‘แบ็คทูสคูล’ มาช้าแต่ใช้จ่ายคึกคัก ‘นันยาง’ ลุยแคมเปญแก้ ‘บูลลี่’

“รองเท้านักเรียน” เป็นอีกหมวดที่เจ้าตลาด “นันยาง” ออกแคมเปญ สื่อสารการตลาด เพราะช่วงนี้ทำเงินสัดส่วนถึง 80% อีก 20% เป็นการขายช่วงเปิดเทอมเดือน ต.ค.

จักรพล จันทวิมล กรรมการผู้จัดการ บริษัท นันยางมาร์เก็ตติ้ง จำกัด กล่าวว่า ปี 2567 การตลาดแบ็ค ทู สคูล คิกออฟคึกคักตั้งแต่วันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา มองภาพรวมถือว่าล่าช้าเล็กน้อย เพราะมีเทศกาลมหาสงกรานต์อีเวนต์ใหญ่มาคั่นและดึงการจับจ่ายใช้สอยไปบ้าง หรือเงินอาจหมดไปก่อนบ้าง รอสิ้นเดือนให้มีรายได้ เงินเดือนมาซื้อสินค้าอีกครั้ง ขณะที่ 1 พ.ค.เป็น “วันแรงงาน” สัญญาณบวกซื้อสินค้าแบ็ค ทู สคูล “ตัวเลขยอดขายค่อนข้างดี”

“แบ็ค ทู สคูล มีเวลาประมาณ 3 เดือน ไปจนถึงกลางเดือน มิ.ย. การซื้อสินค้าจะพีคช่วงต้นเดือน พ.ค. เพราะก่อนเปิดเทอมใหญ่ พฤติกรรมการซื้อสินค้า พ่อแม่ผู้ปกครองจะซื้อชุดนักเรียน อย่างเสื้อก่อน เพราะต้องวัดไซส์ ใช้เวลาปักชื่อ จากนั้นจะซื้อรองเท้า และซื้อให้เด็กวัยประถม ก่อนมัธยม เพราะพ่อแม่ตื่นเต้นกว่าที่จะได้เห็นลูกเข้าโรงเรียน เด็กเรียนโรงเรียนเดิมซื้อก่อนเข้าโรงเรียนใหม่ เพราะแค่เลื่อนชั้น รู้แล้วต้องใส่ชุด รองเท้าแบบไหน ส่วนเรียนโรงเรียนใหม่ต้องรอระเบียบแต่งกายที่ชัดเจน”

ต้อนรับเปิดเทอม “นันยาง” ทุ่มงบ 70 ล้านบาท ลุยแคมเปญ “พอดีไม่เหมือนกัน” ชวนนักเรียน “เลิกกดดันตัวเอง” พร้อมสานต่อ ภารกิจ “หยุดบูลลี่ในโรงเรียนหยุดได้ด้วยนักเรียน” 

“หากมองเป็นจักรวาลการบูลลี่ในโรงเรียน นันยางหามิติในการเป็นส่วนหนึ่งแก้ปัญหา ซึ่งได้ผลตอบรับดีในการทำตลาด หากมองยุคของนันยาง เรายึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง อดีตมีกิจกรรมที่ทำให้ลูกค้าชอบแตกต่างกันไป เช่น ยุค 90 มีของเล่นแถม มาอีกยุคเน้นอีโมชันนอล ด้วยคาแรคเตอร์แบรนด์รองเท้าที่เก๋า เป็นเด็กหลังห้อง เหยียบส้นรองเท้า แกล้งเพื่อน ยุคนั้นอาจรับได้ เมื่อบริบทสังคมเปลี่ยน เราจึงปรับ ปีก่อนเรามีสเตทเมนต์ขอโทษที่เคยบูลลี่ ผ่านแคมเปญ NO MORE BULLY เพราะปัจจุบันเป็นสิ่งที่รับไม่ได้ และปัญหารุนแรง ซับซ้อนขึ้น จึงสื่อสารไปยังนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย และเป็นแนวทางการสร้างแบรนด์ของเรา”

ข้อมูลกรมสุขภาพจิต พบสถานการณ์สุขภาพจิตของเยาวชนไทยช่วงปี 2563-2567 มีความเครียดสูง 24.83% มีภาวะเสี่ยงซึมเศร้า 29.51% เสี่ยงฆ่าตัวตายสูงถึง 20.35% ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่าวัยอื่นๆ สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากความเครียด ความเหนื่อยล้า ถือเป็นปัญหาที่ต้องเร่งให้ความช่วยเหลือ 

พร้อมกันนี้ ปั้นแพลตฟอร์ม “ดูใจตน วอลเล็ต” เติมความใจดีให้กับตัวเอง เปิดช่องทางในการรับฟัง เข้าใจ และให้คำแนะนำแก่ผู้ที่กำลังเผชิญหน้ากับการกดดันตนเอง ให้กลับมาใจดีกับตัวเองให้มากขึ้น ผ่าน www.พอดีไม่เหมือนกัน.com เฟสแรกใช้เวลา 1 ปี แล้วพัฒนามิติอื่นต่อไป

ด้านภาพรวมตลาดรองเท้านักเรียนมีมูลค่า 5,000 ล้านบาท จากผู้เล่นในตลาด 10-15 แบรนด์ แนวโน้มปี 2567 คาดการณ์เติบโต 1-3% สำหรับนันยางครองส่วนแบ่งตลาดรองเท้าผ้าใบอันดับ 1 ที่ 45% ส่วนแบ่งตลาดเติบโต 1-2% ภาพรวมผลประกอบการปี 2566 ยอดขายเติบโต 13.7% จากการฟื้นตัวหลังโควิด-19 ระบาด ส่วนปี 2567 ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 3.5% พอร์ตโฟลิโอสินค้ายอดขายหลักมาจากรองเท้าแตะและรองเท้าผ้าใบสัดส่วน 50% เท่ากัน และในรองเท้าผ้าใบ สินค้ารองเท้านักเรียนมีสัดส่วนยอดขาย 70%

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...