แพทย์เผย 40% ของโรคกระดูกพรุนเกิดจากกรรมพันธุ์ ลดความเสี่ยงป้องกันได้!

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ส่วนหนึ่งมาสาเหตุจากกรรมพันธุ์ หากบิดามารดามีประวัติกระดูกสะโพกหัก แสดงว่าลูกมีโอกาสที่จะเกิดกระดูกสะโพกหักสูงเช่นเดียวกัน ทางการแพทย์พบว่า 40% ของโรคกระดูกพรุนเกิดจากผู้ป่วยที่มีกรรมพันธุ์ ทำให้กระดูกสลายตัวเร็ว ส่วนอีกประมาณ 50% – 60% ของโรคกระดูกพรุนเกิดจากสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ออกกำลังกาย ได้รับแคลเซียมหรือวิตามินดีไม่เพียงพอ โรคประจำตัวบางชนิด โรคกระดูกพรุนจึงเป็นส่วนผสมระหว่างกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดจากกรรมพันธุ์เพียงอย่างเดียว

Freepik/bialasiewicz
กระดูกพรุน

กระดูกพรุนจากกรรมพันธุ์คืออะไร

โรคกระดูกพรุนจากกรรมพันธุ์มียีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้อง เช่น ยีนเกี่ยวกับการสร้างคอลลาเจน ยีนเกี่ยวกับการกระตุ้นให้มีการสลายกระดูกต่าง ๆ เป็นต้น ไม่ได้เกิดจากยีนเพียงตัวเดียวที่กำจัดออกไปได้ จึงต้องใช้การรักษาที่มีในปัจจุบัน คือ 

  • การรับประทานแคลเซียม 

  • การรับประทานวิตามินดี 

  • การออกกำลังกาย 

  • ยารักษาโรคกระดูกพรุนที่เหมาะกับแต่ละบุคคล 

รวมทั้งการตรวจรายบุคคล ซึ่งการตรวจเพียงครั้งเดียวไม่สามารถสรุปความเสี่ยงของแต่ละบุคคลได้ว่าใครเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนมากหรือน้อยกว่ากัน

กินแคลเซียมทุกวันกระดูกไม่พรุนแน่นอนจริงหรือไม่?

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุสำคัญต่อกระดูก ทำให้กระดูกแข็งแรง การได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอในผู้สูงอายุเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน เพราะเป็นวัยที่มีการสลายของกระดูกมาก มีการขับแคลเซียมออกจากร่างกายมาก จึงต้องรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ แต่การรับประทานแคลเซียมอย่างเดียวไม่ได้การันตีว่าจะไม่เป็นโรคกระดูกพรุน หากผู้ป่วยมีอัตราการสลายกระดูกและขับแคลเซียมมากเกินไป ย่อมมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดกระดูกหัก จึงต้องรับประทานยารักษาโรคกระดูกพรุนที่เหมาะสมเฉพาะบุคคลร่วมด้วย

ปริมาณแคลเซียมที่แต่ละช่วงอายุควรได้รับเป็นอย่างไร

แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่จำเป็น ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำแตกต่างกันไปตามช่วงวัย ได้แก่

  • เด็ก เนื่องจากกระดูกมีขนาดเล็ก ปริมาณแคลเซียมที่ได้รับต่อวันจะน้อยกว่าผู้ใหญ่ อยู่ที่ 600 มิลลิกรัมต่อวัน

  • ผู้ใหญ่ เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป การรับประทานแคลเซียมอาจช่วยอะไรได้ไม่มากนัก เพราะมวลกระดูกมาถึงจุดสูงสุด แต่ถ้าไม่ต้องการให้มีการสลายตัวของกระดูกมากขึ้น แนะนำปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับ 600 มิลลิกรัมต่อวัน

  • หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ต้องรับประทานแคลเซียมมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอต่อร่างกาย ปริมาณที่ควรได้รับอยู่ที่ 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน 

  • ผู้สูงอายุ ควรเสริมแคลเซียม เพราะมวลกระดูกเริ่มสลายตัว ปริมาณที่ควรได้รับอยู่ที่ 800 – 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัวและสภาพร่างกาย 

ทั้งนี้หากพบว่าตัวเองมีความเสี่ยงกระดูกพรุนควรรีบพบแพทย์เพื่อประเมินวินิจฉัยเพื่อชะลอป้องกันโรค ลดปัจจัยเสี่ยงเพิ่มคุณภาพชีวิตได้เพิ่มขึ้น!

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...