พบครั้งแรกในไทย! “ฟลูอัลปราโซแลม” คล้ายยาเสียสาวอันตรายถึงชีวิต

นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นายแพทย์พิเชฐ บัญญัติ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  เภสัชกรสมศักดิ์ สุนทรพาณิชย์ ผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด และดร.วราพร ชลอำไพ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา แถลงข่าวประเด็น ตรวจพบวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทชนิดใหม่ ฟลูอัลปราโซแลม(Flualprazolam)

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวว่า ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ได้รับของกลางเพื่อตรวจวิเคราะห์ 

ยาดังกล่าวมีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนสีส้ม ด้านหนึ่งพิมพ์เลข 5 อีกด้านหนึ่ง พิมพ์สัญลักษณ์บนแผงพิมพ์คำว่า อีริมิน 5 “Erimin 5” ตรวจพบตัวยาฟลูอัลปราโซแลม (Flualprazolam) ซึ่งเป็นยานอนหลับกลุ่มเบนโซไดอะเซปีนส์ (benzodiazepines) ชนิดใหม่ ที่ยังไม่เคยตรวจพบมาก่อนในประเทศไทย จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทในประเภท 1

ยาเม็ดอีริมิน 5 โดยปกติมีส่วนประกอบของวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ชื่อไนเมตาซีแพม (Nimetazepam) มีขนาดยา 5 มิลลิกรัม จัดเป็นวัตถุที่ออกฤทธิ์ฯ ในประเภท 2 ปัจจุบันไม่มีการจำหน่ายในประเทศไทย มีการนำไปใช้ในทางที่ผิดและพบระบาดมากใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนราธิวาส ระยะหลังพบการระบาดของยาอีริมินปลอมเพิ่มมากขึ้น ด้วยการใส่หรือผสมยาหรือวัตถุออกฤทธิ์ตัวอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงข้อกฎหมาย

จากรายงานการตรวจพิสูจน์ของกลาง Erimin 5 ตั้งแต่ปี 2556 ตรวจพบ Nimetazepam, Nitrazepam, Phenazepam, Diazepam, Clozapine และ Etizolam ดังนั้นการตรวจพบตัวยาฟลูอัลปราโซแลม จึงเป็นการตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ซึ่งในประเทศสิงคโปร์และมาเลเซีย มีการตรวจพบ ตั้งแต่ปี 2564

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่อว่า ฟลูอัลปราโซแลม เป็นยากลุ่มเบนโซไดอะเซปีนส์ที่ถูกสังเคราะห์ขึ้น (Synthetic benzodiazepines) มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับอัลปราโซแลม (alprazolam) แตกต่างกันที่ฟลูอัลปราโซแลมมีอะตอมของฟลูออรีนอยู่ในโครงสร้าง ทั้งนี้ ฟลูอัลปราโซแลม จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 มีการออกฤทธิ์คล้ายกับยานอนหลับตัวอื่นในกลุ่มเบนโซไดอะเซปีนส์ โดยออกฤทธิ์คลายความวิตกกังวล และทำให้ง่วงนอน เนื่องจากฟลูอัลปราโซแลม ไม่มีการใช้เป็นยาในมนุษย์ จึงไม่พบการศึกษาวิจัยทางคลินิกของตัวยา แต่จากโครงสร้างทางเคมี คาดว่า

ฟลูอัลปราโซแลมออกฤทธิ์ภายใน 10 - 30 นาที หลังการรับประทาน และออกฤทธิ์นาน 6 - 14 ชั่วโมง

เนื่องจากไม่มีข้อมูลทางคลินิกที่ชัดเจน ดังนั้นการใช้หรือเสพ ตัวยาฟลูอัลปราโซแลม จึงเป็นความเสี่ยงต่อผู้เสพที่อาจทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเฝ้าระวัง ตรวจสอบ และควบคุมการแพร่ระบาดของยาดังกล่าวต่อไป

ผู้สื่อข่าวถามว่าสามารถสังเกตยาตัวนี้ผสมในเครื่องดื่มได้หรือไม่ นพ.ศุภกิจ ยอมรับว่า ยากมาก เพราะไม่มีสี ไม่มีกลิ่น พวกมิจฉาชีพก็จะนำมาใช้  ทั้งนี้ กรมวิทย์ตรวจเจอพื้นที่ภาคใต้ก็จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าภาคอื่นในไทยจะไม่มี ต้องระวังทั้งหมด ซึ่งหน่วยงานเกี่ยวข้องเฝ้าระวังพบก็ส่งมาตรวจ ส่วนรายละเอียดเจ้าหน้าที่ส่งตรวจเจอที่ไหนอย่างไร เราไม่มีข้อมูล เราตรวจเจอจากสิ่งที่ส่งมาให้เรา

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...