'EEC' ดึงเอกชนลงทุน 'TOD' 6.4 หมื่นล้าน ชูโมเดลชุมชนร่วมพัฒนาที่ดิน

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีชี เปิดเผยประเด็นใหม่ ในระหว่างนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ว่า ได้วางแนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ของรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ที่ประกอบด้วย 9 สถานี โดยจะสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพื้นที่ชุมชน และสังคม ใน 2 สถานี คือ สถานีฉะเชิงเทรา และสถานีพัทยา และจะประกาศให้เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อส่งเสริมการลงทุนด้วย

สำหรับการพัฒนา TOD บริเวณสถานีจะเชิงเทรา พื้นที่ 321 ไร่ มีแนวคิดการ พัฒนารวม 9 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 18,980 ล้านบาท อาทิ ระยะเร่งด่วน โครงการศูนย์สนับสนุนการเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง ระยะสั้น (5 ปี) โครงการศูนย์ธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ ร้านค้าชุมชน (OTOP) โครงการที่อยู่อาศัยขั้นดี อาคารสำนักงาน(home office) ระยะยาว (10 ปี) โครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ โรงแรมย่านการค้า เป็นต้น

ส่วนการพัฒนา TOD สถานีพัทยา พื้นที่ 280 ไร่ มีแนวคิดพัฒนารวม 7 โครงการ เงินลงทุนประมาณ 46,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ระยะสั้น (1-5 ปี)โครงการศูนย์ขนส่งต่อเนื่อง (ITF) แบบ Mixed Use Complex ระยะยาว (6-10 ปี) โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยย่านพาณิชยกรรมใหม่ ศูนย์การประชุมและแสดงสินค้า (NICE) เป็นต้น

"ที่จริงเรื่องรูปแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟเป็นการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข.มานานแล้ว แต่ไม่มีเจ้าภาพ ในครั้งนี้ สกพอ.จะเป็นเจ้าภาพหรือท้าวแชร์ให้เอง โดยรวบรวมเจ้าของที่ดินมาร่วมโครงการ และดึงภาคเอกชนมาเป็นผู้ลงทุน  ที่ผ่านมา 2 ปี ทาง สกพอ.ได้รับฟังความคิดเห็นแนวทางการพัฒนา TOD เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐ เอกชนในพื้นที่ และชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง โดยกว่า 80% สนใจเข้าร่วมโครงการ"

ดังนั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้เดินหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินเมื่อไหร่ ก็ต้องรีบทำ เพราะราคาที่ดินจะขึ้นอีก 20-30% พอรถไฟเชื่อมสามสนามบิน เกิดขึ้นเมื่อไหร่ราคาที่ดินก็จะขึ้นอีกเป็น 100% ซึ่งการทำรูปแบบนี้จะทำให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดินในปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่นา ได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ จะมีรายได้จากการเอาที่ดินมาเข้าร่วมพัฒนาไปโดยตลอด โดยไม่ต้องขายที่ดินให้ตกไปอยู่ในมือของนายทุน

ส่วนขั้นตอนดำเนินงาน ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเสนอ คณะกรรมการ กพอ. เพื่อเห็นชอบ (ร่าง) แผนผังการใช้ประโยชนที่ดิน บริเวณรอบสถานีเขตส่งเสริมเศรษฐกิจ โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ดังกล่าว และคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี ตามขั้นตอนต่อไป

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...