วิธีรักษาโรคหลอดเลือดสมองตามระยะ เมื่อไหร่ที่ควรรับยาละลายลิ่มเลือด?

โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย การทำงานของสมองหยุดชะงัก ซึ่งมักเกิดอาการเฉียบพลัน ซึ่งมีวิธีการรักษาที่ครอบคลุม โดยจะแบ่งการรักษาตามระยะเวลาที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล เป็น 2 แบบ

แบบที่ 1: ผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลก่อน 2 ชั่วโมง นับตั้งแต่มีอาการ

การที่ผู้ป่วยกลุ่มนี้มาพบแพทย์ได้เร็ว ทำให้เนื้อสมองที่ขาดเลือดยังไม่ตายไปซะทั้งหมด

Freepik/Kiwistocks
ผู้สูงอายุล้ม

จึงมีการใช้ยาละลายลิ่มเลือด (Thrombolytic drug) ที่อุดตัน เพื่อให้ก้อนเลือดละลาย และเปิดทางให้เลือดกลับมาเลี้ยงสมองบางส่วนที่ยังไม่ตาย ทำให้สมองกลับมาฟื้นได้อีกครั้ง

  • ให้ยาละลายลิ่มเลือด

ปกติแล้ว ผู้ป่วยต้องได้รับยานี้ ภายใน 3 ชม.หลังจากมีอาการ แต่แพทย์จะต้องทำการตรวจวินิฉัยโรค ดูผลเลือด และภาพถ่ายสมองก่อนตัดสินใจให้ยา ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 1 ชม. ยานี้มีข้อเสียคือ จะทำให้เลือดหยุดช้า ซึ่งทำให้เกิดอันตรายถ้าผู้ป่วยมีเลือดออกในร่างกาย จากสถิติแล้วการให้ยาครั้งเดียว ทำให้เกิดผลดีถึง 30% แต่ก็อาจจะมีเลือดออกในสมองได้ 7% และมีโอกาสเสียชีวิตจากยาได้ 3% ของจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับยาเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยา

แบบที่ 2: ผู้ป่วยที่มาถึงโรงพยาบาลหลัง 2 ชั่วโมงไปแล้ว นับตั้งแต่เริ่มมีอาการ

ผู้ป่วยกลุ่มนี้แทบจะเรียกได้ว่าเนื้อสมองที่ขาดเลือดตายไปแล้วเกือบทั้งหมด ทำให้การใช้ยาละลายลิ่มเลือดไม่มีผลต่อการฟื้นตัวของเนื้อสมอง และยังทำให้มีโอกาสเลือดออกในสมองเพิ่มขึ้นได้อีก จึงห้ามใช้ยาละลายลิ่มเลือด โดยจะให้ยาเหล่านี้แทน

  • ยาต้านเกล็ดเลือด

ยาต้านเกล็ดเลือดภายใน 48 ชม.แรกหลังจากมีอาการจะช่วยลดโอกาสการเป็นซ้ำได้ประมาณ 25% เพราะผู้ป่วยที่มีอาการหลอดเลือดสมองอุดตัน ในช่วงอาทิตย์แรก จะมีโอกาสเป็นซ้ำได้ประมาณ10% ยากลุ่มนี้ คือแอสไพริน (aspirin) คลอพิโดเกล (clopidogrel) ไดไพริดาโมล (dipyridamole) ผสมกับแอสไพริน ไซลอสตาซอล (cilostazol) และไตรฟูซอล (trifuxal)

  • ให้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว (Anticoagulant)

ยากลุ่มนี้จะใช้ในกรณีที่มีการอุดตันของหลอดเลือดที่เกิดจากก้อนเลือดในช่องหัวใจหลุดออกมาติดในหลอดเลือดสมอง และจะใช้กับเคสที่หลอดเลือดสมองที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ระยะเวลาที่เริ่มใช้นั้นจะขึ้นอยู่กับแพทย์ และยังมีการใช้ป้องกันหลอดเลือดดำที่ขาอุดตันจากการเป็นอัมพาตได้ด้วย ยากลุ่มนี้จะมีทั้งแบบฉีด เฮบปะริน (heparin) และแบบทาน วอร์ฟาริน (warfarin)

  • ให้ยาลดความดันเลือด

ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองจะมีความดันสูงกว่าปกติ ซึ่งความดันที่สูงมากอาจทำให้เลือดออกในเนื้อสมองส่วนที่ตายแล้ว หรือทำให้สมองบวเพิ่มขึ้น แพทย์เลยมักจะให้ยาลดความดันเมื่อความดันสูงกว่า 220/120 มม.ปรอท และในกรณีที่จะให้ยาละลายลิ่มเลือด (throbolytic drug) แก่ผู้ป่วย ควรจะลดความดันเมื่อความดันสูงกว่า 185/110 มม.ปรอท

  • ยาป้องกันเซลล์ในสมองตาย หรือยาบำรุงเซลล์ในสมอง

มีการศึกษาการใช้ยากลุ่มนี้มานานหลายปีและหลายสิบชนิด เช่น ยาซิติโคลีน (Citicoline) และ ยานิวโรเปปไทด์ ซึ่งผลการศึกษาบอกว่ามีผลดี แต่ก็ยังไม่ค่อยชัดเจน และมีผลข้างเคียงน้อยมาก โดยต้องให้ตั้งแต่เริ่มมีอาการใหม่ๆ นอกจากนี้ยังมีความพยายามศึกษายาตัวใหม่ ในกลุ่มนี้อยู่เรื่อยๆ

ทั้งนี้ในผู้ที่มีความเสี่ยงควรควบคุมโรคประจำตัวให้สงบและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันอันตรายถึงชีวิต

ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพญาไท 1

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...