"ชลน่าน" แจงปมยาบ้า 5 เม็ด ย้ำหากเจตนากี่เม็ดก็ผิด

นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ หลักบุญ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หรือ ป.ป.ส. และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมแถลงมาตรการรองรับหลังการประกาศกฎกระทรวง กำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. 2567 

 

 

 

สติงเกอร์ กทม.
"ชลน่าน" แจงปมยาบ้า 5 เม็ด ย้ำ หากมีเจตนาจะกี่เม็ดก็ผิด

หมอชลน่าน กล่าวว่า การแก้และประกาศใช้กฎกระทรวงดังกล่าว ไม่ใช่การประกาศให้ยาเสพติดถูกกฎหมาย หรือการเปิดกว้างมากขึ้น แต่เป็นการให้โอกาสกับผู้ที่หลงผิดได้มีโอกาสกลับคืนสู่สังคม "ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ยังคงมีความผิดตามกฎหมาย" 

เพียงแต่ผู้ที่ครอบครองไม่เกิน 5 เม็ด แล้วมีความสมัครใจเข้ารับการบำบัดผ่านกลไกของกระทรวง จนสามารถเลิกจากยาเสพติดได้จะสามารถกลับคืนสู่สังคมได้

ด้าน พล.ต.ท.ภาณุรัตน์ กล่าวด้วยว่า ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องซับซ้อนแต่การระบุให้จำนวนครอบครอง 5 เม็ด ยังอยู่ในเกณฑ์มีไว้เพื่อเสพไม่ใช่จำหน่าย ที่ต้องเข้ารับการบำบัด ไม่ใช่เรื่องใหม่ ซึ่งก่อนหน้าได้ถูกระบุไว้ใน มาตรา 19 ของ พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ปี 2545 ถือเป็นการออกกฎหมายเพื่อให้โอกาสผู้ที่หลงผิดได้ปรับปรุงตัว ซึ่งเป็นไปตามหลักสากล ที่ทุกส่วนต้องช่วยกัน มุ่งเน้นการเสริมสร้างให้ชุมชนเข้มแข็ง จึงจะสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ เชื่อมั่นว่าจริงๆ แล้วผู้ที่เสพยาเสพติดไม่มีใครอยากมีปัญหา ทั้งในเรื่องครอบครัว และเรื่องความยากจน การให้โอกาสกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น

ขณะที่ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ดำเนินการโครงการชุมชนเข้มแข็ง ต้านภัยยาเสพติด ซึ่งเห็นผลเป็นรูปธรรมชัดเจน ยอมรับว่าปัญหายาเสพติดพื้นฐานมาจากปัญหาครอบครัว

ในส่วนของกฎกระทรวงดังกล่าว เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ตามมาตรา 107 วรรค 2 ไม่ใช่การสันนิษฐานเด็ดขาด แต่เป็นเพียงการสันนิษฐานไว้ก่อนเท่านั้น ว่ามีไว้ครอบครอบเพื่อเสพหรือไม่ หากไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอก็สามารถแจ้งข้อกล่าวหาให้เป็นไปตามปริมาณยาเสพติดที่ตรวจพบ ยืนยันว่า ตามกระบวนการแล้วต้องดูที่พฤติการณ์ของผู้ต้องหาประกอบด้วย

ด้าน นายแพทย์ชลน่าน กล่าวยืนยันว่า การออกกฎกระทรวงดังกล่าว เป็นเพียงการออกกฎหมายรอง ภายใต้กฎหมายหลักของประเทศ ซึ่งการจะออกกฎกระทรวงได้ต้องมีคณะกรรมการจากหน่วยงานต่างๆ ร่วมพิจารณาในขั้นตอนของการยกร่างกฎกระทรวง

นอกจากนั้นยังต้องผ่านขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หรือการทำประชาพิจารณ์ ซึ่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวได้ผ่านขั้นตอนของการทำประชาพิจารณ์มาแล้วตั้งแต่ช่วงปลายเดือนธันวาคม 2566 ไปจนถึงช่วงต้นเดือนมกราคม 2567 ยาวนาน 15 วัน ก่อนจะนำเข้าคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. และพิจารณาลงนามประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามลำดับ  

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...