสัมผัสเนื้อ เครื่องใน เลือดหมูโดยตรง ไม่เก็บเนื้อหมูและส่วนอื่นๆ ในภาชนะเดียวกันเพื่อป้องกันการปนเปื้อน ไม่ใช้เขียง มีด ตะเกียบและอุปกรณ์ทำอาหารกับเนื้อหมูดิบและอาหารปรุงสุกร่วมกัน ไม่นำซากหมูป่วยตายมาปรุงอาหารหรือจำหน่ายโดยเด็ดขาด หากพบว่ามีอาการป่วยสงสัย โรคไข้หูดับ คือ มีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ อาเจียน ท้องเสีย การได้ยินลดลง ร่วมกับประวัติเสี่ยง ขอให้รีบไปพบแพทย์ทันทีและแจ้งประวัติการกินหมูดิบและสัมผัสเนื้อหมูดิบให้ทราบ จะช่วยลดอัตราการเกิดหูหนวกและลดการเสียชีวิตได้

  • โรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษในสถานศึกษา

พบเหตุการณ์ระบาด 43 เหตุการณ์ จำนวนผู้ป่วย 3,244 ราย อาการโรคคือ คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระร่วง ปวดท้อง บางรายอาจมีไข้ ปวดศีรษะ และปวดเมื่อยตามตัว สาเหตุของการระบาดมาจากขาดการสุขาภิบาลที่ดี (40%) อาหารค้างมื้อปรุงประกอบไว้นานเกิน 2 ชม. (20%) และเก็บรักษาวัตถุดิบอาหารไม่เหมาะสม (20%) คำแนะนำสำหรับสถานศึกษา ให้ความรู้เรื่องการสุขาภิบาลอาหารควบคุมการให้บริการอาหารนักเรียน ให้เป็นไปตามมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารของกรมอนามัย ตรวจสอบอุปกรณ์จ่ายน้ำให้พร้อมใช้งานไม่ชำรุด รวมถึงดูแลรักษาความสะอาดเครื่องกรองน้ำ เปลี่ยนไส้กรองตามรอบที่กำหนด 

และขอให้ ยึดหลัก “สุก ร้อน สะอาด” กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ อาหารปรุงสุกที่เก็บไว้นานเกิน 2 ชม. ต้องอุ่นร้อน   ให้ทั่วถึง ภาชนะที่ใช้สำหรับอาหารที่ปรุงสุกแล้ว ควรแยกจากอาหารหรือวัตถุดิบที่ยังไม่ปรุง เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค ล้างมือด้วยสบู่และน้ำให้สะอาดทุกครั้ง ทั้งก่อนกินอาหาร หลังเข้าห้องน้ำหรือสัมผัสสิ่งสกปรก บริโภคน้ำดื่ม น้ำแข็ง ที่สะอาดได้มาตรฐาน มีเครื่องหมาย อย.

  • วิดีโอยอดนิยม
  • เรื่องที่คุณอาจพลาด
00:17

มวลน้ำทะลัก! น้ำท่วมเชียงราย ออกจากถ้ำหลวง - ขุนน้ำนางนอน | PPTV Online

25:39

คลิปเสียงหลุดสนั่นเมือง "ลุงอยากเป็น No.1" | เข้มข่าวค่ำ | 11 ก.ย. 67

05:32

เปิดนาที! ช่วยลุงเต็นท์แดง น้ำท่วมแม่สาย | PPTV Online

04:35

ผู้ว่าฯ เชียงราย เผยต้องการ "เรือยาง" ช่วยชาวบ้านน้ำท่วม | เที่ยงทันข่าว | 11 ก.ย. 67...

09:50

"สามารถ" ไม่เชื่อเสียง "ลุงป้อม" เปิดคลิป AI โชว์นักข่าว | The Expose Highlight

04:22

กัน จอมพลัง ประสานแชมป์โลกเจ็ตสกีช่วยผู้ประสบภัย | เที่ยงทันข่าว | 11 ก.ย. 67

ยอดผู้เสียชีวิตไต้ฝุ่น “ยางิ” ในเวียดนาม พุ่งเกิน 150 ราย

โปรแกรมบอลไทยลีก 1 ฤดูกาล 2024-2025 แมตช์วีค 6 พร้อมเวลาแข่งขัน

"โปเช็ตติโน่" นั่งเก้าอี้กุนซือทีมชาติสหรัฐอเมริกาคนใหม่ เตรียมลุยบอลโลก

กรมราง เปิดสาเหตุ “ดินถล่ม” ภายในอุโมงค์คลองไผ่

“เทย์เลอร์ สวิฟต์” ประกาศหนุน “แฮร์ริส” หลังศึกดีเบต

โจนาธาร ปลื้มได้ประเดิมทีมชาติไทย คว้าชัยเหนือเวียดนาม

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...