ปรับเกณฑ์ส่งออกกาแฟไทย ต้องมีใบอนุญาต รับรองถิ่นกำเนิดสินค้า

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ปรับปรุงกฎระเบียบเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการกำกับดูแลการส่งออกสินค้ากาแฟให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับการเติบโตของตลาดกาแฟโลก รวม 4 ฉบับ ได้แก่ 

1. ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้กาแฟเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตและมีหนังสือรับรองในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2566 

2. ระเบียบกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วยการขออนุญาตส่งกาแฟออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2566 

3. ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามข้อบังคับขององค์การกาแฟระหว่างประเทศ พ.ศ. 2566 

4. ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกาแฟเพื่อการขออนุญาตส่งออก พ.ศ.2566 

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถขยายตลาด ส่งออกเมล็ดกาแฟคั่ว ทั้งที่ผลิตจากเมล็ดกาแฟดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ หรือที่ผสมกับเมล็ดกาแฟดิบในประเทศได้ โดยกฎระเบียบข้างต้นมีสาระสำคัญ คือ

1. กำหนดให้กาแฟเป็นสินค้าที่ต้องมีใบอนุญาตและหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามข้อบังคับขององค์การกาแฟระหว่างประเทศ (International Coffee Organization : ICO) ในการส่งออก

2. กำหนดหลักเกณฑ์ในการขออนุญาตส่งออกกาแฟ โดยกาแฟในประเทศสามารถส่งออกได้ไม่จำกัดปริมาณ สำหรับกาแฟที่ผลิตจากเมล็ดกาแฟดิบนำเข้าจากต่างประเทศหรือที่ผสมกับเมล็ดกาแฟดิบในประเทศ สามารถส่งออกเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟและเมล็ดกาแฟคั่วได้ไม่เกินปริมาณเมล็ดกาแฟดิบที่นำเข้าและที่รับซื้อภายในประเทศ

3. กำหนดวิธีการในการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าให้เป็นไปตามข้อบังคับของ ICO

4. กำหนดหลักเกณฑ์ให้มีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกาแฟรายปี

ทั้งนี้ กฎระเบียบทั้ง 4 ฉบับ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 เป็นต้นไป โดยกรมฯ มั่นใจว่าการปรับปรุงกฎระเบียบข้างต้นจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการส่งออกกาแฟให้กับผู้ประกอบการไทย

รวมทั้งช่วยผลักดันให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟและเมล็ดกาแฟคั่วของภาคอุตสาหกรรมให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกกาแฟของไทย รวมถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกกาแฟที่จะได้รับประโยชน์อีกด้วย  

และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ตลอดจนเพื่อให้การส่งออกกาแฟของผู้ประกอบการสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง กรมฯ ได้กำหนดให้ผู้ประกอบการรายเดิมที่ขึ้นทะเบียนไว้ตั้งแต่ปี 2551 ยังคงมีสถานะเป็นผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนต่อไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2567

สำหรับผู้ประกอบการรายใหม่สามารถสมัครบัญชีผู้ใช้งานพร้อมทั้งขึ้นทะเบียนเป็นผู้ส่งออกกาแฟ ก่อนดำเนินการขอใบอนุญาตส่งออกได้ผ่านระบบบริการออกหนังสือสำคัญการส่งออกนำเข้าสินค้า (DFT SMART – I) ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ DFT Call Center โทร 1385 หรือกองบริหารสินค้าข้อตกลงและมาตรการการค้า กรมการค้าต่างประเทศ โทร 0 2547 4734

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

'นิคมโรจนะ'โซนอันตรายเหลือขายสูงสุดมูลค่า1.7หมื่นล้าน

ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ เผยผลสำรวจอุปทานโดยรวมภาคกลาง ในช่วงครึ่งแรกปี 2567 ที่อยู่อาศัยเสนอขายทั...

ตลาดหุ้นสหรัฐแทบไม่ขยับ นักลงทุนชะลอซื้อหลังดัชนีพุ่งแรงวันก่อน

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดบวกเล็กน้อยในวันศุกร์ (20 ก.ย.) เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเข้าซื้อหุ้น...

เจาะพอร์ต 5 เซียนชื่อดัง ถือหุ้นปันผลสูงเกิน 5% รวม 18 หลักทรัพย์

การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้องค์ความรู้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ในทุกปัจจัยอย่างละเอียด ซึ่งม...

น้ำนมดิบอินทรีย์ สร้างรายได้ให้เกษตรกรครบวงจร

นางอังคณา พุทธศรี ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (...