ข้อเท็จจริง! กินเปลือกมะนาว-ไม่เปลี่ยนผ้าอนามัย ก่อมะเร็งจริงหรือไม่?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เผย โรคมะเร็ง เป็นโรคร้ายที่ไม่ว่าใครก็เป็นได้ และส่วนมากส่งต่อมาจากพันธุกรรมหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบผิดๆ แน่นอนว่า เป็นโรคร้ายที่มีโอกาสรักษาและรอดชีวิตได้น้อย จึงมีมีข่าวแชร์จากความเชื่อผิด ๆ ที่อ้างว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งหลายคนอาจจะเคยเชื่อหรือยังคงคิดแบบนี้อยู่

6 ความเชื่อผิดๆ ก่อมะเร็ง

  • สาร SLS ในสบู่เหลว ทำให้เกิดมะเร็ง?

จากกรแสข่าวที่แพร่หลายในออนไลน์ว่า สาร SLS (Sodium lauryl sulfate)

Freepik/ sewcream
มะเร็ง

ซึ่งเป็นสารลดแรงตึงผิวในสบู่เหลวนั้นก่อให้เกิดมะเร็งนั้น ทางการแพทย์ได้ยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง เนื่องจากการที่สาร SLS จะก่อให้เกิดมะเร็งได้นั้นจะต้องมีการทำปฏิกิริยาทางเคมีที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส หรืออุณหภูมิที่ทำให้น้ำเดือดได้เลย ซึ่งคนปกติทั่วไปก็คงไม่มีใครอาบน้ำเดือดกันอยู่แล้ว ดังนั้น ใช้สบู่เหลวแม้จะมีสาร SLS อยู่ ก็ไม่ทำให้เกิดมะเร็งแน่นอน

  • ดื่มนมวัว ทำให้เป็นมะเร็ง?

ปัจจุบันไม่มีหลักฐานยืนยันว่า นมวัวจะก่อมะเร็งได้ ทั้งนี้ในทางกลับกันนมวัวเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญอุดมไปด้วยแคลเซียมและโปรตีน เป็นอาหารที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะแคลเซียมช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง ดื่มได้ทุกเพศทุกวัย และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

  • ดื่มน้ำเย็น หลังกินข้าว ทำให้เป็นมะเร็งจริง?

หลายคนเชื่อว่า “น้ำเย็น” ทำให้ไขมันที่กินไปแข็งตัวไปเกาะที่ผนังลำไส้และทำให้เกิดมะเร็งนั้น จากการสืบค้นข้อมูลยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ยืนยันว่า น้ำเย็นทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ เพราะฉะนั้นสามารถดื่มได้ตามปกติ แต่ถ้าจะหลีกเลี่ยงโรคมะเร็ง ควรเลี่ยงอาหารจำพวกอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม อาหารสุกๆ ดิบๆอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารทอดที่ใช้น้ำมันซ้ำ ๆ จะดีกว่า

  • ค่อยเปลี่ยนผ้าอนามัย เสี่ยงมะเร็งปากมดลูก?

ความเชื่อนี้ทำให้คุณสาว ๆ ต่างหวั่นวิตก เพราะบางคนเชื่อว่าเลือดประจำเดือนเป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรียและยังเพิ่มโอกาสให้เป็นมะเร็งปากมดลูกอีก แต่หน่วยงานได้มีการตรวจสอบแล้วว่า “ไม่เป็นความจริง” เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปากมดลูกนั้น เกิดจากการติดเชื้อ HPV (Human papilloma virus) โดยส่วนใหญ่ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสผิวหรือเยื่อบุของอวัยวะเพศหรือปากมดลูกมีรอยถลอกหรือแผลทำให้เชื้อเข้าไปได้ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น มีคู่นอนหลายคน มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นต้น ซึ่งไม่ได้เกี่ยวกับผ้าอนามัย

  • ส้มตำ ใส่เปลือกมะนาว ทำให้เป็นมะเร็ง ?

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถยืนยันได้ ในทางกลับกันเปลือกมะนาวมีประโยชน์ด้วยซ้ำ เพราะช่วยบรรเทาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท่อง แก้ล้ม วิงเวียน และช่วยให้เจริญอาหารได้อีกด้วย

  • ดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่วางตากแดดไว้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดเป็นมะเร็ง?

การแชร์ข้อความผ่านสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ว่าห้ามดื่มน้ำจากขวดน้ำดื่มพลาสติกที่เก็บในรถยนต์ที่จอดตากแดด หรือที่ถูกวางตากแดดไว้เป็นระยะเวลานาน เพราะความร้อนจะทำให้สารเคมีอันตรายที่อยู่ในขวดพลาสติก เช่น สารไดออกซิน (Dioxin) สารบีสฟีนอลเอ (Bisphenol A หรือ BPA) และสารทาเลต (Phthalate) ละลายออกมาปนเปื้อนในน้ำดื่มเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ส่งผลต่อความผิดปกติของพันธุกรรม ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งได้นั้น

จากการตรวจสอบการผลิตขวดน้ำดื่มพลาสติกทั้งชนิดพอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate; PET)  พอลิพรอพิลีน (Polypropylene; PP)  และพอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate; PC)  ไม่ได้มีการใช้สารไดออกซินและสารทาเลต ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสปนเปื้อนสารพิษเหล่านี้ สำหรับสารบีสฟีนอลเอ ถึงแม้ว่าจะมีการใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิตพลาสติกชนิดพอลิคาร์บอเนต (polycarbonate; PC) แต่ อย. มีการกำหนดคุณภาพมาตรฐานของภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากพลาสติกชนิดต่าง ๆ ไว้แล้ว ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 435) พ.ศ. 2565 ออกตามความในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ที่จำเป็นต้องตรวจวิเคราะห์ด้านความปลอดภัย เช่น ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค ไม่มีสีออกมาปนเปื้อนกับอาหาร  ควบคุมปริมาณการแพร่กระจายของโลหะหนัก ควบคุมปริมาณการแพร่กระจายของสารตั้งต้นและสารที่ใช้ในการผลิตพลาสติก เป็นต้น ซึ่งผู้ผลิตน้ำบริโภคบรรจุขวด ต้องใช้ภาชนะบรรจุที่มีคุณภาพหรือมาตรฐานเป็นไปตามที่ประกาศกำหนด

อีกทั้ง ปัจจุบันยังไม่มีรายงานการตรวจพบสารไดออกซินในพลาสติก และยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่สนับสนุนว่าในที่อุณหภูมิสูงนั้นสารเคมีต่าง ๆ ที่ละลายออกมาจากขวดพลาสติกจะทำปฏิกิริยาจนเกิดเป็นสารไดออกซินได้ ที่ผ่านมาพบเพียงบางงานวิจัยเท่านั้นที่พบว่าขวดน้ำดื่มพลาสติกที่ตั้งไว้ในที่อุณหภูมิสูงเกิน 60 องศาเซลเซียส นานเป็นเวลาเกิน 11 เดือน จะทำให้สารทาเลต ละลายออกมาเกินมาตรฐานที่อียู(EU) กำหนดไว้

สรุปดื่มน้ำจากขวดพลาสติกที่วางตากแดดไว้เป็นเวลานาน ทำให้เกิดเป็นมะเร็ง ไม่เป็นความจริง

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...