อัปเดตโควิดเดลตาครอน XBC – คาด 2567 ทั่วโลกได้เห็น“JN.1”เป็นสายพันธุ์หลัก

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดีโพสต์เฟซบุ๊ก Center for Medical Genomics  อัปเดตสถานการณ์ โควิดสายพันธุ์เดลตาครอน XBC อัปเดต จากฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสส(GISAID)” พบเดลตาครอน XBC ทั่วโลกเพียง 29 ราย ส่วนใหญ่พบในฟิลิปปินส์ พบล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2566 หรือประมาณ 5 เดือนที่ผ่านมา ยังไม่พบในไทย แพร่ระบาดได้ไม่ดี อาการไม่รุนแรงแตกต่างไปจากโอมิครอนสายพันธุ์หลักในปัจจุบัน

อาวุธสำคัญที่สุดของไวรัสโคโรนา 2019 คือส่วนหนาม (spike) ที่ไวรัสใช้สำหรับจับกับผิวเชลล์บริเวณที่เรียกว่า “AEC2 (angiotensin-converting enzyme 2)” ก่อนที่จะแทรกตัวเข้าไปติดเชื้อในเซลล์ ในขณะที่ร่างกายมนุษย์ก็มีการตอบโต้ โจมตีกลับ (fight back) การรุกรานของไวรัส ด้วยการสร้างโปรตีนที่เรียกว่า “แอนติบอดี” เข้าจับกับส่วนหนามของไวรัสเพื่อยับยั้งและทำลายอนุภาคไวรัสมิให้เข้าจับกับเซลล์ ดังนั้นไวรัสจึงมีการกลายพันธุ์ต่อเนื่องโดยเฉพาะที่ส่วนหนามเพื่อทั้งหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและทำให้ไวรัสจับกับผิวเซลล์ได้แน่นขึ้น

  • ต้นปี 2565 โควิด-19 ได้พยายามเปลี่ยนแปลงรูปร่างของหนามต่างออกไปมากแบบ “ major change” โดยทำการผสมพันธุ์ข้ามตระกูลระหว่าง “เดลตา” และ “โอมิครอน” เกิดเป็นสายพันธุ์ “เดลตาครอน” ขึ้น ซึ่งหลายฝ่ายในขณะนั้นกังวลใจเป็นอย่างมาก เกรงว่าจะก่อโรครุนแรงมีผู้เสียชีวิตมากมายเหมือนเดลตาและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วเหมือนโอมิครอน แต่สุดท้ายก็สู้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเราไม่ได้
  • ปลายปี 2565 โควิด-19 ได้มีการผสมพันธุ์ในกลุ่มโอมิครอนด้วยกันทำให้หนามเปลี่ยนไปเล็กน้อยแบบ “minor change” เกิดเป็นสายพันธุ์ย่อย XBB ที่มีความสามารถแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วแต่ไม่ก่อให้เกิดอาการรุนแรง  ปัจจุบันมีสายพันธุ์ย่อย  EG.5.1 (XBB->XBB.1.5->EG.5.1) ระบาดเป็นสายพันธุ์หลักไปทั่วโลก
  • ล่าสุดปี 2566 โควิด-19 ได้พยายามเอาชนะระบบภูมิคุ้มกันของเราอีกครั้งด้วย “การกลายพันธุ์แบบคู่-พลิกขั้ว(L455F + F456L)” โดยมีไวรัสกลายพันธุ์ลักษณะนี้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในปลายปี 2566 หลายฝ่ายเฝ้าติดตามรวมทั้งศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดีฯว่าจะมีการแพร่ระบาดที่รวดเร็วและรุนแรงหรือไม่
  • ปี 2567 คาดว่าโลกอาจได้เห็นลูกของโอมิครอน BA.2.86 คือ “JN.1” ที่กลายพันธุ์ไปในลักษณะการกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว โดยเริ่มที่ L455S เกิดระบาดเป็นสายพันธุ์หลักขึ้นได้

สายพันธุ์ลูกผสมเดลตาครอนคืออะไร?

