ว่าด้วยจริยธรรมและจรรยาบรรณของธุรกิจเอสเอ็มอี

แต่ในบริบทของการบริหารธุรกิจ จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจไม่ได้เป็นเรื่องที่เปิดกว้างโดยไม่มีขอบเขตจำกัดที่จะนำมาถกเถียงหรือเปรียบเทียบกันได้ แต่จะมีกฎเกณฑ์และกรอบการปฏิบัติทั่วไปที่กำหนดว่าจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจมีแนวทางกำหนดไว้ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยจะครอบคลุมเนื้อหาที่เป็นสาระสำคัญไว้ เช่น

1) ความซื่อสัตย์สุจริตและการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามหลักศีลธรรมและประเพณีอันดีงามของประเทศชาติและศาสนา (Integrity) เช่น ไม่ฉ้อโกง ไม่หลบเลี่ยงหรือละเลยที่จะปฏิบัติตามสัญญาและข้อตกลงทางธุรกิจ หรือไม่ใช้ข้อความโฆษณาที่เป็นเท็จ ฯลฯ

2) ความยุติธรรมต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจ (Fairness) เช่น การให้โอกาสที่เท่าเทียม การไม่เลือกปฏิบัติ การไม่เข้าข้างลำเอียง ต่อ พนักงาน ลูกจ้าง ลูกค้า คู่ค้า ผู้รับเหมาเช่าช่วง ฯลฯ รวมถึงการให้คุณค่า พิจารณาสิทธิ และความคิดเห็นต่างๆ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

3) ความโปร่งใส (Transparency) เช่น การเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นความจริง การดำเนินธุรกิจตามกฎหมายหรือกฎระเบียบข้อบังคับ และข้อกำหนดทางธุรกิจ ที่ถูกต้องเป็นจริงและตรงตามกำหนดเวลา การทำให้ผู้มีส่วนได้เสียเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้ง่าย เช่น การรายงานทางการเงิน ข้อมูลผลิตภัณฑ์และการบริการ โอกาสในการเกิดผลประโยชน์ที่ขัดแย้งกัน ฯลฯ

4) ความรับผิดชอบ (Accountability) เช่น การประกาศยอมรับความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของผู้บริหารของธุรกิจ การแก้ไขเยียวยาผลกระทบที่เกิดจากธุรกิจที่มีต่อ ผู้บริโภค พนักงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในระดับกฎหมายและระดับกฎระเบียบและข้อบังคับ

5) ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) เข่น มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจที่ทำ มีมาตรฐานการทำธุรกิจและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การสร้างหรือดำเนินตามหลักปฏิบัติที่ดีที่สุด (Business Best Practices) การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด การสร้างความน่าเชื่อถือไว้วางใจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนส่วนเสียของธุรกิจ และผู้บริโภคโดยรวม

6) ความรับผิดชอบต่อความยั่งยืน (Sustainability) เช่น การดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจในระยะยาว การดำเนินการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคมโดยส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสังคมและชุมชน การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส ฯลฯ

ขอบเขตโดยรวมและเป็นพื้นฐานสำคัญเบื้องต้นของการแสดงจริยธรรมธุรกิจเหล่านี้ จะนำไปประยุกต์ใช้ในระดับปฏิบัติของแต่ละธุรกิจได้ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือธุรกิจเอสเอ็มอีอย่างเป็นรูปธรรมได้โดยการกำหนดหรือเขียนเป็น “จรรยาบรรณธุรกิจ” ของแต่ละบริษัท ซึ่งจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและมีการประกาศให้ทราบอย่างเปิดเผยโดยทั่วกัน

จรรยาบรรณธุรกิจ ของแต่ละบริษัทไม่จำเป็นที่จะต้องเหมือนกัน แต่จะบอกว่าบริษัทแต่ละแห่งจะดำเนินการด้านจริยธรรมธุรกิจอย่างไรที่เป็นเฉพาะของตนเอง และอาจแก้ไขเพิ่มเติมให้ดีขึ้นหรือครอบคลุมการดำเนินการด้านจริยธรรมของธุรกิจให้กว้างขวางขึ้นได้ตลอดเวลา เพื่อสร้างการแข่งขันด้านจริยธรรมของธุรกิจไทยให้เข้มแข็งขึ้นตลอดเวลา

จรรยาบรรณธุรกิจ และการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามจรรยาบรรณธุรกิจที่ธุรกิจได้ประกาศไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นการบอกให้ทราบระดับและความแตกต่างทางด้านจริยธรรมของแต่ละธุรกิจ ได้โดยไม่ต้องถกเถียงกันว่าใครทำธุรกิจอย่างมีจริยธรรมหรือไม่ อย่างไร

ด้วยแนวคิดนี้ ธุรกิจเอสเอ็มอี จึงไม่ต้องและไม่ควรที่จะไปลอกเลียนจรรยาบรรณธุรกิจของธุรกิจขนาดใหญ่ที่เห็นว่าเขียนไว้เพราะและเข้าท่าดี แต่ธุรกิจของตนไม่สามารถทำเหมือนธุรกิจขนาดใหญ่ได้!!??!!

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

เยี่ยมชม ‘ลาซา’ เมืองแห่งศรัทธา มี ‘ภาพทังก้า’ เป็นซอฟต์พาวเวอร์

หลังจากเรียนรู้ประวัติศาสตร์ สัมผัสธรรมชาติ และสูดอากาศบริสุทธิ์จากเมืองหลินจือ เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่...

โลกเดือด! ดันตลาด 'นอนวูฟเวน' โต ไทยยึดเบอร์ 1 ภูมิภาค

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ชี้อุตสาหกรรมนอนวูฟเวน ในตลาดโลกโตแรงไม่หยุดกว่า 8.7% ต่อปี โดยไทยเป็นผู...

"APAC Tower"มิกซ์ยูสใหม่!สี่แยกเอกมัย ออฟฟิศเกรดA+คว้า Fitwelระดับสูงสุด

"เอแพค ทาวเวอร์"อาคารสำนักงาน นับเป็นอีกหนึ่งโครงการมิกซ์ยูสบนทำเลศักยภาพริมถนนสุขุมวิท-เอกมัย หัวมุ...

หุ้นสหรัฐปิดบวกนิวไฮ รับผลประกอบการกลุ่มแบงก์แข็งแกร่ง

ดัชนีดาวโจนส์และดัชนี S&P500 ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกที่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในวันศุกร์ (11 ...