มาเลย์ ออก ‘Golden Pass’ ดึงสตาร์ทอัพ-บริษัทร่วมทุน หวังเป็น ‘ฮับฟินเทคฯ’ ภูมิภาค

สำนักข่าวนิกเคอิ เอเชีย รายงานวันนี้ (24 เม.ย.) ว่า มาเลเซียเปิดตัวแพ็คเกจสิทธิประโยชน์ใหม่เพื่อดึงดูดบริษัทสตาร์ทอัพและบริษัทร่วมลงทุนชั้นนำของโลกเข้ามาในประเทศ โดยหวังว่าจะสร้างระบบนิเวศสตาร์ทอัพที่แข็งแกร่งซึ่งจะกระตุ้นการเติบโตในอนาคต

โดย ราฟิซี รามลี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ กล่าวในปาฐกถาสำคัญในงานประชุม “KL20 Summit” ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันจันทร์ว่า "ด้วยนักลงทุนที่เหมาะสมและบุคลากรที่มีความสามารถในมาเลเซีย เราจะทำให้มาเลเซียเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีระดับโลกสำหรับบริษัทเทคโนโลยีระดับยูนิคอร์นภายใต้โครงการยูนิคอร์นโกลเด้นพาส เราต้องการดึงดูดบริษัทระดับยูนิคอร์นทั่วโลกให้เข้ามาในมาเลเซียเพื่อสร้างงานที่มีทักษะสูงและมีมูลค่าสูง นอกเหนือจากการพัฒนากองทัพของผู้ประกอบการรุ่นใหม่และผู้นำอาวุโสในด้านเทคโนโลยี"

โครงการยูนิคอร์นโกลเด้นพาส มีสิทธิประโยชน์มากมาย รวมถึงการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุมัติทำงานของฝ่ายบริหารระดับสูง อุดหนุนค่าเช่าที่ และลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สิทธิประโยชน์เหล่านี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มาเลเซียเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับสตาร์ทอัพทั่วโลกและระดับภูมิภาคที่ต้องการสร้างฐานการผลิตของตัวเอง

 

นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้เปิดตัวโครงการ วีซี โกลเด้น พาส (VC Golden Pass) ซึ่งมุ่งเป้าไปที่บริษัทร่วมลงทุนโดยเฉพาะ ซึ่งรวมถึงการยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าทำงานสำหรับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทและการอนุมัติใบอนุญาตการจัดตั้งกองทุนในประเทศอย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จากรัฐบาล กล่าวว่า บริษัทวีซีระดับโลกหรือภูมิภาคที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) มากกว่า 100 ล้านดอลลาร์และมีประวัติการลงทุนและขยายกิจการสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จอย่างแข็งแกร่งมีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการนี้

"เราอยู่ในช่วงเสนอมาตรการจูงใจบรรดานักลงทุน รวมถึงโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนแอลพี (หุ้นส่วนจำกัด) การอุดหนุนพื้นที่สำนักงาน การลงทะเบียนใบอนุญาตอย่างรวดเร็ว และการยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุมัติการทำงาน” ราฟิซีกล่าว

ในขณะเดียวกัน อันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของสตาร์ทอัพที่มากขึ้นเพื่อขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการประชุมครั้งนี้ เป็น "การเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนจากอดีต" จากความพยายามอย่างรอบด้านในการสนับสนุนระบบนิเวศทางเทคโนโลยีในประเทศ

"เราอยู่ในช่วงวางตำแหน่งมาเลเซียให้เป็นศูนย์กลางสำหรับผู้นำในด้านเซมิคอนดักเตอร์ พลังงานสะอาด เทคโนโลยีทางการเกษตร และฟินเทคสำหรับอิสลาม (Islamic Fintech) การเพิ่มขีดความสามารถของเราจะช่วยให้อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงขึ้นในการสร้างแนวทางการเติบโตใหม่และเปลี่ยนโฉมโชคชะตาของเรา"

สุดท้าย อันวาร์ยังประกาศในวันเดียวกันเกี่ยวกับการจัดตั้งศูนย์กลางการออกแบบชิปแบบบูรณาการในรัฐสลังงอร์ (Selangor) ใกล้กับเมืองหลวง โดยบรรดาบริษัทที่ตั้งฐานในศูนย์กลางนี้ประกอบด้วย บริษัทไมสตอเรจ (MaiStorage) ของพิสนธ์ อิเล็กทรอนิกส์ (Phison Electronics), อาร์ม โฮลดิ้งส์ (ARM Holdings), สกายชิป (SkyeChip) และสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์เซินเจิ้น (Shenzhen Semiconductor Industry Association)

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...