รพ.มะเร็งอุดร ผ่านมาตรฐานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ระดับนานาชาติ แห่งแรกของสธ.

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์  รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการแพทย์  กล่าวว่ากรมการแพทย์เป็นกรมวิชาการของกระทรวงสาธารณสุข มีความพร้อมในด้านองค์ความรู้ กำลังคนที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขา ตลอดจนพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย  ทั้งนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพการบริการทางการแพทย์ที่เป็นเลิศ ให้มีมาตรฐานระดับสากล พร้อมขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขประเด็นมะเร็งครบวงจร Cancer Warrior เพื่อให้เกิดการดูแลสุขภาพของประชาชนด้านโรคมะเร็ง ที่ทั่วถึง มีประสิทธิภาพ เพิ่มความเท่าเทียม และเชื่อมั่นแก่ภูมิภาค

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ขอแสดงความยินดีที่โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี ผ่านการรับรองมาตรฐานทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ระดับนานาชาติ เป็นแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) ในครั้งนี้

เรืออากาศเอกสมชาย  ธนะสิทธิชัย  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี  กล่าวว่า โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานี กรมการแพทย์ เป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวในเขตสุขภาพที่ 8 ที่ให้บริการเวชศาสตร์นิวเคลียร์ตั้งแต่ปี 2562 โดยมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2566 โรงพยาบาลได้รับการรับรองคุณภาพการให้บริการด้านเวชศาสตร์นิวเคลียร์โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency – IAEA) “เป็นแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข” ส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีมาตรฐานในระดับสากล รวดเร็ว และทั่วถึง ลดการเดินทางของผู้ป่วย เพื่อไปรักษานอกเขตสุขภาพ รวมทั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้สำหรับโรงพยาบาลอื่นๆ ที่จะเข้ารับการประเมินรับรองคุณภาพงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ระดับนานาชาติ (QUANUM) ในอนาคตอีกด้วย

แพทย์หญิงธารทิพย์ ผลวัฒนา หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ กล่าวว่า โรงพยาบาลมะเร็งอุดรธานีให้บริการทั้งด้านการตรวจวินิจฉัยทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ และการรักษาด้วยสารเภสัชรังสี (ไอโอดีน 131) ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งต่อมไทรอยด์ และต่อมไทรอยด์เป็นพิษ โดยครอบคลุมความต้องการของผู้ป่วยทั้งในเขตสุขภาพที่ 8 และพื้นที่ใกล้เคียง ปัจจุบันมีผู้ป่วยมาใช้บริการ มากกว่า 8,000 ราย จากการมุ่งมั่นพัฒนางาน นอกจากจะผ่านการรับรองคุณภาพมาตรฐานงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ในระดับนานาชาติแล้ว  ยังได้รับรางวัลเชิงคุณภาพมาตรฐานครบถ้วน (OAP Award) ประเภทวัสดุกัมมันตรังสี ประเภทที่ 3-5 ระดับ “ดีมาก” จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ มาครองอีก 1 รางวัล ซึ่งงานเวชศาสตร์นิวเคลียร์ จะรักษามาตรฐานการให้บริการอย่างดีที่สุด เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนผู้มารับบริการ

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...