‘ทับลาน’กับมุมมองผลของการมีต้นไม้

หากเป็นผู้แฝงอยู่เบื้องหลังซึ่งอาจเป็นทั้งนักการเมืองฉ้อฉล คนชั่วในภาครัฐและนายทุนสามานย์คงมองอีกอย่างหนึ่งซึ่งมักเห็นได้ยาก นอกจากจะมีผู้รอบรู้ช่วยกันขุดคุ้ยหาพวกเขาอย่างจริงจังแล้วนำผลมาปัน 

ทางด้านผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงคงหวังกันว่า ทุกอย่างจะถูกนำออกมาพิจารณาโดยคนกลางอย่างถี่ถ้วน ก่อนที่จะตกลงกันเรื่องจะทำอย่างไรต่อไปกับเขตอุทยานทับลาน

ต้นไม้อาจมองได้จากหลากมุม อาทิ คอลัมน์นี้ประจำวันที่ 20 พ.ย.2552 มองจากมุมของการมีความสุขซึ่งมนุษย์เราโดยทั่วไปปรารถนา  การวิจัยสรุปว่า หลังจากมีรายได้ในระดับสูงพอสำหรับใช้จ่ายเพื่อสิ่งจำเป็นสำหรับดำเนินชีวิตอย่างครบถ้วนแล้ว สิ่งของที่อาจซื้อหามาเพิ่มโดยรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากในระดับนั้น จะไม่ทำให้ความสุขของมนุษย์เราเพิ่มตามไปมากนัก หากเป็นสิ่งอื่นและหนึ่งในสิ่งอื่นได้แก่ การได้อยู่ใกล้ธรรมชาติอันมีต้นไม้เป็นปัจจัยสำคัญ

นอกจากนั้น ต้นไม้อาจมองได้จากมุมมองการมีอายุยืน เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นักวิจัยจากกรมป่าไม้ของสหรัฐนำเสนอผลการวิจัยที่ทำในเมืองพอร์ตแลนด์ มลรัฐออริกอน การวิจัยอาศัยข้อมูลที่เก็บจากการปลูกและการเจริญเติบโตของต้นไม้ชนิดต่างๆ ราว 5 หมื่นต้นโดยองค์กรเอกชนในเมืองนั้นตลอดช่วงเวลา 30 ปี 

ข้อสรุปของการวิจัยได้แก่ จำนวนต้นไม้เพิ่มขึ้นในย่านไหน อัตราการตายของผู้คนในย่านนั้นลดลง การวิจัยนี้อยู่ในแนวเดียวกับการวิจัยที่กำลังทำกันอยู่ในหลายประเทศซึ่งได้ข้อสรุปเบื้องต้นในแนวเดียวกัน นั่นคือ ต้นไม้มีส่วนทำให้มนุษย์อายุยืน ส่วนมันทำอย่างไรการวิจัยยังไม่สามารถฟันธงลงไปได้แบบมั่นใจเต็มร้อย

อย่างไรก็ดี เมื่อเดือน มิ.ย. องค์กรเอกชนชื่อ One Tree Planted (https://onetreeplanted.org) นำข้อสรุปของการวิจัยในแหล่งต่างๆ เกี่ยวกับผลดีที่ต้นไม้กับป่ามีต่อสุขภาพของมนุษย์มาเสนอ โดยแยกเป็น 16 ข้อด้วยกัน ซึ่งอาจแปลได้ดังนี้ 1.ต้นไม้ทั้งหมดเป็นต้นแห่งความสุข 2.ลดมลพิษในอากาศ 3.ลดความร้อนภายในเมือง 4.เอื้อให้เศรษฐกิจแข็งแกร่ง 5.ช่วยเด็กให้มีความใส่ใจและผลการสอบดีขึ้น 

6.ช่วยให้ฟื้นเร็วขึ้นจากการเจ็บป่วย 7.ช่วยทำให้หัวใจทำงานดีขึ้น 8.ช่วยให้สมองทำงานดีขึ้น 9.ช่วยลดอาชญากรรมร้ายแรง 10.เพิ่มแหล่งอาหารชั้นดี 11.ลดการถูกกระทบจากมลพิษที่มากับน้ำ 12.ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค 13.อาจช่วยป้องกันมะเร็ง 14.ช่วยลดความเครียด 15.ให้ยารักษาโรค และ 16.ช่วยป้องกันการขาดอาหาร

จากคำอธิบาย หลายข้อน่าจะมีความเกี่ยวโยงจนแยกกันยาก เช่น ข้อแรกแยกออกเป็นปัจจัยต่างๆ รวมทั้งการทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นผ่านการลดความเครียด การคิดไปในทางลบและอาการซึมเศร้า ทำให้อารมณ์ดีและเพิ่มความพอใจในชีวิต 

ส่วนข้อ 14 พูดถึงการลดความเครียดโดยตรงซึ่งอ้างถึงการค้นคว้าที่พบว่า การอยู่ใกล้ธรรมชาติแม้เพียงชั่วระยะเวลาสั้นๆ ยังมีผลดีในด้านการกระตุ้นระบบประสาทที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย ทำงานได้มากขึ้น ลดความดันโลหิต อัตราการเต้นของหัวใจ การอักเสบและฮอร์โมนคอร์ติซอล แต่เพิ่มการมีอารมณ์ดี ยังผลให้เรามีความกระชุ่มกระชวยมากขึ้นพร้อมกับลดความซึมเศร้า ความกระสับกระส่าย ความเหนื่อยล้าและความไม่ปลอดโปร่งในสมอง

ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน คงฟันธงได้แบบมั่นใจเต็มร้อยว่า ในภาวะของโลกปัจจุบัน ต้นไม้เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่มนุษย์เราต้องมีไว้ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ในขณะที่โดยทั่วไปจำนวนต้นไม้บนผิวโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง ความจริงข้อนี้น่าจะชี้ชัดว่า ในการพิจารณาว่าจะทำอย่างไรในกรณีความขัดแย้งรุนแรงเกี่ยวกับเขตอุทยานทับลาน การรักษาหรือเพิ่มต้นไม้ไว้ได้มากที่สุดควรจะเป็นฝ่ายที่ได้รับน้ำหนักมากกว่าฝ่ายที่จะลดพื้นที่ซึ่งมีต้นไม้ลง

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

ระเบิด ‘เพจเจอร์’ เทคโนโลยียุคเก่าที่กลับมาได้รับความนิยมในวงการแพทย์

สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า ความเป็นที่นิยมของ “โทรศัพท์มือถือ” จนกลายเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักของโล...

เปิดเหตุผล 'ไปรษณีย์ไทย' ทำไมโดดร่วมสมรภูมิ 'เวอร์ชวลแบงก์'

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (19 ก.ย.) เป็นวันปิดรับคำขออนุญาตจัดตั้ง ธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (เวอร์ชวลแ...

แกะกล่อง 'iPhone 16' และ 'iPhone 16 Pro Max' ส่องจุดเด่น มีลูกเล่นอะไรใหม่

แกะกล่องเป็นกลุ่มแรกๆ กับ iPhone 16 และ iPhone 16 Pro Max ที่วันนี้ KT Review จะพาไปดูว่าหนึ่งรุ่นเร...

‘ไมโครซอฟท์ - กูเกิล’ มอง ‘Digital Trust’ วาระท้าทาย ชีวิตบนโลกดิจิทัล

สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) จัดงาน “60 Years OF EXCELLENCE” ฉลองครบรอบ 60 ปี เชิญผู้นำจา...