ก้าวไกล เปิด “ทฤษฎี 3 ล็อก” ปม กทม. จัดซื้อเครื่องออกกำลังกายแพงเกินจริง

“แบงค์ ศุภณัฐ” สส.ก้าวไกล แถลงทฤษฎี 3 ล็อก ปม กทม. จัดซื้อเครื่องออกกำลังกายแพงเกินจริง ลั่น จะปฏิเสธไม่ทราบข้อมูลไม่ได้ ด้าน “วิโรจน์” หวัง “ผู้ว่าฯ ชัชชาติ” แจงได้ มีกระบวนการทุจริตหรือไม่

วันที่ 29 กรกฎาคม 2567 นายศุภณัฐ มีนชัยนันท์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) กรุงเทพมหานคร พรรคก้าวไกล แถลงถึงกรณีกรุงเทพมหานคร (กทม.) จัดซื้อเครื่องออกกำลังกายที่แพงเกินจริง หลังจากครบกำหนดการตั้งกรรมการสอบสวนแล้ว แต่ยังไม่ได้ฟันธงว่ามีการทุจริตในโครงการหรือไม่ ว่า เครื่องออกกำลังกายแพงเกิดจากทฤษฎี 3 ล็อก 

ล็อกที่ 1 คือ ล็อกสเปก ยกตัวอย่าง มีการกำหนดคุณสมบัติเครื่องออกกำลังกายใน TOR ให้ตรงกับคุณสมบัติเครื่องออกกำลังกายของบริษัทหนึ่ง เช่น กำหนดคุณสมบัติเฉพาะ และยังมีการกำหนดให้ใช้ได้ทั้งหมด 23 ภาษา ซึ่งตนไม่แน่ใจว่าจะเอาภาษาอะไรมากมายขนาดนี้ไปให้ใครใช้

ล็อกที่ 2 คือ ล็อกสืบราคา ในความผิดปกติของโครงการลู่วิ่ง 759,000 บาท จะมีการสืบราคาจาก 3 เจ้าเดิมทุกโครงการ และมักจะกำหนดราคาให้สูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ 3 เจ้าเดิมจะให้ราคาที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นผลมาจากการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายมักจะไม่มีราคากลาง เนื่องจากกรมบัญชีกลางไม่ได้กำหนดเรื่องนี้ไว้ ทำให้เกิดการทุจริตในการจัดซื้อเครื่องออกกำลังกายหลายครั้ง 

...

ล็อกที่ 3 คือ ล็อกผลงาน โดยมีการกำหนดผลงานขายคุรุภัณฑ์ประเภทเดียวกันซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับส่วนราชการให้วงเงินไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาท ซื้อขายกันไว้ให้น้อยกว่า 3 สัญญาระยะเวลานับย้อนหลัง โดยระยะเวลานับย้อนหลังไม่เกิน 4 ปี เป็นการปรับให้พอดีกับเอกชนบางเจ้า ซึ่งเคยเกิดขึ้นแล้วในยุคของอดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โดยพบว่าจาก 10 โครงการ มีล็อกสเปกผลงานถึง 9 โครงการ มาถึงในสมัยของ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนปัจจุบัน ก็พบว่ามีการล็อกสเปก 12 โครงการ จาก 14 โครงการ 

นายศุภณัฐ กล่าวต่อไปว่า กทม. จะปฏิเสธไม่รับทราบข้อมูลดังกล่าวไม่ได้ เนื่องจากที่ผ่านมามีความพยายามร้องเรียนจากบริษัทหนึ่งให้ทบทวน TOR ใหม่ เพราะมีการบังคับให้บริษัทที่มีผลงานจัดซื้อจัดจ้างตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป สามารถเสนอราคาได้ ซึ่งมองว่าไม่เป็นธรรม และยังบังคับให้มีผลงานไม่น้อยกว่า 3 งานเข้าเสนอ ถือเป็นการกีดกันบริษัทเล็ก แต่ กทม. กลับไม่ขอชี้แจงเรื่องดังกล่าว เนื่องจากมองว่าบริษัทที่ขอให้ทบทวน ไม่ได้อยู่ในผู้ร่วมประมูล 

ทางด้าน นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า มีข้อสังเกตและข้อสงสัยอย่างมากในการล็อกสเปก ที่มีทั้งเรื่องของการสืบราคา จากผู้ประกอบการเข้ามาเสนอราคาที่อาจจะเกิดข้อสงสัยว่าให้เอกชนรายรายหนึ่งเข้ามาเพื่อให้อีกรายหนึ่งชนะการประมูล และอีกรายหนึ่งยอมแพ้ มองว่าเป็นเหมือนการแบ่งงานกัน เพราะไม่เคยเปิดราคาไปยังผู้ประกอบการรายอื่นในวงกว้าง อีกทั้งมีการล็อกสเปกเกี่ยวกับฟังก์ชันการใช้งานโดยไม่มีความจำเป็น แถมยังมีการล็อกการเสนอราคาที่เข้ามาประมูลอีก โดยมีการตั้งข้อสังเกตว่าเหมือนเป็นการเติบโตไปด้วยกันหรือไม่ ประมูลครั้งแรกไม่ได้กำหนดเวลาว่าภายใน 1 ปี พอเริ่มประมูลก็เริ่มล็อกว่า 1 ปี 2 ปี และไปไกลจนถึง 4 ปี เพื่อกันไม่ให้เอกชนรายอื่นเข้ามาร่วมเสนอราคาด้วย 

