บทสรุปพื้นที่ทับซ้อน ‘ไทย-กัมพูชา‘ ตั้ง ‘ทีมเฉพาะกิจ‘ เดินหน้าเจรจา-สำรวจ

วันนี้ (7 ก.พ.) สมเด็จมหาบวรธิบดี ฮุน มาแนต (Samdech Moha Borvor Thipadei Hun Manet) นายกรัฐมนตรีราชอาณาจักรกัมพูชา เดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในฐานะแขกของรัฐบาล (Official Visit)

โดยมีพิธีต้อนรับ ตรวจแถวทหารกองเกียรติยศ ที่ทำเนียบรัฐบาล จากนั้นมีการหารือคณะรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศแบบเต็มคณะ และนายกรัฐมนตรีของทั้งสองประเทศแถลงข่าวร่วมกัน

ภายหลังจากการหารือกันของคณะรัฐมนตรีของไทย - กัมพูชา เต็มคณะ ณ ตึกภักดีบดินทร์ นายกรัฐมนตรีของไทย และ นายกรัฐมนตรีกัมพูชาแถลงข่าวร่วมกัน

ทั้งนี้สาระสำคัญในส่วนของความร่วมมือทางพลังงาน และพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลสองประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีของไทยกล่าวในระหว่างการแถลงข่าวร่วมกันว่าเรื่องของความมั่นคงในด้านพลังงานทั้งสองประเทศได้หารือกันถึงการนำเข้าพลังงาน ซึ่งทั้งสองประเทศต่างก็เป็นประเทศที่ต้องมีการนำเข้าพลังงานจำนวนมากในแต่ละปี โดยเฉพาะเชื้อเพลิงธรรมชาติที่เป็นฟอสซิล โดยการหารือกันเรื่องนี้จึงมีความสำคัญมากขึ้น จึงเห็นควรให้มีการหารือในเรื่องแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนระหว่างสองประเทศ (Overlapping Claims Area: OCA)

นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าได้หารือกลไกกับกระทรวงการต่างประเทศแล้ว ซึ่งเห็นควรให้มีการเพิ่มหน่วยงานในการเจรจาเช่นกองทัพเรือมาช่วยในการตั้งกลไกในการหารือกันในเรื่องนี้ต่อไปด้วย เพื่อให้มีความครอบคลุมทุกมิติ

“ความมั่นคงพลังงาน ทั้งสองฝ่ายต่างมองว่าสถานการณ์โลกปัจจุบันส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานของทั้งไทยและกัมพูชา พร้อมตกลงที่จะกระชับความร่วมมือในด้านความมั่นคงด้านพลังงาน มีการตกลงที่จะหารือเพิ่มเติมเพื่อแสวงหาประโยชน์ร่วมกันจากทรัพยากรด้านพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนกันระหว่างทั้งสองประเทศต่อไป”

ด้านนายกรัฐมนตรีกัมพูชาได้กล่าวขอบคุณการต้อนรับอย่างอบอุ่น ไทยและกัมพูชาเป็นมิตรประเทศที่มีความสัมพันธ์และความร่วมมือครอบคลุมทุกมิติมาอย่างต่อเนื่อง ผู้นำทั้งสองประเทศต่างมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและได้มีการหารือระหว่างกันในหลากหลายโอกาส ซึ่งการเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในวันนี้ ไทยและกัมพูชาจะได้หารือและติดตามประเด็นความร่วมมือระหว่างกันให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีกัมพูชากล่าวถึงการหารือเรื่องพลังงานกับรัฐบาลไทยว่าได้พูดคุยกันถึงความร่วมมือในระยะยาวเพื่อความมั่นคงทางพลังงานของประเทศทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความยั่งยืนทางพลังงานเกี่ยวข้องกับเรื่องของสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นประเด็นที่สำคัญของการเติบโตอย่างยั่งยืนของทั้งสองประเทศด้วย จึงเห็นชอบให้มีการตั้ง "ทีมเฉพาะกิจ" (Joint Technical team for explorer) และมีการหารือกันเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดเพื่อผลประโยชน์ของทั้งสองประเทศต่อไป

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...