อย.ออกประกาศ “อาหาร GMOs” ต้องแสดงฉลาก เริ่มบังคับใช้ปี 68

วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2566) มลฤดี โพธิ์อินทร์ รองหัวหน้าฝ่ายนโยบายและนวัตกรรม สภาองค์กรของผู้บริโภค (สภาผู้บริโภค) กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมาสภาผู้บริโภคร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชนและองค์กรของผู้บริโภคกว่า 144 องค์กร ผลักดันเพื่อให้มีการยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในเรื่องอาหารจีเอ็มโอ (GMOs : Genetically Modified Organism) หรือสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม มาตั้งแต่ปี 2559 โดยพยายามผลักดันให้ฉลากจีเอ็มโอมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 431) พ.ศ. 2565 เรื่อง อาหารที่ได้สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม และ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 432) พ.ศ. 2565 เรื่อง การแสดงฉลากอาหารที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ฉบับใหม่ขึ้นมาและมีการบังคับใช้ตั้งแต่ต้นปี 2568 เป็นต้นไป ทุกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของจีเอ็มโอต้องแสดงฉลาก

การที่ อย.ออกประกาศเรื่องการแสดงฉลากในผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอฉบับใหม่ออกมานั้นนับว่าเป็นความสำเร็จของเครือข่ายภาคประชาชนและเครือข่ายองค์กรของผู้บริโภค เพื่อผลักดันให้ฉลากของผลิตภัณฑ์ที่มีจีเอ็มโอ มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นและเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้บริโภค

 

ทั้งนี้ มลฤดี กล่าวอีกว่า ตั้งแต่ต้นปี 2568 เป็นต้นไป ทุกฉลากอาหารในประเทศไทยต้องแสดงฉลากตามประกาศฉบับใหม่ที่ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม ได้แก่ พืช สัตว์ จุลินทรีย์ ที่มีการตัดต่อ ตัดแต่ง ดัดแปร หรือเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมหรือผสมผสานสารพันธุกรรมใหม่จากวิธีการใช้เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่และใช้บริโภคเป็นอาหาร 

รวมถึงที่ผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากพืชหรือสัตว์ที่มีส่วนประกอบของจีเอ็มโอ ตั้งแต่ร้อยละ 5 ต้องระบุข้อความว่า “ดัดแปรพันธุกรรม” ไว้ที่ฉลาก ซึ่งรวมถึงส่วนประกอบอาหารตามสูตรที่กำหนดแม้จะไม่มีส่วนประกอบหลักที่เป็นจีเอ็มโอ แต่หากว่ามีการปนเปื้อนจำนวนที่น้อยกว่า 5% ก็ต้องระบุไว้ในฉลากเช่นกัน

นอกจากนี้ยังให้ผู้ประกอบการต้องแสดงสัญลักษณ์เป็นรูปสามเหลี่ยม พื้นสีเหลืองตัวอักษรสีดำ โดยมีข้อความว่าภาษาอังกฤษ “GMO” บนฉลากผลิตภัณฑ์หรือผ่านโปรแกรมแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นด้วย ในส่วนของฉลากเก่ายังใช้ได้ถึงธันวาคม 2567

สำหรับปัญหาในฉบับเก่านั้น พบปัญหาสำคัญของผู้บริโภค คือ การที่ฉลากไม่ชัดเจนและไม่สามารถมองไม่เห็นฉลากที่ระบุว่า “อาหารนั้นมีส่วนประกอบจากการดัดแปรพันธุกรรม” อีกทั้งฉลากยังมีขนาดที่เล็กเกินไป ซึ่งส่วนนี้เครือข่ายทั้งภาคประชาชนและผู้บริโภคเห็นว่าจะทำให้ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิพื้นฐานในการเลือกซื้อสินค้า (Right to Choose) ตามสิทธิผู้บริโภค

ทั้งนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2568 เป็นต้นไป ขอให้ผู้บริโภคร่วมกันดูฉลากอาหาร GMOs ใหม่ ถ้าพบเห็นมีการใช้ฉลากแบบเก่า สามารถแจ้งเบาะแสไปที่ อย. ที่เบอร์สายด่วน 1556 

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : สภาองค์กรของผู้บริโภค

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

จับตา 48 ชั่วโมงอันตราย หลังระเบิดเลบานอน l World in Brief

รมต.เลบานอนเตือนระวังสถานการณ์บานปลายรุนแรง จากเหตุเพจเจอร์และวิทยุสื่อสารที่กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ในเลบา...

‘อาเซียน’ หันใช้คิวอาร์โค้ดพุ่ง ดันภูมิภาคสู่ ‘สังคมไร้เงินสด’

นิกเคอิเอเชียรายงานว่า การชำระเงินด้วยคิวอาร์โค้ดเริ่มเป็นที่แพร่หลายในตลาดเกิดใหม่เมื่อหลายปีก่อน เ...

เปิดประสบการณ์เยือน ‘กัมพูชา’ ครั้งแรกของนักการทูตแรกเข้า

“กัมพูชา” ประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย ซึ่งคนไทยสามารถเดินทางไปท่องเที่ยวได้อย่างง่ายดายทั้ง...

“สถานการณ์ตอนนี้ไม่ง่ายเลย” ข้อความแรกของซีอีโอใหม่ Nike ถึงพนักงาน

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานวันนี้ (20 ก.ย.) ว่า เอลเลียต ฮิลล์ ผู้บริหารคนใหม่ของ Nike Inc., กล่าวต่อ...