ขณะเดียวกัน นายวิโรจน์ ยังแนะนำให้ข้าราชการสืบราคาจริงจากท้องตลาดหรือราคาซื้อขายว่าราคาอยู่ที่เท่าไร และราคาที่ประมูลในครั้งนี้แพงจริงหรือไม่ เชื่อว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก หากข้าราชการให้ความร่วมมือ อีกทั้งหวังว่าพรุ่งนี้ (30 กรกฎาคม 2567) นายชัชชาติ ในฐานะที่เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จะเฉพาะเจาะจงได้ว่ากระบวนการการทุจริตนั้นมีหรือไม่ และอยู่ที่มีใครเกี่ยวข้องบ้าง

นายวิโรจน์ ยังได้อธิบายต่อไปด้วยว่า ความหมายของ “งบแปร” หากเป็นงบที่ดี สมาชิกกรุงเทพมหานคร (สก.) ก็จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับงบประมาณ เพราะถือเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร แต่ สก. จะเข้าไปทำหน้าที่กำกับดูแลโครงการที่ใช้งบประมาณของโครงการว่ามีการดำเนินการเร่งด่วน รวดเร็ว และมีความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างหรือไม่ แต่งบแปรในมุมไม่ดี ก็จะเป็นปัญหา อย่างวันที่ 30 กรกฎาคม ที่จะมีการพิจารณาวาระของกรุงเทพมหานคร หากคิดในทางที่ไม่ดีจะมีสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร กลุ่มนึงรวมตัวกันและเข้าไปกดดันข้าราชการ เพราะผู้อำนวยการเขต ก็จะล็อกเฉพาะผู้รับเหมาของตัวเอง อย่างการ ซื้อถังดับเพลิง อุปกรณ์กันยุง ซึ่งแต่ละปี มีเงินทอนไปสู่นักการเมืองท้องถิ่น 400-1,000 ล้านบาทต่อปี 

ดังนั้นจึงมองว่า เมื่อผู้ว่าฯ กทม. ไม่มี สก.ในสังกัด ก็จะถูกความกดดันนี้อยู่เรื่อยไป ซึ่งเชื่อว่าเครื่องออกกำลังกายที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ไม่ใช่งบประมาณจากผู้ว่าฯ กทม. ตั้งแต่แรก แต่เป็นของกลุ่ม สก. ที่รวมตัวกัน ซึ่งผู้ว่าฯ กทม. ก็ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ อย่างไรก็ตาม นายวิโรจน์ ยังได้ตั้งข้อสังเกตและยอมรับว่ากังวลกับงบประมาณ กทม. ที่มี สก.บางกลุ่ม ทำตัวเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ หรือฮั้วกับข้าราชการกลุ่มก่อนในการล็อกสเปกเพื่อให้ผู้ค้าในเครือข่ายของตนเองและทอนเงินให้กับกลุ่มนั้น รวมทั้งอาจจะจัดสรรเงินทอนบางส่วนให้ข้าราชการที่ยอมเป็นลูกสมุนให้ นี่คือปัญหาของทั้งหมด.

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ทำความรู้จัก ‘6G’ คลื่นความถี่ AI แรงกว่าเร็วกว่า 5G เป็น 100 เท่า

ต้องยอมรับว่าปัจจัยหนึ่งที่คอยขับเคลื่อนหรือหล่อเลี้ยงโลกของเรานั้นคือ อินเทอร์เน็ต ซึ่งก่อให้เกิดเท...

ตุยแล้ว ‘ข้อมูลดิจิทัล’ ไปไหน? ผู้คนหวั่นตัวตนดิจิทัลโดนขโมยหลังเสียชีวิต

เมื่อผู้ใช้โต้ตอบออนไลน์กันมากขึ้น แน่นอนว่า "ร่องรอยทางดิจิทัล" ก็ขยายตัวขึ้น ดังนั้นความกังวลเกี่ย...

ทำบ้านเป็น "โฮมสเตย์" อย่าชะล่าใจเรื่องภาษี

ตามความหมายของคำว่า "โฮมสเตย์" คือ บ้าน ที่อยู่อาศัยของเจ้าของบ้านที่นำมาให้นักท่องเที่ยวเข้าพักค้าง...

"เยอร์เกน คลอปป์" หวนทำหน้าที่กุนซืออีกครั้ง พาทีมคว้าชัยนัดพิเศษของ ดอร์ทมุนด์

เยอร์เกน คลอปป์ หวนทำหน้าที่กุนซืออีกครั้ง พาทีมคว้าชัยในนัดพิเศษของ โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ เมื่อคืนวั...