ภารกิจเร่งด่วน ‘แก้หนี้‘ ทั้งระบบ แก้หนี้เรื้อรัง 3เดือน 4.2พันราย ต่ำเป้า

ภายใต้วาระเร่งด่วนของ “รัฐบาล” ที่เตรียมจะแถลงในเร็วๆ นี้ หนึ่งในนั้นที่เป็นโจทย์ที่ยากและสำคัญคือ การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนไทย หนี้เอสเอ็มอี หนี้ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว รายได้ยังไม่กลับมาฟื้นตัวตั้งแต่โควิด-19

ส่งผลให้หนี้ครัวเรือนไทยปัจจุบันสูงถึง 16 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นกว่า 90% ต่อจีดีพี

ปัญหาที่ตามมาจากการมีหนี้ที่อยู่ระดับสูง คือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ เอ็นพีแอล ในระบบที่ปรับตัวสูงขึ้นตามมา

ดังนั้น ภารกิจเร่งด่วนของรัฐบาลครั้งนี้คือการผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ โดยเฉพาะกลุ่มสินเชื่อบ้านสินเชื่อรถ ช่วยเหลือลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ภายใต้การไม่สร้างแรงจูงใจให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้ หรือ Moral Hazard ของผู้ที่มีภาระหนี้สิน โดยภาครัฐมีแผนในการแก้หนี้ต่างๆผ่านธนาคารเฉพาะกิจ ธนาคารพาณิชย์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ หรือ (AMC)

ไม่แปลกใจ ที่รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้อย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างหนี้ เพราะแม้ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะเร่งผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์​ธนาคารของรัฐและผู้ให้บริการที่ไม่ใช่สถาบันการเงินหรือนอนแบงก์เร่งปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ แม้จะเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังไม่มากในระดับที่น่าพอใจนัก หากเทียบกับ “หนี้ที่มีปัญหา” ในระบบขณะนี้

หรือภายใต้มาตรการแก้หนี้เรื้อรัง เพื่อหวังให้ลูกหนี้สามารถปิดจบหนี้ได้ภายใน 5 ปี โดยให้แบงก์ลดดอกเบี้ยเพื่อจูงใจลูกหนี้ในการเข้าโครงการเหลือเพียง 15% ก็ต้องยอมรับว่า ยังไม่ถึงเป้าหมายของธปท. และจะเรียกว่า “น้อยมาก”

เพราะหากนับตั้งแต่วันเริ่มโครงการเมื่อเม.ย. เป็นต้นมา จนถึงมิ.ย. 2567 พบว่ามีลูกหนี้เข้าโครงการเพียง 4,259 บัญชี หรือคิดเป็นยอดหนี้รวมเพียง 205.62 ล้านบาท หากเทียบกับยอดลูกหนี้ที่เข้าข่ายเป็นหนี้เรื้อรังทั้งสิ้นกว่า 4.8 แสนบัญชี ซึ่งคิดเป็นยอดเงินรวมกว่า 7 หมื่นล้านบาท

จึงเป็นสาเหตุให้ธปท. ต้องแก้เกณฑ์ “แก้หนี้เรื้อรัง” เพื่อจูงใจให้ลูกหนี้เข้าโครงการมากขึ้น เช่นการขยายระยะเวลาในการปิดจบหนี้จากภายใน 5 ปี เป็นภายใน 7 ปี เพื่อลดค่างวดต่อเดือนให้ลูกหนี้ และผ่อนคลายโดยการให้ลูกหนี้มีโอกาสคงวงเงิน Revolving ส่วนที่ยังไม่ได้ใช้ เพื่อให้ลูกหนี้มีสภาพคล่องไว้เผื่อสถานการณ์ฉุกเฉิน จากเดิมที่ กำหนดว่าเมื่อลูกหนี้เข้าโครงการวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนที่เหลือจะต้องปิดไปทันที ไม่สามารถใช้วงเงินเดิมได้

นอกจากนี้ หากดูยอดลูกหนี้ที่เข้าสู่โครงการ “คลินิกแก้หนี้” พบว่าตั้งเปิดให้บริการจนถึง มิ.ย. 67 มียอดลูกหนี้สะสม ที่ผ่านเข้าโครงการคลินิกแก้หนี้เพียง 1.3 แสนบัญชี หรือคิดเป็น 4.76 หมื่นลูกหนี้เท่านั้น

ซึ่งถือว่ายอดลูกหนี้ที่เข้าโครงการยังต่ำมากหากเทียบกับลูกหนี้ที่เป็น “หนี้เสีย” ผ่านบัตรเครดิตแล้วที่ปัจจุบันมีอยู่ 1.08 ล้านบัญชี และมีบัญชีที่มีหนี้เสียจาก “สินเชื่อบุคคล” หรือพีโลนถึง 5.07 ล้านบัญชี รวมบัญชีที่เป็นหนี้เสียทั้งหมดกว่า 6 ล้านบัญชี

“กอบศักดิ์ ภูตระกูล” ประธานกรรมการ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงนั้นการใช้นโยบายการเงินเข้ามาดูแลช่วงนี้ ความจำเป็นอาจจะน้อยลงเนื่องจากมองว่า ธปท.ยืนดอกเบี้ยที่ระดับ 2.5% เพื่อประคองเศรษฐกิจไทยไว้ในช่วงที่รอเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัว ซึ่งระดับดอกเบี้ยนโยบายที่เหมาะสมอยู่ที่ 2-2.5% อาจจะลดดอกเบี้ยลงได้เล็กน้อยเท่านั้น

ดังนั้น กรณีปัญหาหนี้ครัวเรือนยังสูง ซึ่งปัญหากระจุกตัวเฉพาะกลุ่ม ในกลุ่มเอสเอ็มอีที่ยังไม่สามารถเปลี่ยนผ่านไปได้และกลุ่มเปราะบาง กลุ่มลูกหนี้รถยนต์และบ้าน เริ่มมีสัญญาณ “หนี้เสียเพิ่มขึ้น” ซึ่งต้องได้รับการบริหารจัดการ

โดยมองว่าตอนนี้แบงก์อยู่ในฐานะมีกำลัง มีกำไร สามารถช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มที่กำลังมีปัญหาได้ เริ่มจากแบ่งกลุ่ม ลูกค้า 3 ส่วนกลุ่มเข้มแข็ง เป็นกลุ่มรายใหญ่ ที่มีความสามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ นำไปช่วยสนับสนุน กลุ่มอ่อนแอ (เอสเอ็มอี) และกลุ่มเปราะบาง (รายย่อย) ที่จ่ายดอกเบี้ยไม่ได้

หลังจากนี้ ทั้งแบงก์, หน่วยงานภาครัฐ และรัฐบาล คงจะต้องหารือกันจัดทำโครงการดีๆ เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้รายย่อยและเอสเอ็มอี ที่ยังกระจุกตัวเป็นเฉพาะกลุ่ม ซึ่งเม็ดเงินที่จะใช้จัดการไม่ได้มากและกระทบกำไรแบงก์ไม่มากนัก

“ภาครัฐสามารถช่วยได้ คือการสนับสนุนเอสเอ็มอี เรื่องของนำดิจิทัลเทคโนโลยีมาสนับสนุนธุรกิจในช่วงเปลี่ยนผ่านหลังโควิดและโลกกำลังเข้ายุคใหม่ ที่แข่งขันเทคฯ และธุรกิจสีเขียว ยกลุ่มเปราะบาง บ้านรถ หาวิธีการจัดการหนี้กลุ่มนี้ให้ดีขึ้น”

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...