นักวิทย์ใช้เทคโนโลยี “คริสเปอร์” กำจัด HIV ออกจากเซลล์มนุษย์สำเร็จ

นักวิทยาศาสตร์รายงานว่า พวกเขาประสบความสำเร็จในการกำจัดเชื้อเอชไอวี (HIV) ออกจากเซลล์ที่ติดเชื้อได้สำเร็จ โดยใช้เทคโนโลยีการแก้ไขยีนคริสเปอร์ (Crispr) ที่ได้รับรางวัลโนเบล

เทคโนโลยีดังกล่าวมีชื่อเต็ม ๆ คือ CRISPR/Cas9 (คริสเปอร์แคสไนน์) เกิดจากการใช้ คริสเปอร์ หรือแบคทีเรียที่สามารถเลียนแบบสารพันธุกรรม (DNA) ในระบบภูมิคุ้มกันได้ ร่วมกับ แคสไนน์ ซึ่งเป็นโปรตีนที่สามารถตัดสายดีเอ็นเอได้

คอนเทนต์แนะนำ
เชื้อเอชพีวี (HPV) และ เอชไอวี(HIV) ต่างกันอย่างไร?
วิธีใช้ ยา PrEP และ PEP ป้องกันลดความเสี่ยง HIV อย่างถูกต้อง!

AFP/Yuri CORTEZ
เจ้าหน้าที่ตรวจเชื้อ HIV (แฟ้มภาพ)

เมื่อใช้ทั้งสองตัวร่วมกัน เทคโนโลยีนี้จึงเป็นเหมือนกับ “กรรไกร” แต่เป็นกรรไกรในระดับโมเลกุล สามารถตัดดีเอ็นเอบางตัวเพื่อนำชิ้นส่วนที่ “ไม่ดี” ออกจากเซลล์หรือทำให้หมดฤทธิ์ได้

หนึ่งในโรคที่นักวิทยาศาสตร์สนใจทำเทคโนโลยีคริสเปอร์มารักษาคือ การติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากยาเอชไอวีที่มีอยู่ในปัจจุบันทำได้เพียงหยุดยั้งไวรัสแต่ไม่สามารถกำจัดไวรัสได้ และก่อนหน้านี้ในปี 2017 นักวิทยาศาสตร์เคยประสบความสำเร็จในการทดลองกับหนูทดลองมาแล้ว

และความสำเร็จล่าสุดในการทดลองกับคนทำให้ความหวังว่าจะสามารถกำจัดไวรัสในร่างกายให้หมดไปได้ในที่สุดมีความเป็นไปได้มากขึ้น แม้ว่านักวิทยาศาสตร์จะต้องทำงานอีกมากเพื่อตรวจสอบว่าเทคโนโลยีคริสเปอร์ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพจริงหรือไม่

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยอัมสเตอร์ดัมซึ่งรายงานความสำเร็จนี้เน้นย้ำว่า งานของพวกเขายังคงเป็นเพียง “ข้อพิสูจน์ของแนวคิด” และยังไม่ใช่วิธีรักษาเอชไอวีได้ในเร็ว ๆ นี้

ดร.เจมส์ ดิกสัน รองศาสตราจารย์ด้านเทคโนโลยีสเต็มเซลล์และยีนบำบัดแห่งมหาวิทยาลัยน็อตติงแฮม เห็นด้วย โดยกล่าวว่า การค้นพบทั้งหมดยังต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียด

“จำเป็นต้องมีการทำงานอีกมากเพื่อแสดงให้เห็นว่า ผลลัพธ์ในเซลล์เหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วทั้งร่างกายสำหรับการบำบัดในอนาคต จะต้องมีการพัฒนาเพิ่มเติมอีกมากก่อนที่สิ่งนี้จะรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีได้” เขากล่าว

ดร. โจนาธาน สโตเย ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสจากสถาบันฟรานซิส คริก ในลอนดอน กล่าวว่า การกำจัดเชื้อเอชไอวีออกจากเซลล์ทั้งหมดที่อาจมีเชื้อเอชไอวีสะสมอยู่ในร่างกายถือเป็น “ความท้าทายอย่างยิ่ง”

เขาบอกว่า “ผลกระทบนอกเป้าหมายของการรักษา รวมถึงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว ยังคงเป็นข้อกังวล ดังนั้นดูเหมือนต้องใช้เวลาอีกหลายปีก่อนที่การรักษาแบบคริสเปอร์จะกลายเป็นเรื่องปกติ แม้ว่าจะสามารถแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิผลก็ตาม”

 

เรียบเรียงจาก BBC

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...