'พิมพ์ภัทรา' ขยายเวลาชดเชยดอกเบี้ย 3% หนุนไร่อ้อยซื้อเครื่องจักรลด PM2.5

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ช่วยเหลือ ตลอดจนพัฒนาศักยภาพเกษตรชาวไร่อ้อยให้มีผลผลิตอ้อยที่ดี ได้น้ำตาลทรายที่มีคุณภาพ เพื่อทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศมีคุณภาพที่ดีขึ้น

ล่าสุดได้รับรายงานจาก นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเดินหน้าโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย สำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 และเตรียมขยายโครงการอีกเป็นปี 2568 - 2570 วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวม 6,000 ล้านบาท

นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า ในการประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย สำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ได้มีการหารือถึงการขยายอายุโครงการฯ เนื่องจากกำลังจะหมดอายุในเดือนกันยายน 2567 นี้

และที่สำคัญเป็นโครงการที่ช่วยชาวไร่ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย เพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน ทั้งด้านการการผลิตอ้อย ส่งเสริมการตัดอ้อยสด ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้และ PM 2.5 การมีแหล่งน้ำสำรองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดภัยแล้ง ส่งเสริมการนำเครื่องจักรกลมาใช้ในไร่อ้อยแบบครบวงจร ทดแทนการขาดแคลนแรงงานคน รวมไปถึงการรองรับนโยบาย BCG Economy

นายวิฤทธิ์ กล่าวว่า ที่ประชุมจึงได้มีการเสนอขอขยายโครงการอีกเป็นปี 2568 - 2570 มีกรอบวงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวม 3 ปี เป็นเงิน 6,000 ล้านบาท กรณีที่ใช้วงเงินในแต่ละปีไม่หมด สามารถนำไปทบใช้ในปีถัดไปได้ อัตราดอกเบี้ย MRR 6.975% ส่วนที่รัฐชดเชยดอกเบี้ย 3% ยังต้องหารือในที่ประชุมต่อไป อย่างไรก็ตามจะพยายามให้ชาวไร่รับภาระ 2% เท่าเดิม

สำหรับโครงการฯ ปี 2565 - 2567 มีวงเงินกู้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปีละ 2,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MRR 6.975% ชาวไร่จ่ายดอกเบี้ย 2% รัฐบาลชดเชย 3% และ ธ.ก.ส. รับภาระส่วนที่เหลือ 1.975% ปัจจุบันปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 706 ราย วงเงิน 2,335.53 ล้านบาท

“ประชุมในครั้งนี้เป็นการพิจารณาสืบเนื่องจากประชุมครั้งก่อนเมื่อเดือนพฤษภาคม 2567 คือ การอนุมัติสินเชื่อให้กับเกษตรกรที่จะนำไปซื้อรถตัดอ้อย หรือรถบรรทุก หรือเอาไปใช้ในการพัฒนาแหล่งน้ำและปรับสภาพแปลงปลูกอ้อย ซึ่งคณะทำงานฯ จะพิจารณาโครงการนี้อีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2567 หากโครงการได้รับการอนุมัติแล้ว สอน. จะชงเรื่องเข้า ครม. ต่อไป เพื่อให้โครงการสามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องจากที่จะหมดในเดือนกันยายน 2567 นี้”  นายวิฤทธิ์ กล่าว

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ทหารอิสราเอลปลิดชีพผู้นำฮามาส ‘ยายาห์ ซินวาร์’ ในกาซา

การสังหารเขาได้ถือเป็นความสำเร็จใหญ่หลวงสำหรับอิสราเอล และเป็นเหตุการณ์สำคัญในความขัดแย้งที่ยืดเยื้อ...

เมเจอร์ร่วมทุนทาคาระ เลเบ็น ผุดมอลตัล รีเสิร์ฟ ปิ่นเกล้ามูลค่า1.3พันล้าน

เพชรลดา พูลวรลักษณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เมเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ กล่าวว่า เมเจอร์ฯถือว่าเป็นผู้นำใ...

ลงทุนกองทุนต่างประเทศแบบไหนดี ระหว่าง Hedge vs. Unhedge

การลงทุนในกองทุนต่างประเทศ นอกจากต้องคำนึงถึงผลตอบแทนที่มาจากสินทรัพย์ลงทุนแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงไ...

“เงินคู่คลัง” เจาะลึก หุ้นได้ประโยชน์จากการลดดอกเบี้ยของกนง.

ถือเป็นอีกเรื่องราวสุดเซอร์ไพร์ส หลัง คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอัตราด...