ไทยพบ 3 ราย! โอมิครอน JN.1 พัฒนาขึ้นเป็นสายพันธุ์หลักของสหรัฐฯ แล้ว

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ก็ได้ โพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics ระบุถึงความน่าเป็นห่วงการระบาดโอมิครอน “เจเอนวัน (JN.1)”ที่พบในไทยแล้ว 3 รายเนื้อหาว่า การกลายพันธุ์ส่วนหนามตรงตำแหน่ง L455S แม้จะทำให้ความสามารถของ”เจเอนวัน”ในการจับกับเซลล์ของมนุษย์ลดลงบ้าง แต่กลับไปเพิ่มความสามารถในการหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันให้มากขึ้น ส่งผลโดยรวมให้สามารถติดต่อแพร่เชื้อได้ดีที่สุดเมื่อเทียบกับโอมิครอนทุกสายพันธุ์ที่มีการระบาดอยู่ในปัจจุบัน

แหล่งที่มา: Center for Medical Genomics
โควิด JN.1

ทางศูนย์จีโนมฯกำลังเฝ้าติดตามโอมิครอน XDD รุ่นลูกของเจเอนวัน อยู่ด้วยเช่นกัน โอมิครอน XDD ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ในฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID) เป็นที่เรียบร้อยกว่า 211 ราย  โดยมีการกลายพันธุ์ส่วนหนาม “L455S” เช่นเดียวกับรุ่นพ่อแม่ (เจเอนวัน)  ยังไม่พบในไทย

ในสหรัฐฯ จากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนม พบเป็นโอมิครอน “เจเอนวัน” 44.2% และได้กลายเป็นสายพันธุ์หลักของประเทศการที่ “เจเอนวัน” กลายเป็นสายพันธุ์หลักในสหรัฐฯทำให้ผู้เชี่ยวชาญคาดการณ์ว่าจะทำให้เกิดการติดเชื้อขนาดใหญ่ มีจำนวนผู้ติดเชื้อมากเป็นอันดับสองรองจากการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมในครั้งแรกเมื่อสองปีก่อน  

ผลกระทบของการระบาดของ “เจเอนวัน” ต่ออัตราการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตยังไม่ชัดเจน แต่ข้อมูลจากรัฐนิวยอร์ก พบว่ามีผู้ติดเชื้อเข้ารักษาตัวใน รพ. เพิ่มขึ้นถึง 36% ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่น่ากังวล

“เจเอนวัน” ยังเป็นสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลก ทำให้เกิดการติดเชื้อโควิด-19, การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล, และการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นในหลายประเทศในยุโรป อินเดียและสิงคโปร์หน่วยงานด้านสาธารณสุขในหลายประเทศกำลังดำเนินการตอบโต้ต่อภัยคุกคามของ“เจเอนวัน”   โดยการออกคำแนะนำ ปรับใช้ระบบเตือนภัย และแนะนำมาตรการต่างๆ เช่น การสวมหน้ากาก การปรับปรุงระบบระบายอากาศ และการทบทวนการใช้ระบบสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่ามีเตียงพร้อมสำหรับผู้ติดเชื้อ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนด “เจเอนวัน” เป็น "สายพันธุ์ที่น่าสนใจ" จำนวนของ“เจเอนวัน” ที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ข้อมูลไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสส(GISAID)” 5 อันดับแรก คือ

  • สหรัฐ: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1,743 ราย, ความชุก 1.326%
  • เดนมาร์ก: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1,676 ราย, ความชุก 20.387%
  • ฝรั่งเศส: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1,096 ราย, ความชุก 4.617%
  • สิงคโปร์: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 1,085 ราย, ความชุก 14.744%
  • ประเทศอังกฤษ: จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 860 ราย, ความชุก 3.125%

ขณะที่ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 38 จำนวนตัวอย่างที่ถูกถอดรหัสพันธุกรรม 3ราย ความชุก 0.275%

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...