นักวิจัย NSM ค้นพบ 'เปราะนพรัตน์' พืชพันธุ์ใหม่ของโลก สถานะใกล้สูญพันธุ์
วันที่ส่ง: 14/03/2024 - ผู้เขียน: กรุงเทพธุรกิจ
เมื่อวันที่ 13 มี.ค. ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผอ.องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เปิดเผยว่า ทีมนักวิจัยของ NSM นำโดย ดร.ณัฐพล นพพรเจริญกุล นักวิชาการกองวิชาการพฤกษศาสตร์ สำนักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา NSM และ ผศ.ดร.ทยา เจนจิตติกุล ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
น.ส.ธัญชนก สมหนู นักศึกษาระดับปริญญาโท ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น น.ส.จิราภรณ์ มีวาสนา นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และ ดร.วัฒนา ตันมิ่ง สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
ค้นพบ “เปราะนพรัตน์” (K. noctiflora var. thepthepae Noppornch. & Somnoo) พืชเฉพาะถิ่นของไทยพันธุ์ใหม่ของโลก อยู่ในวงศ์ขิงข่า สกุลเปราะหอม สกุลย่อยดอกดิน (โพรแทนเธียม) มีสถานะทางอนุกรมวิธานอยู่ภายใต้ชนิด “เปราะใบม่วง” (Kaempferia noctiflora Noppornch. & Jenjitt.) พบเฉพาะที่ อ.ดอยสะเก็ด และ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ เท่านั้น ผลงานการค้นพบได้ถูกตีพิมพ์ลงวารสารระดับนานาชาติ Annales Botanici Fennici (Q2) ประเทศฟินเเลนด์ ฉบับที่ 61 เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2567
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ย้อนรอย 5 การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของโลก และครั้งที่ 6 จะเกิดขึ้นหรือไม่ ?
- 'สัตว์ที่หายไป' โดยไม่ต้องรอการสูญพันธุ์ครั้งที่ 6
- ออสเตรเลียพบ ‘ตุ่นปากเป็ด’ แก่ที่สุดในโลก ฟื้นความหวังอนุรักษ์ ไม่ให้สูญพันธุ์
ผอ. NSM กล่าวต่อว่า “เปราะนพรัตน์” ถูกค้นพบในปี 2558 จากนั้นนำเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์ทราบจนสามารถยืนยันได้ว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก มีลักษณะเด่น คือ มีดอกสีขาวแต้มสีม่วง ขนาดประมาณ 6 คูณ 6 เซ็นติเมตร บานตอนเช้า มีกลิ่นหอมเย็น ออกดอกเฉพาะเดือน พ.ค.ของทุกปี โดยภายใน 1 เดือนจะออกดอกทุกวัน ต้นหนึ่งจะออกดอก 1 – 2 ดอก
ขณะที่ใบมีลวดลายสวยงาม ใบอ่อนสามารถนำไปรับประทานได้ ประชาชนกรของเปราะนพรัตน์ จะขึ้นตามป่าชุมชนและป่าชายเขาทั่วไป ปัจจุบัน สถานะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์จากการคุกคามของมนุษย์ที่มีการนำพื้นที่ที่มีเปราะนพรัตน์ไปทำการเกษตรหรือนำขยะไปทิ้ง นอกจากนั้น บางส่วนนำเปราะนพรัตน์ไปทำอาหาร เนื่องจากใบอ่อนสามารถรับประทานได้โดยส่วนใหญ่นำไปทำยำหรือผัดใส่หมูสับ รวมทั้ง มีการลักลอบขุดนำไปขาย
ผศ.ดร.รวิน กล่าวต่อว่า การค้นพบครั้งนี้ ถือเป็นการขยายขอบเขตองค์ความรู้ด้านความหลากหลายทางพันธุกรรมของดอกดินสกุลเปราะในประเทศไทยและจะนำไปสู่การวางแผนการจัดการทรัพยากรและการอนุรักษ์พันธุกรรมในอนาคต เนื่องจากสถานะใกล้สูญพันธุ์
นอกจากนี้ ยังมีแผนจะนำไปจัดแสดงให้เยาวชนและประชาชนได้ศึกษาเรียนรู้ผ่านนิทรรศการประมาณช่วงเดือน มิ.ย. - ส.ค. ณ สวนรุกขชาติ อพวช. ส่วนจัดแสดงภายในอาคารพิพิธภัณฑ์พระรามเก้า ต.คลองห้า จ.ปทุมธานี ต่อไป
คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ
สื่อเผยจีนอัดงบกว่า 10 ล้านล้านหยวน มาจริงสัปดาห์หน้าพร้อมเลือกตั้งสหรัฐ
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานอ้างแหล่งข่าววงใน 2 รายที่เกี่ยวข้องว่า รัฐบาลจีนกำลังพิจารณาอนุมัติวงเงินกร...
สภาทองคำโลก เผย ดีมานด์ ทองคำโลก ทะลุ 1 แสนล้านดอลลาร์ เป็นครั้งแรกในไตรมาส 3
สภาทองคำโลก (WGC) เปิดเผยว่า ความต้องการทองคำทั่วโลก (ทองคำโลก) ในช่วงไตรมาส 3 ที่ผ่านมา ปรับตัวเพิ่...
'ข้าวหมูเด้ง' ชวนซื้อข้าว ช่วยชาวนาประสบภัยน้ำท่วมกว่า 300 ครัวเรือน
อุตสาหกรรมข้าวไทยในช่วงปี 2023-2024 เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงหลายด้าน แต่ยังคงแสดงถึงความสำคัญทางเศรษฐก...
ถึงว่าเดือดดาลขั้นสุด เผยเม็ดเงินก้อนโตที่ "วินิซิอุส" อดได้ หลังชวดคว้า "บัลลงดอร์ 2024"
ถึงว่าเดือดดาลขั้นสุด เผยเม็ดเงินก้อนโตที่ "วินิซิอุส จูเนียร์" แข้งเลือดแซมบ้าของ "เรอัล มาดริด" อด...
ยอดวิว