สายพันธุ์ลูกผสมระหว่างตระกูล “เดลตา” และ “โอมิครอน BA.2” ที่มีชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า "เดลตาครอน" พบระบาดในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย! ทั้งยังพบแพร่ติดต่อหลายประเทศในอาเซียน แต่ยังไม่พบอาการที่รุนแรงเดลตาครอนสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “เดลตา” และ “โอมิครอน BA.2” ทั่วโลกพบประมาณ 4 สายพันธุ์หลัก ปริมาณแต่ละสายพันธุ์อยู่ในระดับหลักร้อย คือ

  • XAY และสายพันธุ์ย่อย XAY.1,XAY.2
  • XBA
  • XBC และสายพันธุ์ย่อย XBC.1,XBC.2,และ XBC.3
  • XAW

แม้ว่าเดลตาครอน XBC มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าเดลตาครอนสายพันธุ์ลูกผสมอื่น แต่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดใกล้เคียงกับ BA.5, BA.2.75, XBB และ BQ.1 ดังนั้นจึงไม่ง่ายนักที่เดลตาครอน XBC จะระบาดแซงหน้าบรรดาไวรัสโคโรนาที่มีการระบาดทั่วโลกและในประเทศไทยมาก่อนหน้า (BA.5,BA.2.75,XBB,XBB.1,BN.1,BF.7, BQ.1,BQ.1.1.10, CH.1.1, XBB,XBB.1.15,EG.5.1, HV.1,BA.2.86, JN.1)

จากฐานข้อมูล COVSPECTRUM

  • พบเดลตาครอน XBC ครั้งแรกเมื่อ 20 กันยายน 2565  และล่าสุด 4 มิถุนายน 2566  จำนวน 25 ราย
  • พบเดลตาครอน  และลูกหลาน  XBC* เช่น XBC.1.3, XBC.1.6 ฯลฯ จำนวน 7,493 ราย

ยังไม่พบ XBC ในไทย  แต่พบรุ่นลูกคือ X.BC.1 และ XBC.2 อย่างละ 1 ราย (รวมเป็นสอง) เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2565 และ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ตามลำดับส่วนใหญ่พบที่ฟิลิปปินส์

คำแถลงปฏิเสธความรับผิดชอบ: ลิขสิทธิ์ของบทความนี้เป็นของผู้เขียนต้นฉบับ การเผยแพร่ซ้ำบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน หากมีการละเมิดกรุณาติดต่อเราทันที เราจะทำการแก้ไขหรือลบตามความเหมาะสม ขอบคุณ



หมวดเดียวกัน

‘ไทย’ ร่วงลงสองอันดับ! ใน IMD World Talent Ranking ปี 2024 ส่วนสิงคโปร์นำโด่ง

จากการจัดอันดับ “ประเทศที่มีความเป็นเลิศในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถประจำปี 2024” (The 2024 IMD Worl...

Apple วางขาย iPhone 16 พร้อมนวัตกรรมความยั่งยืน ใช้อะลูมิเนียมรีไซเคิล 85%

Apple ได้สร้างมาตรฐานใหม่ในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอีกครั้ง ด้วยการวางขาย iPhone 16 ที่เน้นความยั่งยืน โด...

ผล 1 ปีกับความคืบหน้า ESG Symposium ส่งไทยสู่สังคมคาร์บอนต่ำ สู้โลกเดือด

เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เห็นผลเป็นรูปธรรม ตาม 4 ข้อเสนอจากงาน ESG Symposium 2023 ทั้งสร้าง "สระบุรี...

‘ลาซาด้า’ เดินเกมทำกำไร ชู '3 กลยุทธ์' สร้างยุคใหม่อีคอมเมิร์ซ

วาริสฐา เกียรติภิญโญชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ลาซาด้า ประเทศไทย กล่าวว่า ลาซาด้ายังเดินหน้าลงทุนใน...