ประชุม COP28 ปีนี้เสียงแตกหนัก หลายประเทศไม่เอาด้วย 'แผนปิดฉากยุคน้ำมัน'

รอยเตอร์สรายงานว่า การประชุมว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งสหประชาชาติครั้งที่ 28 หรือ COP28 ที่สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (ยูเออี) ในปีนี้เผชิญภาวะ "เสียงแตก" อย่างหนัก เนื่องจากหลายประเทศที่นำโดยกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมัน ไม่เห็นด้วยที่จะมีการออก "ปฏิญญาสิ้นสุดการใช้พลังงานฟอสซิล" เป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีนับตั้งแต่มีการจัดการประชุมนี้ขึ้นมา 

ทั้งนี้ที่ประชุม COP28 มีแผนที่จะประกาศปฏิญญาว่าด้วยการสิ้นสุดการใช้พลังงานฟอสซิล โดยจะเป็นการประกาศเป้าหมายเลิกใช้พลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมันและถ่านหิน แบบค่อยเป็นค่อยไป (phase-out) ซึ่งจะถือเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยานมากที่สุดในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ นับตั้งแต่มีการประชุม COP เกิดขึ้นเมื่อ 30 ปีก่อน 

กลุ่มที่สนับสนุนแนวทางนี้มีประเทศอย่างน้อย 80 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ อาทิ สหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) และอีกหลายชาติซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศมากที่สุด ซึ่งต้องการให้ที่ประชุม COP28 กำหนดเป้าหมายชัดเจนไปสู่การเลิกใช้พลังงานฟอสซิล 

อย่างไรก็ตาม หลายประเทศนำโดยซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย และกระทั่งประเทศเจ้าภาพอย่างยูเออี ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกกลุ่มประเทศส่งออกน้ำมันรายใหญ่ โอเปกพลัส ได้คัดค้านแนวทางดังกล่าวโดยย้ำว่าที่ประชุมควรโฟกัสที่จุดยืนเดิมเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่า   

สุลต่านอาเหม็ด อัล จาเบอร์ ประธาน COP28 ผู้ซึ่งยังเป็นรัฐมนตรีอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีก้าวหน้าของยูเออี รวมถึงเป็นซีอีโอของบริษัทน้ำมันแห่งชาติอาบูดาบี กล่าวว่า ที่ประชุมต้องเร่งสปีดการทำงานเพื่อหาข้อสรุปของการประชุมปีนี้ร่วมกันให้ได้ เพราะขณะนี้มีหลายประเด็นที่เต็มไปด้วยความเห็นต่างมากกว่าเห็นด้วย  

ด้านเลขาธิการกลุ่มโอเปก ไฮธัม อัล กาอิส กล่าวว่า COP28 จำเป็นต้องแก้ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเป็นรูปธรรม โดยต้องเปิดทางให้เศรษฐกิจยังสามารถเติบโตได้ ช่วยแก้ปัญหาความยากจน และเพิ่มความยืดหยุ่นไปพร้อมกัน 

ก่อนหน้านี้โอเปกได้ส่งหนังสือถึงประเทศสมาชิก เรียกร้องให้ปฏิเสธการระบุข้อความถึงการปิดฉากยุคพลังงานฟอสซิลในแถลงการณ์ของที่ประชุม COP28 ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่กลุ่มโอเปกเข้ามาแทรกแซงการประชุมสภาพอากาศของยูเอ็น ทำให้ฝ่ายกรรมาธิการด้านสภาพอากาศของอียู วอปเก โฮกสตรา วิพากษ์การกระทำดังกล่าวว่าเป็นการขัดขวางความพยายามต่อสู้ด้านสภาพอากาศของทุกฝ่ายทั่วโลก

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไต้ฝุ่นยางิ’ ทำ ‘เศรษฐกิจเวียดนาม’ เสียหายกว่า 5 หมื่นล้านบาท

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า พายุไต้ฝุ่นยางิ ถล่มเมียนมา เวียดนาม ลาว และไทยด้วยกำลังลมที่แรงมาก และทำใ...

ท่วมหนักสุด 'ในรอบ 3 ทศวรรษ' พายุบอริสถล่มยุโรป ผลกระทบจากโลกร้อน

จากหย่อมความกดอากาศต่ำที่ชื่อว่า “พายุบอริส” ส่งผลให้มีฝนตกหนักจากออสเตรียไปจนถึงโรมาเนีย จนเกิด “น้...

ฮามาสโวความสามารถสูง ทำสงครามกาซาต่อได้แม้สูญเสีย

นายโอซามา ฮัมดัน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อวันที่ 15 ก.ย. ที่นครอิสตันบูลของตุรกี ระบุ “ขบวนก...

สงครามสู้ฮามาสและยอดส่งออกร่วง กดดันจีดีพี ‘อิสราเอล’ Q2 ให้โตเพียง 0.7%

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของอิสราเอลในไตรมาสที่สองชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ไ...