13 คุณสมบัติโอมิครอน JN.1 ที่คาดว่าจะขึ้นเป็นสายพันธุ์หลักในปี2567

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  เปิดเผย 13 คุณสมบัติสำคัญของโอมิครอน JN.1 ที่ขณะนี้พบในไทยแล้ว 1 ราย โดยรวบรวมข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก, กรมควบคุมโลกสหรัฐฯ, จีเสส(GISAID), และหน่วยงานหลักประกันสุขภาพของสหราชอาณาจักร(UK Health Security Agency)

  • คุณสมบัติการหลบหนีระบบภูมิคุ้มกันของโอมิครอนสายพันธุ์ JN.1 อาจทำให้มีการติดเชื้อซ้ำในกลุ่มประชากรเพิ่มขึ้นอย่างมาก

แหล่งที่มา: Center for Medical Genomics
โอมิครอน JN.1

  • ยังไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าโอมิครอนสายพันธุ์ JN.1 จะเป็นภัยคุกคามต่อระบบ
  • สาธารณสุขมากกว่าโอมิครอนสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีการหมุนเวียนติดต่อทั่วโลกอยู่ในขณะนี้
  • บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง และบุคคลที่มีโรคร่วมอื่น ๆ ที่รุนแรงสามารถป้องกันตนเองได้ด้วยวิธีที่ทดสอบแล้วว่ามีประสิทธิภาพ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย
  • คุณสมบัติการหลบหนีระบบภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้นของโอมิครอนสายพันธุ์ JN.1 เมื่อเทียบกับรุ่นพ่อแม่โอมิครอน BA.2.86 อาจทำให้สามารถแข่งขันกับสายพันธุ์อื่น ๆ ได้และกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกในปี 2567
  • องค์การอนามัยโลกกังวลว่าการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 ทั่วโลกมีจำนวนลดลงอย่างมากอันอาจทำให้เราระบุจำนวนโอมิครอนสายพันธุ์ที่กำลังอุบัติขึ้นในขณะนี้เช่น JN.1, XDD คลาดเคลื่อน ส่งผลให้การวางแผนการป้องกันและการรักษาผิดพลาดได้
  • องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังคงประเมินสถานการณ์เกี่ยวกับสายพันธุ์ย่อยของ SARS-CoV-2 เช่น JN.1, XDD อย่างต่อเนื่อง
  • ความเสี่ยงทางสาธารณสุขที่คาดว่าจะเกิดจากโอมิครอนสายพันธุ์ JN.1 ยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำสำหรับการเกิดเป็นโรครุนแรงเมื่อเทียบกับโอมิครอนสายพันธุ์อื่น ๆ
  • โอมิครอนสายพันธุ์ JN.1 มีการแพร่กระจายที่มากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ที่มีการหมุนเวียนทั่วโลกในปัจจุบัน แต่ประเมินว่าไม่น่าจะถึงระดับของการระบาดครั้งแรกของโควิด-19 หรือการระบาดของโอมิครอนครั้งแรก
  • สัดส่วนของผู้ป่วยที่เกิดจากการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ JN.1 กำลังเพิ่มขึ้น แต่ไม่ปรากฏว่ามีผู้ติดเชื้อเจ็บป่วยหนักต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

  • ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าสายพันธุ์โอมิครอน JN.1 จะก่อให้เกิดโรคที่รุนแรงขึ้น
  • การแพร่ติดต่ออย่างรวดเร็วของโอมิครอนสายพันธุ์ JN.1 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ ทำให้เกิดคำถามว่ามันอาจขับเคลื่อนให้เกิดการเพิ่มขึ้นของการติดเชื้อไปทั่วโลก
  • วัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชันล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์” จากการทดสอบทั้งในสัตว์และทั้งในอาสาสมัครพบว่าป้องกันการติดเชื้อจากโอมิครอนสายพันธุ์ JN.1 ได้ดี
  • การทดสอบทางห้องปฏิบัติการด้วย ATK, PCR และการรักษาโควิด-19  ด้วยยาต้านไวรัสยังมีประสิทธิภาพต่อโอมิครอนสายพันธุ์ JN.1

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...