ธปท.นัดถก 'แบงก์-วีซ่า-มาสเตอร์การ์ด' เก็บค่าฟี DCC 1% รูดบัตรต่างประเทศ

นายสมชาย เลิศลาภวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า กรณีที่ธนาคารได้มีการประกาศเรื่องการเก็บค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท หรือ Dynamic Currency Conversion Fee (DCC Fee) ในอัตรา 1% ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.2567 เป็นต้นไปนั้น ธปท.ไม่ได้นิ่งนอนใจ และจะมีการนัดพูดคุยกับผู้ให้บริการที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งสถาบันการเงิน และวีซ่า มาสเตอร์การ์ด ก่อนที่ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้

"เราต้องรู้ว่าเก็บอะไร เท่าไร และบริการดังกล่าวใครเป็นผู้ได้ประโยชน์ มีที่มาที่ไปของต้นทุนดังกล่าวอย่างไร และที่สำคัญต้องมีทางเลือกให้ผู้ใช้ โดยผู้เก็บจะต้องทำประกาศว่าค่าธรรมเนียมดังกล่าวนั้นจ่ายเพื่ออะไร ให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกใช้บริการดังกล่าวหรือไม่ เหมือนกับการจ่ายค่าผ่านทางเมื่อผ่านทางลัด หากไม่อยากจ่ายอาจจะต้องไปทางอ้อมกว่า แต่ต้องไม่ใช่การห้ามใช้ทางปกติ และบังคับให้ทุกคนต้องจ่าย"

นายสมชาย กล่าวต่อว่า ต้องให้ผู้ใช้ และผู้ให้บริการเห็นข้อมูลอย่างครบถ้วนทั้งสองฝ่าย จึงเป็นการคืนอำนาจให้ประชาชนเป็นผู้เลือกเอง โดยเราพร้อมรับฟังทั้ง 3 ฝ่าย ทั้งผู้ใช้ ธนาคาร และตัวกลางอย่างวีซ่า และมาสเตอร์การ์ด ซึ่งตอนนี้รับทราบข้อกังวลของประชาชนแล้ว ก็ต้องฟังอีกสองฝ่ายด้วยก่อนที่ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้
 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ ได้ออกประกาศเกี่ยวกับการเก็บค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงินต่างประเทศเป็นสกุลเงินบาท Dynamic Currency Conversion Fee (DCC Fee) โดยระบุว่า นับตั้งแต่ 1 พ.ค.2567 เป็นต้นไป ทุกธนาคาร จะเก็บค่าธรรมเนียมในการแปลงสกุลเงินต่างประเทศ เป็นสกุลเงินบาท ที่ 1% ของยอดใช้จ่าย หรือยอดกดเงินสดในสกุลเงินบาท สำหรับการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตวีซ่า/ มาสเตอร์การ์ด เพื่อชำระสินค้า และบริการด้วยสกุลเงินบาท กรณีรูดบัตรในต่างประเทศ หรือรูดซื้อสินค้า จากร้านค้าในต่างประเทศ ร้านค้าออนไลน์ ที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ก็จะต้องถูกเก็บค่าธรรมเนียมดังกล่าว

ซึ่งการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์ที่จะได้รับผลกระทบ อาทิ Spotify, VIU,Netflix, Agoda, Booking.com, Expedia, Klook, Airbnb, Trip.com, Facebook, Google, TikTok, PayPal, Alipay, eBay, Amazon, Apple, Alibaba and Taobao.

ส่วนการใช้จ่ายบนแพลตฟอร์มที่จดทะเบียนในไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ อาทิ Shopee, Lazada, Grab Taxi 

ทั้งนี้ ผู้ใช้บัตรเครดิตที่รูดใช้จ่ายในต่างประเทศเดิมจะถูกเรียกเก็บค่าความเสี่ยงจากการแปลงสกุลเงิน (FX Rate) ในอัตรา 2.0-2.5% แล้วแต่ธนาคาร ดังนั้นเมื่อ DCC Fee เริ่มมีผลบังคับใช้ ผู้ใช้บัตรจะถูกชาร์จ 1% เมื่อเลือกจ่ายในสกุลเงินบาท 

สำหรับทางเลือกอื่นในการใช้จ่ายที่จะไม่ต้องเสียค่า DCC Fee จะต้องเลือกจ่ายเป็นเงินสกุลต่างประเทศที่เป็นประเทศปลายทาง หรือใช้จ่ายผ่านช่องทางอื่นๆ เช่น E-Wallet, บัตรเดบิต Travel Card ที่ไม่คิดค่าธรรมเนียม 

 

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...