จากเดิม 50,000 เพิ่มเป็น 65,000 ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย (ฉบับที่ ..) ... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. 2563 โดยปรับอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายจากเดิม 50,000 เป็น 65,000 และแก้ไขลักษณะการบาดเจ็บรุนแรงของศีรษะ

ทำเนียบรัฐบาล
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

นายคารม กล่าวว่า ร่างกฎกระทรวงค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้าง มีสาระสำคัญ ดังนี้ เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นแต่ไม่เกิน 65,000 บาท ในกรณีที่ค่ารักษาพยาบาลจ่ายไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็นเพิ่มขึ้นอีกไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยบาดเจ็บอย่างรุนแรงของศรีษะ

อย่างเช่น กรณีได้รับบาดเจ็บที่ศรีษะ เดิมต้องเป็นลักษณะผ่าตัดเปิดกะโหลกจึงจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล แต่ปัจจุบันเปลี่ยนเป็นให้คนที่บาดเจ็บรุนแรงที่ศรีษะสามารถเบิกได้

“การปรับอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย เป็นการปรับอัตราค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาลที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่มีความก้าวหน้า การแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับนี้จึงเป็นการคุ้มครองให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลตามความเหมาะสมแก่อันตรายหรือความเจ็บป่วย” นายคารมกล่าว

ขณะเดียวกัน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) มีข้อสังเกตและให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมีการกำหนดมาตรการในการใช้จ่ายเงินกองทุนทดแทนในกรณีดังกล่าว เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับศักยภาพของกองทุนเงินทดแทน ทั้งนี้ ถือเป็นข่าวดีสำหรับลูกจ้าง

รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า (ร่าง) กฎกระทรวงฯ ดังกล่าว เป็นเรื่องการเพิ่มเงินค่าใช่จ่ายที่นายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับลูกจ้าง ซึ่งทำให้กองทุนเงินทดแทนได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะฉะนั้น เฉพาะปี 2566 - 2567 ประมาณการว่าจะได้รับผลกระทบอยู่ที่กว่า 2,207 ล้านบาท โดยผลกระทบนี้ ครม.มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน รับความเห็นในการดำเนินการเรื่องนี้จากสภาพัฒน์ รวมทั้งรับความเห็นจากสำนักงบประมาณ โดยให้คำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นและให้ดำเนินการอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องและเสถียรภาพของกองทุนเงินทดแทน

 

 

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...