ทำความรู้จักภาวะไฮเปอร์เวนทิเลชั่น โรคหายใจเกิน เหตุทำเป็นลมหมดสติ

 

จากกรณีข่าวที่ศึกษาหมดสติหลายราย ภายในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง เขตจตุจักร กทม. เมื่อเวลา 00.10 น. วันที่ 25 กรกฎาคม จู่ๆ ล้มพับหมดสติ ขณะซ้อมเต้นเตรียมโชว์รับน้องใหม่ เบื้องต้นเจ้าหน้าที่กู้ชีพฯ ระบุว่า เกิดจากภาวะไฮเปอร์เวนทิเลชั่น Hyperventilation  หรือโรคหายใจเกิน คือการที่ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเร็วและลึกอยู่นาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของค่าสารเคมีในเลือด ทำให้มีอาการต่างๆ ทางร่างกายติดตามมา อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล หรือได้รับความกดดันทางจิตใจ ก่อนหน้าที่จะมีอาการ ซึ่งอาการดังกล่าว เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิต หากไม่ได้เกิดจากสาเหตุทางกายอื่นๆ

 

 

 

ลักษณะอาการและสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอะไร

ลักษณะอาการที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจหอบเร็ว บ่นหายใจลำบาก หน้ามืด เวียนศีรษะ ใจสั่น อาจพบอาการเกร็ง มือจีบ และอาจมีอาการชาบริเวณรอบปากและนิ้วมือได้ ซึ่งอาการดังกล่าวเกิดจากปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดลดลง ทำให้เกิดการหดตัวของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่สมอง รวมทั้งมีการลดลงของค่าแคลเซียมที่เป็นตัวออกฤทธิ์ในเลือดลดลงด้วย อาการดังกล่าว มักสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล โดยก่อนเกิดอาการอาจพบว่า ผู้ป่วยมักมีปัญหากดดันจิตใจอย่างเห็นได้ชัด เช่น ทะเลาะกับคนใกล้ชิด หรือที่ทำงาน หรือมีปัญหาการเรียน ต้องสอบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าว อาจคล้ายคลึงกับอาการหอบจากสาเหตุทางกายได้หลายสาเหตุ เช่น โรคหอบหืด (asthma) ภาวะหัวใจขาดเลือด ภาวะเป็นกรดในเลือดจากเบาหวาน (diabetic ketoacidosis) และอื่นๆ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการซักประวัติ การตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็น เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการดูแลที่ถูกต้องตามสาเหตุต่อไป

 

คำแนะนำเบื้องต้นสำหรับผู้ที่มีภาวะกลุ่มอาการหายใจเร็วเกินไป

(Hyperventilation Syndrome) เมื่อเกิดอาการขึ้นควรทำดังนี้


1. ไม่ต้องตกใจต่ออาการที่เกิดขึ้น เพราะจะไม่มีอันตรายทั้งสิ้น พยายามควบคุมและตั้งสติโดยหายใจให้ช้าลง


2. ถ้ายังไม่ได้ผลควรใช้วิธีหายใจโดยใช้ถุงกระดาษครอบปากและจมูกไว้ การหายใจแบบนี้เพื่อนำเอาก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กลับคืนสู่กระแสเลือด ช่วยให้เลือดลดความเป็นด่างลงและทำให้แคลเซียมในเลือดกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งจะทำให้มือและเท้าหายจีบเกร็งในที่สุด


3. ญาติหรือคนใกล้ชิดควรทำความเข้าใจว่าผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำ ควรปลอบและให้กำลังใจผู้ป่วย แต่ไม่ควรเอาใจใส่หรือตามใจผู้ป่วยจนเกิดเหตุ


4. ผู้ป่วยควรหาทางป้องกัน ด้วยการเสริมสร้างสุขภาพจิตของตนเองให้แข็งแรงขึ้น ฝึกวิธีเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ และฝึกผ่อนคลาย รวมทั้งการออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายและลดโอกาสเกิดอาการ


5. หากยังไม่ได้ผล อาจต้องพบจิตแพทย์เพื่อรับคำแนะนำในการรักษาหรือพิจารณาเรื่องการใช้ยาช่วยเหลือในการรักษาตามความจำเป็น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

การบริจาคโลหิต ได้มากกว่าการช่วยชีวิตแต่ยังได้สุขภาพที่ดีกลับมาด้วย

ระทึก "นักศึกษา" 11 ราย มหาลัยดัง ซ้อมเต้นรับน้อง เป็นลมหมดสติ เร่งส่ง รพ.

เปิด 7 ประโยชน์ของการดื่มน้ำอุ่นช่วยเรื่องสุขภาพอะไรบ้าง

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Read More

การบริจาคโลหิต ได้มากกว่าการช่วยชีวิตแต่ยังได้สุขภาพที่ดีกลับมาด้วย

Read More

ระทึก "นักศึกษา" 11 ราย มหาลัยดัง ซ้อมเต้นรับน้อง เป็นลมหมดสติ เร่งส่ง รพ.

Read More

เปิด 7 ประโยชน์ของการดื่มน้ำอุ่นช่วยเรื่องสุขภาพอะไรบ้าง

ข่าวยอดนิยม

"ตรวจหวยลาววันนี้" 24/07/67 หวยลาววันนี้ หวยลาวล่าสุด หวยลาว 24 กรกฎาคม 2567

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ทหารอิสราเอลปลิดชีพผู้นำฮามาส ‘ยายาห์ ซินวาร์’ ในกาซา

การสังหารเขาได้ถือเป็นความสำเร็จใหญ่หลวงสำหรับอิสราเอล และเป็นเหตุการณ์สำคัญในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ...

เมเจอร์ร่วมทุนทาคาระ เลเบ็น ผุดมอลตัล รีเสิร์ฟ ปิ่นเกล้ามูลค่า1.3พันล้าน

เพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า เมเจอร์ฯถือว่าเป็นผู้นำใ...

ลงทุนกองทุนต่างประเทศแบบไหนดี ระหว่าง Hedge vs. Unhedge

การลงทุนในกองทุนต่างประเทศ นอกจากต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่มาจากสินทรัพย์ลงทุนแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงไ...

“เงินคู่คลัง” เจาะลึก หุ้นได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยของกนง.

ถือเป็นอีกเรื่องราวสุดเซอร์ไพร์ส หลัง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราด...